ประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2542-2546
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลในการศึกษา: ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลลำปลายมาศ มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการขาดยาและอัตราตายที่สูง ผู้ศึกษาในฐานะ แพทย์ผู้รับผิดชอบงานเอดส์ของโรงพยาบาล จึงสนใจที่จะศึกษาถึงประสิทธิผลของการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีเพื่อนำข้อมูลที่ได้ ไปวางแผนในการให้บริการต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Study) โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทุกคน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยวัณโรคและมีผลตรวจ HIV serology เป็นบวก
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยวัณโรคทีติดเชื้อเอชไอวีทุกคนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลำปลายมาศ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2542 ถึง 31 ธันวาคม 2546 จำนวน 32 ราย
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยมีเสมหะเป็นบวก ร้อยละ 71.9 ภาพรังสีทรวงอกพบความผิดปกติ ร้อยละ 90.6 ในจำนวนนี้เป็นความผิดปกติบริเวณ Upper lobe ร้อยละ 58.5 และผลการตรวจร่างกายที่แพทย์บันทึกไว้ พบความผิดปกติ ร้อยละ 37.5โดยพบลักษณะอาการที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี เช่น เชื้อราในช่องปาก ท้องร่วงเรื้อรัง เป็นต้น ส่วนผลการวินิจฉัย พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคปอด ร้อยละ 87.5 และวัณโรคนอกปอด ร้อยละ 12.5 การประเมินผลการรักษาเมื่อสิ้นสุดการรักษาเข้มข้นในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก มี Sputum conversion rate = 86.9 Default rate =8.7 และเมื่อสิ้นสุดการรักษา มี cure rate = 37.5 และ Death rate = 25.0
สรุป: ผู้ป่วยวัณโรคที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยและภูมิต้านทานของร่างกายยังไม่ลดต่ำมาก จะแสดงอาการทางคลินิกและภาพถ่ายรังสีทรวงอกไม่แตกต่างจากผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป การรักษาด้วยสูตรยาระยะสั้น 6 เดือน (2 HRZE/4 HR) พบว่าให้ผลตอบสนองที่ดีในระยะการรักษาเข้มข้น แต่เมื่อสิ้นสุดการรักษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราป่วยตายสูง แต่อัตรารักษาหายและครบต่ำ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับหลายสาเหตุ เช่น ภาวะภูมิต้านทานที่ลดลง การติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด นอกจากมีควรมีการศึกษาในรายละเอียดต่อไปเกี่ยวกับสาเหตุการตายและโอกาสเกิดวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป
Article Details
References
2. Hirsch CS, Toosi Z, Whalen C, Wallis RS, Rich EA, &Ellner JD. Co-pathogenesis of TB and HIV infection. Tuberculosis and lung Disease 1997;78(1):81.
3. กระทรวงสาธารณสุข. Management of tuberculosis modified WHO modules of managing tuberculosis at district level. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2545. น.28-9
4. นัดดา ศรียาภัย. ผลกระทบจากการระบาดของการติดเชื้อ HIV/เอดส์ ต่อแผนงานวัณโรคของประเทศไทย. ใน : นลินี อัศวโภคี, สุรภี เทียนกริม, ศศิธร ลิขิตนุกูล, อัษฎา วิภากุล, บรรณาธิการ. ประสบการณ์ด้านโรคติดเชื้อในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2537.น.288-294.
5. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เด็กและผู้ใหญ่ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2547(ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 8). พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี : โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและ,พัสดุภัณฑ์; 2546.น.89-93.
6. ชายชาญ โพธิรัตน์. ปอดอักเสบในผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์. ใน : ชายชาญ โพธิรัตน์. บรรณาธิการ.ปอดอักเสบ 2000. พิมพ์ครั้งที่ 2 .เชียงใหม่ : หจก.ธณบรรณการพิมพ์; 2543.น.50-133.
7. วิทยา หลิวเสรี, ทัศนา หลิวเสรี. ผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อที่ติดเชื้อHIV ในศูนย์วัณโรคเขต 10 เชียงใหม่. วารสารโรคติดต่อ 2542;25:35-44.
8. ประดิษฐ์ เจริญลาภ.แนวทางการวินิจฉัย ป้องกันและรักษาวัณโรค.ใน:นายแพทย์วิทยา ศรีดามา,บรรณาธิการ.เคล็ดลับในการดูแล ผู้ป่วยอายุรกรรม.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2543.น.410-44.
9. Naidich DP, Me Guinness. Pulmonary manifestation of AIDS CT and radiographic correlation. Radiol Clin North Am 1991; 29:999-1017.
10. พัฒนา โพธิ้แก้ว.ผลการรักษาวัณโรคปอดแพร่เชื้อในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและ ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ศูนย์วัณโรคเขต10 เชียงใหม่. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2547;25:35-44.
11. สุนี อัศววรุณ, สว่าง แสงหิรัญวัฒนา, รุ่งนภา ประจักษ์ธรรม, อุมาพร อุดมทรัพยากุล. การดื้อยาด้านวัณโรคในผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี ร่วมกับวัณโรคปอดของโรงพยาบาลรามาธิบดีปี พ.ศ.2542.วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2545;23:211-7.