โรคไตอักเสบเฉียบพลันจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส ในเด็กที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ปิยะพร พงศ์จรรยากุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาอุบัติการณ์ อาการแสดงทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฎิบัตการ ผลการ รักษาและการดำเนินโรคของผู้ป่วยโรค Acute poststreptococcal glomerulonephritis (APSGN) ในเด็กที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและประวัติผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยโรค APSGN ระหว่าง 1 มกราคม 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2547
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 64 คน เป็นผู้ป่วยชายมากกว่าหญิง โดยอัตราส่วน ชาย:หญิงเท่ากับ 1.67:1 อายุเฉลี่ย 8.1 ปี พบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม) และฤดูหนาว (เดือนธันวาคม) มีการติดเชื้อที่ผิวหนังนำ ก่อนเกิดโรคร้อยละ 58.33 และการติดเชื้อในลำคอนำร้อยละ 41.66 อาการ แสดงของ ผู้ป่วยมีอาการบวมร้อยละ 95.31 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 82.81 ปัสสาวะปนเลือดร้อยละ 46.87 และปัสสาวะน้อยร้อยละ 29.68 พบผู้ป่วยทุก รายมีเม็ดเลือดแดง ในปัสสาวะ มีโปรตีนในปัสสาวะร้อยละ 89.06 ค่า Antistreptolysin O (ASO) titer > 333 Todd unit ร้อยละ 54.68 ค่าเฉลี่ย BUN และ Creatinine สูงกว่าปกติ มีค่า 26.13, 1.18 mg/dL ตามลำดับ ผู้ป่วย 3 คนมีภาวะแทรกซ้อนโดยมี Hypertensive encephalopathy 1 คน และ Rapidly progressive glomerulonephritis (RPGN) 2 คน ระยะ เวลาการเกิดปัสสาวะปนเลือด, ความดันโลหิตสูง, โปรตีนในปัสสาวะและเม็ด เลือดแดงในปัสสาวะ ใช้เวลาเฉลี่ย 8.73, 9.3, 47.11 และ 143.16 วันตาม ลำดับ โดยใช้ระยะเวลานานที่สุด 60, 18, 240 และ 270 วัน ตามลำดับ ติดตามผู้ป่วยพบว่า หายจากโรค 40 คน ขาดการติดตามการรักษา 9 คน กำลังติดตามการรักษา 15 คน ไม่พบการเกิดโรคซํ้าจากการศึกษานี้
สรุป: APSGN เป็นโรคที่ยังพบได้บ่อยในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยพบ ความดันโลหิตสูง ระดับ severe hypertension สูงถึงร้อยละ 67.19 ปัสสาวะปนเลือด พบ เพียงร้อยละ 46.87 มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเฉียบพลันร้อยละ 3.12 การ วินิจฉัยโรคมีอาการแสดงที่จำเพาะ แต่ควรเลือกส่งตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อ ที่สนับสนุนการวินิจฉัยให้เหมาะสม ถึงแม้จะมีการพยากรณ์โรคที่ดี แพทย์ควร ตระหนัก ถึงโรคเพื่อป้องกันการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้า ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้โรครุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อรุณ วงษ์จิราษฎร์. Acute poststreptococcal glomerulonephritis. ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถีและ คณะ บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2542:2344-51.

2. Berrios X , Lagomarsino E, Solar E, Sandoval G, Guzman B, Riedel I, Post-streptococcal acute glomerulonephritis in Chile-20 years of experience. Pediatric Nephrology 2004 March; 19(3):304-12.

3. สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ. Acute poststreptococcal glomerulonephritis. ใน: ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์. พรชัย กิ่งวัฒนกุล, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, บรรณาธิการ. ปัญหาสารนํ้า อิเล็กโทรไลต์ และโรคไตในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2547:183-94.

4.สุขชาติ เกิดผล. Acute glomerulonephritis. ใน: โรคไตในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ ศิริภัณฑ์ ออฟเช็ท; 2531. 103-18.

5. กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ. Acute glomerulonephritis.ใน: อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์. บรรณาธิการ. ปัญหาสารนํ้า อิเล็กโทรไลต์ และโรคไตในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2540:229-41.

6. Poststreptococcal acute glomerulonephritis. Pediatric in Review 1995 July ; 16(7):278-9.

7. Kasahara T, Hayakawa H, Okubo S, Okugawa T, Kabuki N, Tomizawa S, Uchiyama M. Prognosis of acute poststreptococcal glomerulonephritis (APSGN) is excellent in children, when adequate diagnosis. Pediatrics Int 2001 Aug ; 43(3):364-7.

8. Tasic V, Polenakovic M. Acute poststreptococcal glomerulonephritis following circumcision. Pediatric Nephrology 2000 Dec ; 15(3-4):274-5.

9. Wong W, Morris MC. Cerebral vasculitis in a child following poststreptococcal glomerulonephritis. Pediatr Child Health 2001 Dec ; 37(6):597-9.

10. Ito S, Nezu A, Matsumoto C, Aihara Y, Yokota S. Acute disseminated encephalomyelitis. Brain Dev 2002;24(2):88-90.

11. DeBeukelaer MM, Young GF. Subarachnoid hemorrhage complicating acute poststreptococcal glomerulonephritis. Archives of Neurology 1978 July ; 35(7):473-4.

12. Chiu CY. Huang YC, Wong KS, Hsia SH, Lin CJ, Lin TY. Poststreptococcal glomerulonephritis with pulmonary edema presenting as respiratory distress. Pediatric Nephrology 2004 Sep 22.

13. Harthelius M, Berg U. Renal function during and after children acute poststreptococcal glomerulonephritis. Pediatric Nephrology 1999 Nov ;13(9):907-11.

14. Popovic-Rolovic M. Kostic M, Antic-Peco A, Jovanovic O, Popovic D. Medium and long term prognosis of patients with poststreptococcal glomerulonephritis. Nephron 1991;58(4):393-9.

15. Hoschek JC, Dreyer P, Dahl S, Walker PD. Rapid progressive renal failure in children. Am J of Kidney Disease 2002 Dec ; 40(6):1342-7.

16. Derakhshan A. Another case of acute poststreptococcal glomerulonephritis with recurrence. Pediatric Nephrology 2002 June ; 17(6):462.

17. Ira DD, Ellis DA. Acute poststreptococcal glomerulonephritis. In: Behrman RE, Kliegman RM, Jenson HB, eds. Nelson textbook of pediatrics. 17thed. Philadelphia : W.B. Saunders Company; 2004. 1740-1.

18. Murray DL. Acute glomerulonephritis. In : Rudolph CD, Rudolph AM, Hostetler MK, Lister G, Siegle NJ,eds. Rudolph's pediatrics. 21st ed. USA : The Mc Graw-Hill Company; 2002. 998-9.