การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

บัณฑิต ธนบุญสมบัติ

บทคัดย่อ

บทนำ: ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ถ้าให้การรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผลก็ต้องใช้การบำบัดทดแทนไตช่วย ก่อนที่โรงพยาบาลสุรินทร์จะทำการเปิดหน่วยไตเทียมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2543 ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องใช้วิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องเท่านั้นหลังทำการเปิดหน่วยไตเทียมฯ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน, ข้อบ่งชี้ในการบำบัดทดแทนไต และผลการรักษาของผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลสุรินทร์
ผู้ป่วยและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและ ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งหมดในโรงพยาบาล สุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ถึง วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทำการศึกษาทั้งหมด รวม 105 ราย เป็นเพศชาย 72 ราย เพศหญิง 33 ราย อายุตั้งแต่ 15 ปี ถึง 89 ปี อายุเฉลี่ย 50 ปี สาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลันที่พบได้บ่อยคือ severe leptospirosis, ischemic acute tubular necrosis (ATN) และ acute ontop chronic renal failure (CRF) ข้อบ่งชี้ในการบำบัดทดแทนไตที่พบบ่อยคือ ค่า blood urea nitrogen (BUN) > 80 mg%, ค่า serum creatinine (Cr) > 8 mg% และ มีภาวะ oliguria ในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ไม่มีภาวะ chronic renal failure อยู่เดิม ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ 77.5% เสียชีวิต 13.5% สาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะ sepsis
สรุป: การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดทดแทนไดในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ผลการรักษาในผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Levy EM, Viscoli CM, Horwitz, RI. The effect of acute renal failure on mortality. A cohort analysis. JAMA 1996;275 1489-94

2. Chertow GM, Christiansen CL, Cleary PD. Prognostic stratification in critically ill patients with acute renal failure requiring dialysis. Arch Int Med 1995;155:1505-11.

3. Zawada ET. Initiation of dialysis. In : Daugirdas JT, Blake PG, Ing TS, editors. Handbook of dialysis, 3 rd edition. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins, 2000:3-11

4. Lennon AM, Coleman PL, Brady HR. Management and outcome of acute renal failure. In : Johnson RJ, Feehally J, editors. Comprehensive clinical nephrology. London : Harcourt Publishers Limited, 2000:4.19.1-14

5. ไตรรักษ์ พิสิฐกุล. สมชาย เอี่ยมอ่อง. การเลือก วิธีการล้างไตในผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน.ใน : สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกรียง ตั้งสง่า, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, บรรณาธิการ. หนังสือ Practical dialysis : Text and journal publication Co. Ltd. 2545, 2-3

6. Sitprija V, Pipatanagul V, Mertowidjojo K, Boonpucknavig V, Boonpucknarig S. Pathogenesis of renal disease in leptospirosis : clinical and experimental studies. Kidney International 1980;17: 827-36

7. Lai KN, Aarons I, Woodroffe AJ, Clarkson AR. Renal lesions in leptospirosis. Aust N Z J Med. 1982;12:276-79

8. Niwattayakul K, Homvijitkul J, Khow 0, Sitprija V. Leptospirosis in northeastern Thailand : hypotension and complications. Southeast Asian J trop Med Public Health. 2002 Mar; 33(1):155-60

9. Ramachandra S. Rajapakse CN, Perera MV, Yoganathan M. Pattern of acute renal failure in leptospirosis. J Trop Med Hyg. 1976;79:158-60

10. โศภณ นภาธร. การประเมินความเหมาะสม สำหรับการทำ chronic hemodialysis. ใน : เกรียง ตั้งสง่า, สมชาย เอี่ยมอ่อง, บรรณาธิการ. หนังสือ Hemodialysis : Text and journal publication Co.Ltd. 2542, 35-36

11. Conger JD. Interventions in clinical acute renal failure : What are the data? Am J Kidney Dis 1995;26:565-76

12. Gillium DM. Kelleher SP, Dillingham MA, et al. The role of intensive dialysis in acute renal failure. Clin Nephrol 1986;25:249-55

13. Chertow GM, Lazarus JM. Intensity of dialysis in established acute renal failure. Semin Dial 1996;9:476-80

14. Mehta RL. Acute renal failure in the intensive care unit : which outcomes should we measure?. Am J Kidney Dis 1996;5(Suppl 3)S 74-S80

15. Kumar V, Craig M, Depner T, Yeun J. Extended daily dialysis : A New approach to renal replacement for acute renal failure in the intensive care unit. Am J Kidney Dis 2000:36;294-300

16. Forni LG, Hilton PJ. Continuous hemofiltration in the treatment of acute renal failure. N Eng J Med 1997;336:1303-9

17. Davenport A, Will EJ, Davidson AM. Improved cardiovascular stability during continuous modes of renal replacement therapy in critically ill patients with acute hepatic and renal failure. Crit Care Med 1993;21:328-38

18. Kellum JA, Angus DC, Johnson JP, Leblanc M, Griffin M, Ramakrishnan N, et al. Continuous versus intermittent renal replacement therapy : a meta-analysis. Intensive Care Med 2002;28:29-37

19. Tonelli M, Manns B, Feller-Kopman D. Acute renal failure in the intensive care unit : a systematic review of the impact of dialytic modality on mortality and renal recovery. Am J Kidney Dis 2002;40:875-85

20. Im J. Yeon K, Ham M, et al. Leptospirosis of the lung : radiographic findings in 58 patients. Am J Radiol. 1988;152:955-59

21. Marotto PF, Nascimento C, Eluf-Neto J, et al. Acute lung injury in leptospirosis : clinical and laboratory features, outcome and factors associated with mortality. Clin Infect Dis. 1999;29:1561-63

22. คิรีรัตน์ เรืองจุ้ย. Vascular access for hemodialysis ใน : สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกรียง ตั้งสง่า, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, บรรณาธิการ. หนังสือ Practical dialysis : Text and journal publication Co. Ltd. 2545, 192-197.

23. อดิศร วังคิรีไพศาล. Dialysis in critical care. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 2546:77-86