Retinopathy of Prematurity ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ ปี 2546

Main Article Content

อาวุธ แก้วภมร

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: การเกิด Retinopathy of permatunity (ROP) เป็นภาวะแทรกช้อนอย่างหนึ่ง ทีพบในเดกคลอดก่อนกำหนดหรือเด็กนำหนักตัวน้อยที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญยังไม่เคยศึกษาถึงอุบิตการณ์การเกิด ROP นี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิด ROP ของผู้ป่วยทารกคลอดก่อนกำหนด(อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์) หรือ นำหนักตัวน้อย (< 2,500 กรัม) และศึกษาสัดส่วนการเกิด ROP ในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม, นำหนักตัวระหว่าง 1,000-1,500 กรัมและน้ำหนักตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 1,500 กรัม รวมทั้งศึกษาหาปัจจัยความสัมพันธ์ต่างๆ
เป้าหมาย: ผู้ป่วยทารกคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ <37 สัปดาห์) หรือนำหนักตัวน้อย (<2,500 กรัม) ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมและหอผู้ป่วย ทารกแรกเกิดโรงพยาบาลอำนาจเจริญ
รูปแบบของการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย จากเวชระเบียนผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมและหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 30 กันยายน 2546
ผลการศึกษา: ในทารกคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวน้อย 38 คน พบว่าเกิด ROP 7 คน (ร้อยละ 18.42) โดยทารกทุกรายที เกิด ROP ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน เมื่อจำแนกตามคะแนน APGAR พบว่าในทารกที่มี asphyxia 17 คน เกิด ROP 3 คน (ร้อยละ 17.64) และในทารกที่ไม่มี birth asphyxia 21 คนเกิด ROP 4 คน (ร้อยละ 19.04) และเมื่อจำแนกตามช่วงน้ำหนัก พบว่าทารกที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอด 1,000-1,500 กรัมจำนวน17 คน เกิด ROP 6 คน (ร้อย ละ 35.29) และมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น 2 คน (ร้อยละ 33.33) ส่วนทารกที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอด มากกว่า 1,500 กรัม จำนวน 21 คน เกิด ROP 1 คน (ร้อยละ 4.76) และมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นเมื่อตรวจซ้ำ เมื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลง ของ ROP พบว่ามีอาการคงเดิม 3 คน มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น 3 คน และมี 1 คนอาการรุนแรงขึ้น
สรุป: ทารกที่มีอายุครรภ์และน้ำหนักแรกคลอดมากกว่ามีอุบัติการณ์การเกิด ROP น้อยกว่าทารกที่มีอายุครรภ์ และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า และผลการรักษาและการ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของทารกที่มีอายุครรภ์และน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า จะดี กว่าทารกที่มีอายุครรภ์และน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า และทารกที่เกิด ROP ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนทุกคน แต่การเกิด ROP ยังไม่มีความสัมพันธ์กับ ระยะเวลาในการได้รับออกซิเจน, คะแนน APGAR และการช่วยฟื้นคืนชีพในช่วงการคลอดอย่างชัดเจน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. เกรียงศักดิ์ จิระแพทย์. Perinatal Asphyxia. ใน : การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์; 2536. 1-22

2. ไอรีน ศุภางเสน. Retinopathy of prematurity. ใน : การประชุมวิชาการประจำปี 2543 ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย วันที 2-4 สิงหาคม 2543. 246-52.

3. ไอรีน ศุภางเสน. ปัญหาทางตาที่พบบ่อยในเด็ก. ใน: จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์, รัตโนทัย พลับรู้การ, พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, ประสบศรี อึงถาวร บรรณาธิการ. การบริหารความเสี่ยงในการดูแลสุขภาพเด็ก. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์;2546. 99-04

4. Kingham JD. Acute Retrolental Fibroplasia, Arch Ophthalmol 1977;95(1):39-47.

5. Kanski Jl. Retinopathy of Prematurity. In ; Cinical ophthalmology : Butterworth & Co.,1989 ;332-4.

6. Kretzer FL, Human retinal development : Relationship to the pathogenesis of retinopathy of prematurity. In : McPherson AR, Hittner HM, Kretzer FL (eds).Retinopathy of prematurity : current concepts and controversies. Toronto/Philadelphia. B.C. Decker Inc., 1986 . 27-52

7. An International Committee for the classification of retinopathy of prematurity. An international classification of retinopathy of prematurity. Br J Opthalmol 1984;68:690-7

8. Hittner HM, Kretzer FL. Rudolph AJ, et al. Vitamin E and retrolental fibroplasias. N Eng J Med 1993 ; 309:669-70

9. Tamai M. Treatment of acute retinopathy of prematurity by cryotherapy and photocoagulation. In : McPherson AR, Hittner HM. Kretzer FL, (eds). Retinopathy of prematurity. Toronto/Philadelphia. B.C. Deckner Inc., 1986:151-9.

10. รังสรรค์ กองทอง. Retinopathy of prematurity ในโรงพยาบาลนครปฐม ปี 2545. วารสารแพทย์ เขต 4 2546;22[2]:83-92.