การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาฉีดที่ไม่เหมาะสมของผู้ให้ และ ผู้ร้บบริการของโรงพยาบาลราษีไศล : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

Main Article Content

สมชาย ภานุมาสวิวัฒน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาฉีดที่ไม่เหมาะสมของผู้ให้และผู้รับบริการในยาที่ใช้บ่อย 12 ชนิด ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราษีไศล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ให้บริการประกอบด้วยแพทย์ 6 คน พยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 5 คน และผู้ป่วยที่มารับบริการที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาฉีด 1 ใน 12 ชนิด จำนวน 403 ราย โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 เมษายน - 30 พฤศจิกายน 2542
ผลการศึกษา: ผู้ให้บริการ (แพทย์ / พยาบาล) ใช้ยาฉีดไม่เหมาะสม ร้อยละ 48.39 โดยมี สัดส่วนการใช้ยา Getamicin และ Vit B. complex ไม่เหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.3 ซึ่งการใช้ไม่เหมาะสมส่วนมากเป็นการใช้ในลักษณะการใช้เกินความจำเป็น ผู้รับบริการส่วนมากมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ยาฉีด ได้แก่ ยาฉีดออกฤทธิ์เร็ว ช่วยให้หายเร็ว บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อที่แผล แก้อาการชํ้าใน เป็นการได้รับยาโดยตรง สะดวก สะอาด
สรุป: ยังพบมีพฤติกรรมการใช้ยาฉีด ในลักษณะเกินความจำเป็น ทั้งในผู้ให้และผู้รับบริการดังนั้นจึงควรมีการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการให้การรักษาพยาบาล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป และในทำนองเดียวกันก็ควรมีการกำหนด แนวทางในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยมของผู้รับบริการไปพร้อมๆ กันด้วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ไอรีน โฮเกบูม และคณะ. การฉีดยาในอินใดนีเซีย. ใน: สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. การฉีดยา ภยันตรายที่ถูกเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2537:81-94.

2. อิริดา แจนแซน และ วี แลนนิง. การฉีดยา : วิธีร้กษาที่แพงกว่ามีประสิทธิภาพกว่าและเร็วกว่า รายงานจากประเทศเอกวาดอร์. ใน: สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. การฉีดยาภยันตรายที่ถูกเมิน. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2537:45-60.

3. แอน ไวปีก รีเลอร์. จากสมุนไพรสู่ยาฉีด : ระบบบริการสาธารณสุขในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. ใน: สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. การฉีดยาภยันตรายที่ถูกเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2537:61-79.