ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตายของผู้ป่วย ติดเชื้อเมลิออยโดสิสในกระแสเลือด ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ภัทรพงษ์ พีรวงศ์
ธงชัย สิทธิยุโณ

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: เมลิออยโดสิสเป็นโรคที่พบได้บ่อยทางภาคตะวนออกเฉียงเหนือและโรงพยาบาล บุรีรัมย์ การติดเชื้อในกระแสเลือดจากโรคนี้วินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงได้ยากมีอัตราตายสูง
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วย อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย septicemicmelioidosis
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตายของผู้ป่วย septicemicmelioidosis
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อในเลือดขึ้นเชื้อ Burkholderiapseudomallei ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ตั่งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตายของผู้ป่วยโดยใช้สถิติ Chi-square, Fisher’s exact test และ logistic regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย septicemicmelioidosisจำนวน 142 คนอัตราตายร้อยละ 63.4 อาชีพที่พบบ่อยคือทำนา(ร้อยละ 72.5) แหล่งติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือปอด(ร้อยละ 34.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตายคือ เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำกว่า 5, OOO/มม. (odd ratio 3.46;95% CI: 1.02-11.68, p=0.045) และไม่มีประวัติไข้เมื่อแรกรับรักษา(odd ratio 10.0;95% CI: 1.18-100, p=0,035)
สรุป: ภาวะ septicemic melioidosis เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตายของผู้ป่วยคือ เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำและไม่มีประวัติไข้เนื่องจากผู้ป่วย septicemicmelioidosisไม่มีอาการอาการแสดงที่จำเพาะในถิ่นระบาดของโรค การรักษาที่ครอบคลุมเชื้อ melioidosis ตั้งแต่แรก (empirical treatment) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นเบาหวาน น่าจะมีความคุ้มค่าและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Chaowagul W, Suputtamongkol Y, Dance DA, Rajchanuvong A, Pattaraarechachai J, White NJ. Relapse in melioidosis: incidence and risk factors. J Infect Dis 1993;168:1181-5.

2. Vuddhakul V, Tharavichitkul P, Na-Ngam N, JitsurongS , Kunthawa B, Noimay P, et al. Epidemiology of Burkholderiapseudomallei in Thailand. Am J Trop Med Hyg 1999;60:458-61.

3. จิตติ จิตติเวชช์, สำเนียง บุษปวนิช, อรุณ เชาวนาศัย. เมลิออยโดสิส รายงายผู้ป่วยที่ เป็นคนไทย 1 ราย. วิทยาสารเสนารักษ์ 2498;8:11-8.

4. Leelarasamee A. Epidemiology of melioidosis. Infect Dis Antimicrob Agents 1986;38:84-93.

5. Chaowagul W, White NJ, Dance DA, Wattanagoon Y, Naigowit P, Davis TM, et al. Melioidosis: a major cause of community-acquired septicemia in Northeastern Thailand. J Infect Dis 1989;159:890-9.

6. Suputtamongkol Y, Hall AJ, Dance DA, Chaowagul W, Rachanuvong A, Smith MD, et al. The Epidemiology of melioidosis in UbonRatchatani, Northeast Thailand. Inter J Epidemiol 1994:23:1082-90.

7. Levett PN. Leptospirosis, ClinMicrobiol Rev 2001;14:296-326

8. Wenzel RP. Treating Sepsis. N Engl J Med 2002;347:966-7.

9. Kanaphun P, Thirawattanasuk N, Suputtamongkol Y, Naigowit P, Dance DA, Smith MD, et al. Serology and Carriage of pseudomonas pseudomallei: A Prospective Study in 1000 Hospitalized Children in Northeast Thailand. J Infect Dis 1993;167:230-3

10. อมร ลีลารัศมี. Diagnosis Value of Indirect Hemagglutination Method for Melioidosis in Thailand.วารสารโรคติดเชื้อและยาต้านจุลชีพ 2528;2:213-4.

11. วิทยา กองเงิน, ศรีสะอาด ศรีสุรินทร์, สมชาย จิตร์ไทย. การติดเชื้อ pseudomonas pseudomalleiโดยไม่เกิดโรคในผู้ป่วยเบา หวานโรงพยาบาลบุรีรัมย์.วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์ 2538;10:9-12.

12. Hotchkiss RS, Karl IE. The pathophysiology and treatment of sepsis. N Engl J Med 2003;348:138-50.

13. Appassakij, H., K. R. Silpapojakul, R. Wansit, M. Pompatkul.Diagnostic value of the indirect hemagglutination test for melioidosis in an endemic area. Am J Trop Med Hyg 1990;42:248-53

14. White NJ, Dance DA, ChaowaguiW, Wattanagon Y, Wuthiekanun V, Pitakwatchara N. Halving of mortality of severe melioidosis by ceftazidime. Lancet 1989;2:697-701

15. Sookpranee M, Boonma P, SusaengratW, Bhuripanyo K, PanyaputaS. Multicenter prospective randomized trial comparing ceftazidime plus co-trimoxazole with chloramphenical plus doxycycline and co-trimoxazole for treatment of severe melioidosis. Antimicrob Agents Chemother 1992;36:158-62

16. Cheng AC, Currie BJ. Melioidosis: Epidemiology, pathophysiology, and management. Clin Microbiol Rev 2005;18:383-416

17. Chaowagui V, Simson AJ, Suputtamongkol Y, White NJ. Empiric cephalosporin treatment of melioidosis. Clin Infect Dis 1999;28:1328.

18.River E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Med 2001;345:1368.