ผลการรณรงค์จดทะเบียนผู้พิการของอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2548

Main Article Content

จิรพรรณ จันทวงศ์

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: ผู้พิการเป็นบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเช่นเดียวกับบุคคลปกติทั่วไปดังนั้นเพื่อ ให้ผู้พิการได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาความมนคงของมนุษย์ จังหวัดบุรีรัมย์จัดรณรงค์จดทะเบียนผู้พิการในปี 2548 ขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการรณรงค์จดทะเบียนผู้พิการของอำเภอนางรอง
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเอกสารการจดทะเบียนผู้พิการของจังหวัด บุรีรัมย์
ผลการศึกษา: จำนวนผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนผู้พิการจำนวน 10,654 คน โดย พบว่า อำเภอ
ที่มีผู้พิการมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ อำเภอเมือง ลำปลายมาศ และนางรอง คิดเป็นร้อยละ 11.54, 9.50 และ 7.42 ผลการจดทะเบียนในช่วงรณรงค์ ปี 2548 พบว่า มีผู้พิการมาจดทะเบียน จำนวน 2,073 ราย แบ่งเป็นการ จดทะเบียนในวัณรงค์ จำนวน 1,379 ราย และจดทะเบียนที่สำนักงานจำนวน 676 ราย อำเภอนางรองได้จัดรณรงค์จดทะเบียนผู้พิการของอำเภอนางรอง พบว่า มีผู้พิการที่มาจดทะเบียน จำนวน 147 ราย แบ่งเป็นการจด ทะเบียนในวันรณรงค์ จำนวน 114 ราย และจดทะเบียนที่สำนักงาน 33 ราย ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไป รองลงมาได้แก่ 31-40 ปี และ 51-60ปี จำนวน 35,26,23 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.8, 17.7 และ 15.5 เป็นผู้พิการเดี่ยว ร้อยละ 91.84ผู้พิการซํ้าซ้อน ร้อยละ 8.16 เมื่อจำแนกผู้พิการตามประเภทความพิการ พบว่า ประเภทความพิการสูงที่สุดได้แก่ พิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว รองลงมาได้แก่ พิการทางการได้ยินหรือ การสื่อความหมาย และพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 48.8, 16.7 และ 13.7
สรุป: จากการดำเนินงานพบว่ามีผู้พิการที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากผู้พิการ
ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพราะผู้พิการไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร ไม่มีการแจ้งเกิด และส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและมีมักจะมีป้ญญหาในเรื่อง การเตรียมความพร้อมของเอกสาร การเดินทางมาตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล การถ่ายรูป
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานครั้งต่อไป
1. ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อกำหนดนโยบายในการสนับสนุน การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้ผู้พิการมีเลขประจำตัว 13 หลัก
2. ทีมรณรงค์ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการเช่นเครื่องถ่ายเอกสาร กล้องถ่ายรูป
คำสำคัญ: ผู้พิการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2539. เชียงใหม่ : กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม; 2539.

2. กมลพรรณ หอมนาน. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าการรับรู้สมรรถนะในตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่; 2539.

3. เสาวภา วิชิตวาที. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่สูญเสียแขนขา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ; 2534.