โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

มุกดา สุดงาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นของโรงพยาบาล สุรินทร์ แต่ไม่มีการศึกษาหรือวิจัย เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการวินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วย รายงานฉบับนี้ ได้ศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะนี้ ในโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลัน เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อการดูแลรักษา ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2548 โดยการรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติ ผู้ป่วยที่ไต้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และได้รับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ในช่วง เวลาดังกล่าวข้างต้น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 96 ราย ชาย 40, หญิง 56 อัตราส่วนหญิง : ชาย เท่ากับ 1 : 1.4 อายุที่พบได้ชุกในชายคือช่วงอายุ 50-59 ปี ในหญิง คือ 70-79 ปี อายุน้อยที่สุด คือ 36 ปี อายุมากที่สุดคือ 82 ปี ค่าอายุเฉลี่ยประมาณ 61.41 ปี อาการนำ ที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่พบบ่อยคือ อาการจุกแน่นหน้าอก ซึ่งเป็นอาการไม่จำเพาะเจาะจงจึงเป็นปัญหาในการวินิจฉัย โดยเฉพาะในการที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นและมีการกู้ชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล อัตราตายสูงโดยเฉพาะภายใน 24 ชั่วโมงแรกสูงถึง 33.33% ผลการรักษาจึงมี อัตราการรอดชีวิตต่ำ และมักพบโรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะทั้งสองภาวะร่วมกัน ส่วนใหญ่เป็นการรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน (74 ราย, 77.08%) แต่มีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลตติยภูมิเพียงเล็กน้อย 2 ราย (2.08%) ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุการตายคือ ภาวะ Cardiogenic shock ยาที่ใช้บ่อยตามลำดับคือ ยา ASA ยา Nitrate/ morphine ยา Inotrotic มีการ ใช้ผลทางห้องปฏิบัติการที่มีความไวและความจำเพาะต่ำอยู่ ตำแหน่งที่พบภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตาย คือ ผนังด้านหน้า(anterior wall) ผนังด้านล่าง(inferior wall) ผนังด้านข้าง(lateral wall) ผนังห้องล่างขวา (RV/posterior) ระยะเวลาเฉลี่ย ที่นอนโรงพยาบาลประมาณ 3.08 วัน นานที่สุด 30 วัน ได้รับการดูแลในหอผู้ป่วย วิกฤต 34 ราย (35.42%) มีอัตราเสียชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤต 8 ราย (8.33%)
สรุป: เนื่องจากการวิจัยแรกรับได้ประวัติไม่ชัดเจน (Time to onset) การเผยแพร่ให้ ความรู้ในประชาชนและกระตุ้นให้สนใจสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยง, จัดท่า AMI protocol เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดขั้นตอนให้การได้รับการรักษา อย่างเหมาะสมรวดเร็ว และส่งต่ออย่างมีระบบ ให้ได้รับการรักษาเฉพาะก่อนมี ภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง จะช่วยลดอัตราตายและภาวะแทรกซ้อน เพื่อการ รักษาที่ดีที่สุดในผู้ป่วยแต่ละราย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและสถิติ โรงพยาบาล สุรินทร์. โรงพยาบาลสุรินทร์ปี 2548. สุรินทร์ : ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ โรง พยาบาลสุรินทร์, 2548.

2. Panchavinnin P.,Topipat P. et al. Mortaltiy of Acute Myocardial Infarction in the Cardiac Care Unit of Siriraj Hospital ;5 Year’s Data.. Thai Heart J. 2001;14;2:65-69.

3. Panchavinin P, Chocovalit N. et al. Acute myocardial infarction in cardiac intensive Care unit in Siriraj hospital: Epidemiology management and outcome in Q wave Versus non-Q ware myocardial infarction. Thai Heart Journal 2001;14:1-9.

4. Patmuk T., Jakrapanichakul D. Thrombolytic Therapy for Acute Myocardial Infarction at Siriraj Hospital Thai Heart. 2001;14;4:149-155.

5. David RT., Josef C. The association between hospital volume and survival after acute myocardial infarction in elderly patients N Engl J Med. 1999;340:1640-8.

6. Diamond G.A.FJS. Analysis of probability as an aid in the clinical diagnosis of coronary artery disease. N Engl J Med. 1979;300:1350-8.

7. Kyuhyun W.M.D., Richard W.Asinger, M.D., and Henry J.L. Marriott, M.D. ST-Segment Elevation in Conditions Other Than Acute myocardial Infarction. N Engl J Med. 2003;349:2128-35.

8. Jersey C, Martha JR. et al. “American’s best hospitals” perform better for acute myocardial infarction? N Engl JMed. 1999;340:286-92.

9. Collins R, Peto R, Baitgent C, Sleight P. Aspirin, heparin, and fibrinolytic therapy in suspected acute myocardial infarction. N Engl J Med. 1997;336:847-60.

10. ACC/AHA guideline for the management of patient with ST-elevation myocardial infarction : a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force an Practice Guideline (Committee to Revise the 1999 Guidelines for the management of patients with Acute Myocardial Infarction). Circulation. 2004;110:588636.