การวิเคราะห์ต้นทุนค่าบริการวิสัญญีจำแนกตามเทคนิคบริการ

Main Article Content

อิสริยา สุขสนิท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาต้นทุนค่าบริการวิสัญญีต่อผู้ป่วย 1 ราย จำแนกตามเทคนิควิธีการให้บริการ แบบต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกับค่าบริการในปัจจุบัน
วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในปีงบประมาณ 2546 โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุและค่าลงทุนในส่วนของหน่วยงานวิสัญญี, เอกสาร การวิเคราะห์ต้นทุนการบริการของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และสถิติการให้ บริการวิสัญญีในช่วงปีงบประมาณ 2546 น่าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต้นทุนจำแนกตาม เทคนิคการให้บริการวิสัญญีโดยคิดตามสัดส่วนของเวลาและทรัพยากรที่ใช้ ส่วนต้นทุนทางอ้อมจากหน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NRPCC) และหน่วยด้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ (RPCC) ที่มีการกระจายต้นทุนมายังหน่วยด้นทุนวิสัญญีใช้วิธีการกระจายแบบ Direct Distribution Method
ผลการศึกษา: พบว่าในปีงบประมาณ 2546 กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ มีต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น 19,839.004.61 บาท เป็นต้นทุนรวมทางตรง 18.653,022.75 บาท เป็นต้นทุนทางอ้อมซึ่งรับการกระจายต้นทุนจากหน่วยต้นทุนไม่ก่อให้เกิดรายได้(NRPCC) และหน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ (RPCC) 1,185,981.86 บาท ปีงบประมาณ 2546 มีจำนวนผู้ใช้บริการวิสัญญีทั้งสิ้น 13,344 ราย ให้บริการด้วยเทคนิค GA with ET ร้อยละ 67.05, เทคนิค GA with Mask ร้อยละ 10.43 , เทคนิค IV anesthesia & Neuroleptanalgesia ร้อยละ 3.85 , เทคนิค Spinal Block ร้อยละ 16.55, เทคนิค Epidural Block ร้อยละ 1.87 และเทคนิค Brachial Plexus Block ร้อยละ 0.75 ต้นทุนการให้บริการวิสัญญีด้วยเทคนิค GA with ET เฉลี่ยเท่ากับ 2,286.52 บาท/ ราย, เทคนิค GA with Mask เฉลี่ยเท่ากับ 480.28 บาท/ราย, เทคนิค IV anesthesia & Neuroleptanalgesia เฉลี่ยเท่ากับ 460.43 บาท/ราย, เทคนิค Spinal Block เฉลยเท่ากับ 1,702.75 บาท/ราย, เทคนิค Epidural Block เฉลี่ยเท่ากับ 4,783.14 บาท/ราย และเทคนิค Brachial Plexus Block เฉลี่ยเท่ากับ 1,149.92 บาท/ราย
สรุป: จากการศึกษาพบว่าต้นทุนค่าบริการใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยค่าบริการที่เรียกเก็บจริงโดยเฉพาะเทคนิค GA with ET , Spinal Block และ Brachial Plexus Block ส่วนเทคนิค Epidural Block มีต้นทุนสูงกว่าค่าบริการมากทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเป็นเทคนิคที่เลือก ใช้ในการผ่าตัด ที่ยาวนานร่วมกับมีจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการน้อย ซึ่งควรได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อการบริหารทรัพยากรที่เหมาะสมต่อไป สำหรับเทคนิค GA with Mask และ IV anesthesia พบว่าค่าบริการที่เรียกเก็บสูงกว่าต้นทุนจึงควรมีการปรับปรุงอัตราค่าบริการให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. บังอรรัตน์ เธียรญาณี. (2546). การวิเคราะห์ต้นทุนของแผนกบริการผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, 2546

2. กมลพร แก้วพรสวรรค์. การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost Analysis). วิสัญญีสาร ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 ; เมษายน-มิถุนายน 2546:106-118

3. จิราวรรณ วรรณเวก. การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534

4. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคณะ. โครงการวิจัยระบบบัญชีต้นทุนโรงพยาบาลของรัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2531

5. สุรชัย รุ่งธนาภิรมย์ และ คณะ. การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการโรงพยาบาลศูนย์ สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. สรรพสิทธิเวชสาร, 9(3),125-135

6. มัททาว์ สีมาเงิน. ต้นทุนค่าบริการทางวิสัญญี'วิทยา. บทกัดย่อผลงานวิชาการสาธารณสุข ประจำปี 2546 นำเสนอในการประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 11 : 146. 2546.