ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติ ในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พรไพโรจน์ มิตรปราสาท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาร้อยละของผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ที่ผิดปกติ ของสตรี ที่มารับการตรวจภายใน ตามสถานบริการทางสุขภาพในจังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชวิทยาและวางแผนครอบครัว
กลุ่มตัวอย่าง: สตรีในจังหวัดสุรินทร์ ทีมารับการตรวจ Pap smear ตามสถานบริการทางสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย คลินิกเอกชน และ โรงพยาบาลเอกชน ในช่วงระหว่าง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จำนวน 18,542 ราย
ผลการศึกษา: Pap smear ที่ผิดปกติพบร้อยละ 2.58 (472 ราย) โดยแยกเป็น ASCUS ร้อยละ 1.30 (239 ราย) AGUS ร้อยละ 0.18 (32 ราย) LSIL ร้อยละ 0.47 (85 ราย) HSIL ร้อยละ 0.50 (91 ราย) และ Carcinoma ร้อยละ 0.13 (25 ราย) Pap smear ที่ให้ผลผิดปกติมากส่วนใหญ่จะให้ผลทางพยาธิวิทยา ผิดปกติมากตามไปด้วย อายุทีพบว่า Pap smear ผิดปกติพบมากในช่วง 36-45 ปี เหตุผลในการมาตรวจที่พบมากที่สุดคือการมาตรวจสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 47.72 สตรีที่มีบุตรมาก และสตรีที่มีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุน้อย จะพบ Pap smear ที่ผิดปกติสูงขึ้น
สรุป: Pap smear ที่ผิดปกติของสตรีจังหวัดสุรินทร์ที่มารับการตรวจภายในเท่ากับ ร้อยละ 2.58 ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับผลทางพยาธิวิทยาตามระดับความรุนแรง เหตุผลในการมาตรวจที่พบมากที่สุดคือการมาตรวจสุขภาพ สตรีที่มีบุตรมาก และสตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะพบ Pap smear ที่ผิดปกติมากขึ้น


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมชาย สมบูรณ์เจริญ. ศิณีนาฐ์ สนธิพงศ์. ระบาดวิทยาโรคมะเร็งในประเทศไทย และ แนวทางแก้ปัญหา. วารสารโรคมะเร็ง 2524;7:121-35.

2. Koss LG. Diagnostic cytology and its histopathologic bases. 3 rd ed. Philadelphia : JB Lippincott, 1979:285-377.

3. Luff RD, Berek JS, Bibbo M, Greening SE, Henson DE, Hutter RVP, et al. The Bethesda system for reporting cervical/vaginal cytologic diagnoses. Acta Cytologica 1993;17:115-24.

4. Kurman RJ. Luff R. Solomon D, Hensen D. The Bethesda System for reporting cervical/vaginal cytologic diagnoses ะ definition, criteria and explanatory notes for terminology and specimen adequacy. New York : Springer-verlag ; 1993. P.1-81.

5. สำเริง รางแดง. การแปรผลแปีปสเม็ยร์ อย่างเป็นระบบ. ใน ะ สำเริง รางแดง, บรรณาธิการ. เอกสารคำสอน กระบวนวิชา พยาธิวิทยากายวิภาค ชั้นสูง (พ.พย. 721 และ พ. พย. 722) เรื่องการแปลผล แปีปสเม็ยร์ตามระบบบีเทสด้า. เชียงใหม่ : ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544. หน้า 1-18.

6. รายงานผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร 7 โรงพยาบาล สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมค้นหา ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชมมายุครบ 72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542, กรุงเทพฯ 2543.

7. Manos MM, Kinney WK, Hurley LB, et al. Indentitying women with cervical neoplasia : Using human papillomavirus DNA testing for equivocal Papanicolaou results. JAMA. 1999 ; 281:1605-1610.

8. กมลพันธ์ ชมเสวี, นิทัศน์ จตุปาริสุทธิ้. ผล การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิด ปกติในโรงพยาบาลกลาง. Vajira Medical Journal. 2002 ; 46:97-104

9. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ผลงานประจำปี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข. พ.ศ. 2543:23-32.

10. Kurman RJ, Henson DE, Herbst AL, et al. Interim guidelines for management of abnormal cervical cytology. The 1992 National cancer Institute workshop. JAMA. 1994 ; 271:1866-1869.

11. Management Guidelines ASCUS. The Colposcopist. 1996;27:1-9.

12. De Britton RC, Hildesheim A, De Laos, et al. Human papillomavirus and other influences on survival from cervical cancer in Panama. Obstet Gynecol 1993;81:19-2.

13.Beral V, Hannaford P, Kay C. Oral Contraceptive use and malignancies of the genital tract. Results from the Royal college of General Practitioners oral contraceptive study. Lancet 1988;2:1331-5.

14. Brock KE Berry G, Brinton LA, et al. Sexual, reproductive and contraceptive risk factors for carcinoma-in-situ of the uterine cervix in Sydney. Med J Aust 1998;150:125-30.

15. La Vecchia CA, Franceschi S, Decarli A, et al. Sexual factors, venereal diseases and the risk of intraepithelial and invasive cancer neoplasia. Cancer 1986 ;58:935-41.

16. Terris M, Wilson F, Smith H, et al. The relationship of coitus to carcinoma of the cervix. Am J Publ Health 1976;57:815-29.