ภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2547
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตฺผลในการศึกษา: ภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดจะเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของทารกปริกำเนิดและพบว่าทารกที่ขาดออกชิเจนแรกเกิดมีอัตราการตายสูงแล้ว ภาวะการขาดออกซิเจนแรกเกิดยังมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหัวใจ ระบบการหายใจซึ่งทำให้ทารกเจ็บป่วย และพิการ
วัตถุประสงค์: ศึกษาภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research)
ประชากรที่ศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลลำปลายมาศและได้รับการวินิจฉัยว่า ทารกแรกเกิดมีภาวะขาดออกซิเจน จำนวน 22 ราย และทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะขาดออกซิเจน จำนวน 23 ราย
ผลการศึกษา: จากการศึกษาในหญิงคลอดบุตรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าทารกแรกเกิดมีภาวะขาดออกซิเจนจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในเด็กแรกเกิดในโรงพยาบาลลำปลายมาศ สรุปได้ดังนี้ ลักษณะทางคลินิกของมารดา พบว่า อายุของมารดาส่วนใหญ่มีอายุ ระหว่าง 20-34 ปี ร้อยละ 77.27 กลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 9.09 กลุ่มอายุมากกว่า 35 ปี ร้อยละ 13.64 ลักษณะการตั้งครรภ์ เป็นการตั้ง ครรภ์แฝด 1 ราย เป็นการคลอดบุตรครั้งที่ 2 ร้อยละ 59.09 มีประวัติตกเลือดก่อนคลอด ร้อยละ 9.09 มีประวัติการตายของทารกปริกำเนิด ร้อยละ 4.55 มีประวัติความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ร้อยละ 4.45 และ อายุครรภ์ส่วนใหญ่ ครบกำหนดคลอดร้อยละ 77.27 คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 13.64 คลอดหลังกำหนด ร้อยละ 9.09
ปัจจัยการคลอดพบว่าชนิดการคลอด เป็นการคลอดปกติ ร้อยละ 26.09 และได้รับการช่วยคลอด ร้อยละ 73.91 เช่น การใช้คีม การใช้เครื่องดูดสูญญากาศ มีการผ่าตัดคลอด ร้อยละ 40.91 ได้รับยากระตุ้นก่อน คลอด ร้อยละ 18.18 ส่วนนำของทารก เป็นท่าก้น ร้อยละ 4.35 และมีระยะเวลารอคลอดระยะที่ 2 เนิ่นนาน ร้อยละ 21.74 ทารกแรกเกิด พบว่า ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 39.13 มีขี้เทาในน้ำคร่ำ ร้อยละ 4.35 การเต้นของหัวใจทารกผิดปกติระหว่างรอคลอด ร้อยละ 17.39 และคลอดท่าก้น ร้อยละ 4.35 ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถเฝ้าระวังทารกที่อาจมีปัญหาการขาดออกซิเจนแรกเกิดได้หลายวิธี เช่น การใช้ Electical Fetal Motitoring (EFM) การทำ Amniocentesis การทำ Fetal scalp blood sampling และการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography) ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงและต้องใช้บุคลากรที่ชำนาญการ ซึ่งในโรงพยาบาลชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นการเฝ้าระวังปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเตรียมการช่วยเหลือและเฝ้าระวังป้องกันต่อไป
Article Details
References
2. Chandra S, Ramji S, Thipuram S. Perinatal asphyxia: multivariate analysis of risk factor in hospital births. Indian Pediatrics 1997;34(3):206-12
3. ประพุทธ คิริปุณย์, อนันต์ เดชะเวช. การบริบาลทารกแรกเกิด ใน: ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์และคณะ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์รามาธิบดี 1. กรุงเทพฯ : เฮลท์ ออทอริตี้ส์, 2537:467
4. สุภรณ์ สมหล่อ. การตายทารกปริกำเนิด จากภาวะขาดออกซิเจนในระยะคลอด และภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดใน โรงพยาบาลพระปกเกล้าระหว่างปี พ.ศ. 2535-2539. วารสารศูนย์การแพทย์ศึกษา แพทย์ศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2540;14(2):70-7
5. วาริชา เจนจินดามัย. การช่วยคืนชีพทารก แรกเกิดแนวใหม่. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2539;14(2):81-7
6. Word Health Organization. International statisticcal classification of diseases and related health problems tenth revision. Geneva, 1992
7. Apger V. Aproposal for a new method of evaluation on the newborn infant. Curr Res Anesth Analg 1963;32:262-5