การคลอดทารกแฝดสองในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: ครรภ์แฝด จัดอยู่ในกลุ่มการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งพบภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและทารกได้มากกว่าครรภ์ปกติ
วัตถุประสงค์: เพื่อศกษาการตั้งครรภ์แฝดสองและปัจจัยพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับการ ตั้งครรภ์แฝดสองในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 30 กันยายน 2548
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ชนิดของการวิจัย: เป็นการวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณา
วิธีวิจัย: ศึกษาครรภ์แฝดที่มาคลอดในโรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 โดยค้นหาข้อมูล จาก รายงานการคลอด ประวัติจากเวชระเบียนของผู้ตั้งครรภ์
ผลการวิจัย: พบว่ามีการคลอดครรภ์แฝดทั้งสิ้น 167 ราย จากการคลอดทั้งหมด 11,638 รายคิดเป็น 14.35 รายต่อการคลอด 1,000 ราย ผลการศึกษาพบว่าอายุ เฉลี่ยของมารดาเท่ากับ 28.45 ปี อายุเฉลี่ยเมื่อคลอดเท่ากับ 35.6 สัปดาห์ นํ้าหนักทารกแรกคลอดเฉลี่ย 2,215.75 กรัม โดยพบอุบตการณ์ของทารก นํ้าหนักน้อยเท่ากับร้อยละ 70.66 การคลอดส่วนใหญ่เป็นการคลอดทาง ช่องคลอดปกติ อัตราส่วนของทารกเพศหญิงต่อเพศชายเท่ากับ 1.12 ต่อ 1 ภาวะแทรกซ้อนของมารดาที่สำคัญคือ การคลอดก่อนกำหนด อัตราตาย ปริกำเนิดเท่ากับ 53.89 ต่อการคลอด 1,000 ราย
สรุป: อุบ้ติการณ์การคลอดทารกแฝดสองในโรงพยาบาลศรีสะเกษ เท่ากับ 14.35 รายต่อการคลอด 1,000 ราย และมีอัตราตายปริกำเนิดสูงถึง 53.89 ต่อ การคลอด 1,000 ราย การวินิจฉัยให้ได้ก่อนคลอด การดูแลการฝากครรภ์ การดูแลระยะคลอด อย่างมีประสิทธิภาพและความชำนาญ น่าจะทำให้ อัตราตายปริกำเนิดลดลง
Article Details
References
2. Barbara Luke. The rise in multiple births in the united states : Who, What, When, Where and Why. Clin Obstet Gynecol 2004;47:118-33.
3. Blondel B, Kaminski M. Trend in the occurrence, determinants, and consequence of multiple births. Seminars in perinatology 2002;26:239-49.
4. MacGilivary I. Epidemiology of twin pregnancy.Semin Perinatol. 1986;10:4-8.
5. Templeton A : The multiple gestation epidemic : the role of the assisted reproductive technologies. Am J Obstet Gynecol 2004;190:894-98.
6. ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, รณชัย อธิสุข. ครรภ์แฝด. ใน : มานี ปิยะอนันต์. ชาญชัย วันทนาศิริ, ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกล, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ ลิฟวิช ; 2548. หน้า 284 - 304.
7. ฤชา ตั้งจิตธรรม. ผลของการตั้งครรภ์แฝด เปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์เดี่ยว. วารสารโรง พยาบาลสระบุรี 2546;3-134-42.
8. Nylander PPS : Serum levels of gonadotropins in relation to multiple pregnancy in Nigeria . Br J Obstet Gynecol 1973;80:651-6.
9. Scott A, Roger N. Prediction and prevention of preterm delivery in multiple gestations. Clin Obstet Gynecol 2004;47:203-15.
10. Conde - Agudelo A, Belizan JM, Lindmark G. Maternal morbidity and mortality associated with multiple gestations. Obstet Gynecol 2000;95:899-904.
11. Laros RK, Dattle BJ. Management of twin pregnancy : The vaginal route is still safe. Am J Obstel Gynecol. 1988;158:1330-8.
12. Christopher R, Sunee P. Intrapartum management of twins. Clin Obstet Gynecol 2004;47:248-62.
13. Machin GA. Some causes of genotypic and phenotypic discordance in monozygotic twin pairs. Am J Med Genet 1996;61:216-21.
14. Gnai V, Vidyasagar D. Morbidity and Mortality factors in twins, and epidemidogic approach. Clin Perinatol 1988;15:123-40.
15. Bruce WK, Thomus HK, Richard HP. Twin gestation : I. Antenatal care and complication. Obstet Gynecol 1989;74:313-7.
16. Garner MD, Robert LG, Suzanne PC, Jame MT, Kathleen GN, Rachel LC. The origin and outcome of preterm twin pregnancies. Obstet Gynecol 1995;85:553-7.
17. Chervana FA, Youcha S, Jchnsom RE, Berkowitz RL, Hobbins JC. Twin gestation, antenatal diagnosis and perinatal outcome in 385 consecutive pregnancies. J Reprod Med 1984;29:727-30.
18. Bruke MS. Single fetal demise in twin gestation. Clin Obstet Gynecol 1990;33:69-78.
19. Goldenbery RL. lam JD. The preterm prediction study : risk factor in twin gestations. Am J Obstet Gynecol. 1996;175:1047-53.