การใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พรเพ็ญ ฐิติสมบูรณ์
วัชชรีภรณ์ รัตรสาร

บทคัดย่อ

 เหตุผลของการวิจัย: จากการทบทวนผลการศึกษาถึงภาวะแทรกซ้อนที่แสดงถึงการขาด ประสิทธิภาพทางการพยาบาล พบปัญหาในระดับต้น คือ การเกิดแผลกดทับ จากการสำรวจโรงพยาบาล 235 แห่งในสหรัฐอเมริกา พบความชุกของ แผลกดทับ ร้อยละ 10.8 การศึกษาของ ปองหทัย พุ่มระย้า (2545) ใน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมีโอกาสเกิดแผลกดทับ ร้อยละ 15-25 และจากสถิติ จำนวนผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2547 พบอัตราเกิด แผลกดทับระดับ 2-3 ต่อ 1,000 วันนอนโรงพยาบาลเท่ากับ 1.8 ซึ่งส่ง ผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก จึงเกิดแนวคิดในการ พัฒนาวิธีปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับให้มีประสิทธิผล ยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพการพยาบาลการป้องกันการเกิดแผลกดทับ เพื่อจัดทำ Best Practice การป้องกันการเกิดแผลกดทับของโรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วิธีการศึกษา: กรอบแนวคิดในการวิจัยได้นำแนวคิดในการจัดการความรู้ในองค์กรของสถาบัน ส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) มาพัฒนามาตรฐานการพยาบาล การป้องกันการเกิดแผลกดทับให้ดีที่สุด โดยมีขั้นตอนการศึกษา 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติเติมเพื่อ นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหากำหนดวิธีการแก้ไข และวิเคราะห์ทางเลือก กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีคะแนน Barden < 16 จำนวน 101 รายในหอผู้ป่วยสามัญ กลุ่มงานศัลยกรรม อายุรกรรม ศัลยกรรมออร์โธปีดิกส์ และหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) จำนวน 12 หอผู้ป่วย เครื่องมือวิจัยมี 4 เครื่องมือ มีทั้งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และคณะกรรมการ QA สร้างขึ้น 2) ขั้นดำเนินการ เป็นการนำทางเลือกจากกระบวนการวิเคราะห์ ทางเลือกมากำหนดมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาโดยใช้แนวคิดการจัดการ ความรู้ โดยชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 30 คน ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก หลักฐานทางวิชาการและประสบการณ์การปฏิบัติงาน ผลการประชุมได้ มาตรฐานการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ 3) ขั้นติดตามประเมินผล เป็นการศึกษาผลของการนำมาตรการการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผล กดทับลงสู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เช่นเดียวกับ ขั้นเตรียมการ จำนวน 119 ราย เครื่องมือ มี 4 เครื่องมือ เครื่องมือในทุกขั้นตอนได้รับการตรวจสอบตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม Access
ผลการศึกษา: พบว่าคะแนนปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับอยู่ใน ระดับปานกลาง ร้อยละ 86 เปรียบเทียบผลตามตัวชี้วัดระหว่างก่อนและ หลังใช้มาตรการ พบว่าเป็นไปตามเป้าในทุกตัวชี้วัด ดังนี้ อัตราการเกิด แผลกดทับต่อ 1,000 วันนอนรวม ก่อน 1.6 หลัง 0.7 อัตราการเกิดแผล กดทับต่อ 1,000 วันนอนกลุ่มเสี่ยงก่อน 12.7 หลัง 5.0 อัตราการเกิด แผลกดทับระดับ 1 : 1,000 วันนอนกลุ่มเสี่ยง ก่อน 1.8 หลัง 1.7 อัตรา การเกิดแผลกดทับ ระดับ 2 : 1,000 วันนอน กลุ่มเสี่ยงก่อน 10.0 หลัง 3.3 และอัตราการเกิดแผลกดทับระดับ 3-4 : 1,000 วันนอนกลุ่มเสี่ยง ก่อน 0.9 หลังไม่พบอุบัติการณ์
สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษาครั้งนี้พบประสิทธิผลของการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผล กดทับ ตามตัวชี้วัดทกำหนดดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด กลุ่มการพยาบาลควร ควบคุมคุณภาพการพยาบาลเพื่อประกันคุณภาพ การป้องกันการเกิดแผล กดทับ ของโรงพยาบาลสุรินทร์ และจัดท่าเป็น Best Practice ต่อไป
คำสำคัญ: แผลกดทับ, การจัดการความรู้, การประกันคุณภาพ, Best Practice

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Dealey, C. Measuring the prevalence and incidence of pressure sores. British Journal of Nursing 1993;2(20):998-1006.

2. Berecek, K.H. Etiology of decubitus ulcers. Nursing Clinics of North America 1975;10(1):157-70.

3. ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, วิลาวัลย์ ผลพลอย, วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ, ชูศรี ติ้วสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. ภูเก็ต : กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลภูเก็ต; 2541.

4. ปองหทัย พุ่มระย้า. ผลของการพยาบาลตามแนวปฎิบ้ติการพยาบาลต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาลตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.

5. นลินทิพย์ ตำนานทอง, วีรชัย โควสุวรรณ. ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับ. ขอนแก่น : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2538.

6. Bergstrom, N., Braden, B.J., Laguzz, A., Holman, V. The Barden Scale for predicting pressure sore risk. Nursing Research 1987;36(4):205-210.

7. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, บรรณาธิการ. การจัดการความรู้เพื่อคุณภาพที่สมดุล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2547.

8. รักษนันท์ ขวัญเมือง. การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่จำกัดการมมีกิจกรรม [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] . ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

9. ชวนพิศ วงศ์สามัญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผลกดทับ. การประชุมเชิงปฏิบัติการ มาตรฐานการบริการสุขภาพ ในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ; 2-4 กรกฎาคม 2548 : อาคารขวัญเมือง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

10. Colburn, L. Pressure Ulcer prevention for the hospice patient strategies for care to increase comfort. The American Journal of Hospice Care 1987;4(2):22-26.

11. Piloian, B.B. Defining characteristics of nursing diagnosis high risk for impaired skin integrity. Decubitus 1992;5(5):32-47.

12. Piepre, B. et al. Risk factors, prevention method, and wound care for patients with pressure ulcer. Clinical Nurse Specialist 1988;12(1):7-12.

13. William, A. A study of factors contributing to skin breakdown. Nursing Research 1972;2(3):238-243