การออกกำลังกายร่วมรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พรรณวดี สารวนางกูร

บทคัดย่อ

เหตุผลของการศึกษา: กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลสุรินทร์ จัดโครงการออกกำลังกายร่วมรักษาโรคเรื้อรัง โดยเริ่มที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อน กำหนดโปรแกรม การออกกำลังกายและฝึกสำหรับผู้ป่วยเพิ่มเติมจากเดิมที่ให้คำแนะนำด้าน ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงหลังการออกกำลังกาย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ของคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสุรินทร์ 3 ด้านคือ ระบบหัวใจ หลอดเลือด สมรรถภาพทางกาย และเมตาบอลิก
2. เพิ่อเปรยบเทียบพลการออกกำลังกายตามโปรแกรมที่โรงพยาบาลกับการ ออกกำลังกายที่บ้านตามคำแนะนำ
สถานที่: ห้องออกกำลังกาย กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: Experimental research
วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 85 คน ของคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ กรกฎาคม 2547-พฤษภาคม 2548 สุ่มตัวอย่าง แบบ purposive sampling แบ่งผู้ป่วยตามความสมัครใจ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วย อาสาสมัครจำนวน 49 คนที่สามารถมาออกกำลังกายตามโปรแกรมที่ โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ มีการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง/ สัปดาห์ ครบระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยอาสา สมัครจำนวน 36 คนที่ออกกำลังกายตามคำแนะนำที่บ้าน อย่างน้อย 3 ครั้ง/ สัปดาห์ ครบระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 30 คน บันทีกข้อมูล ประวัติ วัดความดันโลหิต ชีพจร สมรรถภาพทางกาย (ความจุออกซิเจนสูงสุด แรง บีบมอ สัดส่วนไขมันของร่างกาย) ตรวจเลือดทางฟ้อง ปฎบ้ตการโรงพยาบาล ก่อนและหลังการศึกษา
วิเคราะห์ทางสถิติ: เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาคำนวณทางสถิติ ใช้ Paired-Sample T test เปรียบเทียบทางสถิติระหว่างค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ไม่เป็นอิสระ Independent-Sample T test เปรียบเทียบทางสถิติระหว่างค่าเฉลื่ยของข้อมูลที่เป็นอิสระ กำหนด ค่า p<0.05 โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows
ผลการศึกษา: พบการเปลี่ยนแปลงหลังออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านระบบหัวใจหลอดเลือด พบผู้ป่วยที่ออกกำลังกายที่โรงพยาบาล มีความดันโลหิต ขณะบีบตัวลดลง (136.83+19.1 VS 123.77+15.01 mmHg) ความดัน โลหิตขณะคลายตัวลดลง (84.53+10.78 VS 80.33+7.87 mmHg) อัตรา การเต้นของชึพจรช้าลง (87.30+7.39 vs83.67+6.03 ครั้ง/นาที) ด้าน สมรรถภาพทางกาย ผู้ออกกำลังกายที่โรงพยาบาลมีค่าความจุออกซิเจน สูงสุดเพิ่มขึ้น (25.38±7.64 VS 28.59±7.82 ml/ kg/min) ผลตรวจเลือด ทางห้องปฎิบ้ติการพบ ค่า HbAlc ลดลงทั้ง 2 กลุ่ม (กลุ่มที่ ร.พ.9.06±2.31 VS 8.29+1.88%, กลุ่มทึ่บ้าน 8.09+1.31 VS 6.36+1.00%) โดยผู้ป่วยที่ ออกกำลังกายที่บ้านยังมีค่า FBS ลดลง (135.32+27.46 VS 120.45±28.43 mg/dl) และกลุ่มที่ออกกำลังกายที่โรงพยาบาล ค่า cholesterol ลดลง (190.57+41.53 VS 178.18+34.96 mg/dl) LDL ลดลง (116.93±38.33 VS 107.72+32.22 mg/dl) เมื่อเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงของค่าตัว แปรต่างๆ ในผู้ป่วย 2 กลุ่มนี้ พบค่าการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญคือ ความดันโลหิตขณะปีบตัว (ที่โรงพยาบาล 13.07+13.07 mmHg VS ที่บ้าน -0.41 + 17.23 mmHg) ค่าการเปลี่ยนแปลงความจุออกชิเจนสูงสุด (ที่โรงพยาบาล 3.21+3.29 VS ที่บ้าน 0.19+6.52 ml/kg/min) และค่าการ เปลี่ยนแปลง HbAlc (ที่โรงพยาบาล 0.72+1.01 VS ที่บ้าน 1.73+1.08%)
สรุปผลการศึกษา: การออกกำลังกายร่วมรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด ที่ 2 ของคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ ออกกำลังกายที่ฝึการควบคุมทั้ง intensity duration frequency mode ของการออกกำลังกาย พบการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้ง 3 ด้าน คือ หัวใจหลอดเลือด สมรรถภาพทางกาย และเมตาบอลิก
คำสำคัญ: Exercise, Physical activity, Aerobic capacity, Grip strength, Body mass index

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 แผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์การร้บส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2544.

2. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. นโยบาย สร้างสุขภาพ. เอกสารอัดสำเนา, 2546.

3. ดุจใจ ชัยวานิชศร. กิจกรรมทางกาย บทบาทในการป้องกันโรค. ใน: วิศาล คันธารัตนกุล, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ. กรุงเทพฯ : ชมรมฟื้นฟูหัวใจ, 2546. หน้า 87-101.

4. Franklin BA, Gordon S, Timmis GC. Exercise in modern medicine. Baltimore : Williams and Wilkins, 1989.

5. Eriksson JG. Exercise and the treatment of type 2 diabetes mellitus. Sports Med 1999;27:381-91.

6. Kirk A, Macintyre P, Mutrie N, Fisher M. Increasing physical activity in people with type 2 diabetes. Diabetes care 2003;26(4):1186-92.

7. American Diabetes Association. Physical activity/Exercise and diabetes mellitus. Diabetes care 2003;26:s73-7.

8. American Association of Cardiovascular and Pulmonary Rehabilitation . Guidelines for cardiac rehabilitation and secondary prevention program. 3rd edition. Champaign : Human Kinetics, 1999.

9. ปียะนุช รักพาณิชย์. การฟื้นฟูสภาพหัวใจ เมื่อกลับบ้าน. ใน : วิศาล คันทรัตนกุล, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : ชมรมฟื้นฟูหัวใจ, 2546. หน้า 87-101.

10. Karen A, Maria A, Singh F. Battling insulin resistance in elderly obese people with type 2 diabetes. Diabetes care 2003;26(5):1580-88.

11. Castaneda C, Foldvari M, Layne JE. A randomized controlled trial of resistance exercise training to improve glycemic control in older adult with type 2 diabetes. Diabetes care 2002;25(12):2335-41.

12. วสันต์ ศรีสุรินทร์. การรักษาภาวะ LDL-C สูงโดยวิธีไม่ใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2544;16(3):217-34.

13. Fletcher GF, Balady GF, Blair SN. Statement on exercise : Benefits and recommendations for physical activity programs for all Americans. Circulation 1996,94: 857- 62.

14. Mairana A, Driscoll GO, Cheetham C. The effect of combined aerobic and resistance exercise training on vascular function in type 2 diabetes. J Am Coll Cardiol 2001;38(3):860-66.

15. American Diabetes Association. Clinical practice recommendations 2000. Management of dyslipidemia in adults with diabetes. Diabetes care 2000;23 (suppl):57-60.

16. เสก อักษรานุเคราะห์.พลังงานสำหรับการ ออกกำลังกาย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2530;31:271-17.

17. ธิติ สนับบุญ. ระบาดวิทยาของโรคเบาหวาน. ใน:วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545:15-9.