โรคบาดทะยักในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ มกราคม 2544-เมษายน 2548

Main Article Content

ภาวินี วงศ์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: โรคบาดทะยักเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งควรจะพบน้อยในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ามีการพัฒนาทางการแพทย์และสาธารณสุข อยู่ในลำดับต้นๆของทวีปเอเชียแต่กลับพบมีผู้ป่วยใหม่จำนวนมากพอสมควรมา นอนรักษาเป็นระยะในโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษา สาเหตุของการเกิดโรค อุบัติการณ์ของโรค อาการและอาการแสดง ทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา ผลการรักษา ลักษณะการดำเนินของโรคบาดทะยัก อัตราการเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยบาดทะยักในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
2. วิเคราะห์สาเหตุของการเกิดโรค
ผู้ป่วยและวิธีการ: ทำการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ผู้ป่วยบาดทะยักจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ดั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง 31 เมษายน พ.ศ. 2548
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์โรคบาดทะยักในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ช่วง 1มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง 31 เมษายน พ.ศ. 2548 32 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาชีพเกษตรกรรม อายุ 60-80ปี การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่ได้จากประวัติและตรวจร่างกายพบอาการและอาการแสดง เข้าได้กับโรคบาดทะยัก ชนิดของบาดทะยักที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิดบาดทะยักทั้งตัว สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่จากการมีบาดแผลแต่ไม่ได้ดูแลบาดแผลหรือรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ระยะเวลาเฉลี่ย ในการเกิดโรคหลังเกิดบาดแผลคือ 10 วัน ระยะเวลาเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาล 31 วัน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 101,015 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ผู้ป่วยส่วน ใหญ่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 87.57% เจาะคอเพื่อช่วยหายใจ 84.37% โดยได้รับการเจาะคอเฉลี่ยภายใน 3 วันหลังนอนโรงพยาบาล ได้รับยาคลายกล้ามเนื้อชนิดฉีดเข้ากระแสเลือดและแบบกินโดยนิยมใช้ยาแวเลี่ยม ขนาดของยาที่ใช้เฉลี่ยต่อวันประมาณ 360 มิลลิกรัม ได้รับ Tetanus antitoxin 93.75% ขนาดเฉลี่ย 40,133 หน่วยต่อผู้ป่วย 1 ราย ได้รับการฉีด Tetanus toxoid กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันระยะยาว 59.37% ทุกรายได้รับยาปฎิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ ได้รับการล้างและดูแลตกแต่งบาดแผล 72.73% อัตราเสียชีวิต 15.625%
สรุป: โรคบาดทะยักพบได้ทั่วโลกซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีอาการแสดงหลายรูปแบบ เช่น บาดทะยักทั่วตัว บาดทะยักในเด็กแรกคลอด บาดทะยักเฉพาะที่ และบาดทะยักศีรษะ ผู้ป่วยทึ่พบในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ อาชีพทำนา มีประวัติมีบาดแผลที่ไม่ได้รับการดูแลแผลหรีอได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งๆ ที่โรคบาดทะยักเป็น โรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ตังนั้นการการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของ วัคซีนและการสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคบาดทะยักแก่ประชาชน บุคคลากรทางการแพทย์ การตรวจประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนบาดทะยัก ตามสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นระยะ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกัน ลดอุบัติการณ์ของโรคและลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคบาดทะยัก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. บาดทะยัก. Avaiable from:URL;http// www.thaihealth.net/h/encyclopedia-10000.htm]

2. บาดทะยัก. Avaiable from:URL;http//dpc3.ddc.moph.go.th/nana/DISEASE/tetanus.htm

3. ปัญญา วุฒิฒโก และคณะ. Tetanus. Available from: URL; http//www.thai-emergencymed.org/news_periodic/ Ietter3/Tetanus.asp

4. จำนวนผู้ป่วยโรค Tetanus รายเดือน ภาคตะวันออกเฉยงเหนือ ปี พ.ศ. 2538-2545. Availablefrom:URL;http//dpc5.ddc. moph.go.th/Report/tetanus 38-45

5. Abrutyn E tetanus. In Harrison's principles of Internal Medicine. Kasper DL, Fauci AS, Longo DL, Braunwald E, Mauser SL, Jameson JL, editors 16th ed. New York: McGraw-Hill; 2005 .p.840-842.

6. Pascual FB, McGinley EL, Zanardi LR, Cortese MM, and Murphy TV. Tetanus surveillance-United States, 1998-2000 MMWR Surveill Summ, Jun 2003;52:1-8

7. Shin DH, YU HS, Park JH, Shin JH, and Kim SJ. Recently occurring adult tetanus in Korea. J Korean Med Sci, Feb 2003;18:11-6.

8. Tomaszunas-Blaszczyk J. Tetanus in 1997. Przegl Epidemiol, Jan 1999;53:129-35.

9. Bleck Thomas P.Clostridium tetani (Tetanus). In: Gerald L. Mandell, John E. Bennett, Raphael Dolin, editors. Principles and Practice of Infectious Diseases. Vol.2. 5lbed. New York : Churchill Livingstone, 2000:2537-42.

10. Wassilak SGF, Orenstein WA, Sutter RW. Tetanus toxoid. In : Plotkin SA, Orenstein WA, edited. Vaccines. 3rd ed. Philadephia : WB Saunders, 1999. 441-71.

11. ธีรพงษ์ ตัณฑวิเชียร. การให้วัคซีนป้องกัน โรคคอตบ บาดทะยักและไอกรนในผู้ใหญ่. ใน: การฉีดวัคฃีนป้องกันโรคในประเทศไทย : ปัจจุบันสู่อนาคต. พรรณพิศ สุวรรณกูล, รรพงษ์ ตัณฑวิเชียร, ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ปี.ปี.การพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์, 2547:7-28

12. ศศิธร ลิขิตนุกูล. การให้วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ บาดทะยักและไอกรนในผู้ใหญ่. ใน: พรรณพิศ สุวรรณกูล, ธีรพงษ์ ตัณฑวิเชียร, ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในประเทศไทย : ปัจจุบันสู่อนาคต. กรุงเทพฯ : บี.บี.การพิมพ์และ บรรจุภัณฑ์, 2547:29-38

13. Center for Disease Control and Prevention. Case definitions for infectious conditions under public health surveillance. MMWR 1997;46(No.RR-10).

14. Carden DL. Tetanus. In: Tintinalli JE editor. Emergency medicine. A complehensive study guide. 6th ed. New York : McGraw-Hill, 2004:943-46.