ประสิทธิผลของการใช้ระบบ DOTS ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ของโรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

กนกวรรณ จงเจริญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ระบบDOTSดูแลผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกรายที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะโดยการย้อมเชื้อAcid-fast bacilli ที่โรงพยาบาลราษีไศล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2548
การวัดผล: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ของจำนวนนับ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่เสมหะบวก จากทะเบียนรายงานผู้ป่วยวัณโรค (รบ. 1 ก.04) ในคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลราษีไศล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2548
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาจำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะบวกจำนวน 186 คน ซึ่งควบคุมกำกับการกินยาโดยสมาชิกในครอบครัว พบว่า อัตราผลเสมหะ กลับเป็นลบเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นร้อยละ 89.24 ผลการรักษาเมื่อ สิ้นสุดการรักษา พบว่าอัตราการรักษาหายร้อยละ 87.63, อัตรารักษาครบ ร้อยละ 0, อัตราล้มเหลวร้อยละ 0, อัตราตายร้อยละ 11.29, อัตราขาดยา ร้อยละ 11.54 และอัตราโอนออกร้อยละ 0.54 ตามลำดับ
สรุป: การดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยระบบ DOTS มีประสิทธิผลดี ในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลราษีไศล เห็นได้จากอัตราหายมีผลดีตามที่เป้าหมายของแผนงาน วัณโรคแห่งชาติกำหนดไว้ คือมากกว่าร้อยละ 85

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนิน งานควบคุมวัณโรคแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2541. หน้า 22-36.

2. สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคใน ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย; 2543. หน้า 58-73.

3. กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง สาธารณสุข. Management of tuberculosis ; modified WHO modules of managing tuberculosis at district level. พิมพ์ครังที่ 2. กรุงเทพฯ ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2545. หน้า 10-11, 20-4, 34-7.

4. นัดดา ศรียาภัย. หลักการและแผนงาน ควบคุมวัณโรคในปจจุบัน. ใน : บัญญัติ ปริชญานนท์, ชัยเวช นุชประยูร, สงคราม ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ. วัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2542. หน้า 64-91.

5. ยุทธิชัย เกษตรเจริญ, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, ไพฑูรย์ มณีแสง, พรรณี หัสภาค, วีณา ตันไสว, แดง ทรงเหม. การควบคุมกำกับ การรับประทานยาในผู้ป่วยวัณโรคโดย สมาชิกในครอบครัว. วารสารวัณโรคและ ทรวงอก 2538;16(4):237-49.

6. สมัย กังสารมสุพจน์ ชันขวา, มะลิ เรืองทรัพย์, สุภาพ โปรยบำรุง. การศึกษาเปรียบเทียบ ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยระบบยา ระยะสั้นตามปกติและแบบมีพึ่เลี้ยงกำกับดูแล (DOTS). วารสารวัณโรคและทรวงอก 2540;18(1):7-16.

7. สมศักดิ อบรมศิลปื. ประเภทของผู้ควบคุม กำกับการรับประทานยาและผลในการรักษาวัณโรคแบบมีผู้สังเกตโดยตรงภาคสนาม : กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร. วารสารโรคติดต่อ 2540;23(4):534-40.

8. ประวิทย์ เยี่ยมวิณีวนิช, บุญเที่ยง พันลังกานต์. การศึกษาผลการรักษาวัณโรคปอดโรงพยาบาล ห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2539. วารสารวิชาการเขต12 2541;9(1):7-16.

9. อำนวย นิยม, ลาวัณย์ แดงปรก. ผลสัมฤทธิ์ของการควบคุมวัณโรคตามแนวทางใหม่ด้วยกลยุทธ์ DOTS ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2541. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2541;20(4):257-65.