การตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ผการัตน์ แสงกล้า

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: อัตราตายปริกำเนิด เป็นดัชนีที่บ่งถึงประสิทธิภาพของการดูแลมารดาและทารก ระดับสุขภาพอนามัยของประชากรรวมถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ของชุมชน ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา อัตราตายปริกำเนิดยัง ค่อนข้างสูงและสาเหตุการตายปริกำเนิด ส่วนใหญ่จะเป็นสาเหตุการตายที่ สามารถป้องกันได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการตายปริกำเนิดในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2544
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของทารกตายปริกำเนิด ที่คลอดในโรงพยาบาล สุรินทร์ และคลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2544
ผลการศึกษา: ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2544 จำนวนทารกที่คลอด ในโรงพยาบาลสุรินทร์ และคลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 15,432 ราย มีทารกคลอดมีชีพ จำนวน 15,325 ราย ทารกตายคลอด 107 รายคิด เป็นอัตราตายคลอด 6.93 ต่อ 1,000 การคลอด ทารกแรกเกิดตายภายใน 7 วัน จำนวน 71 ราย อัตราตายของทารกแรกเกิดระยะด้น 4.63 ต่อ 1,000 การ คลอดมีชีพ ทารกตายปริกำเนิด 178 ราย คิดเป็นอัตราตายปริกำเนิด 11.53 ต่อ 1,000 การคลอด สาเหตุการตายปริกำเนิด ส่วนใหญ่เป็นการตายเปื่อย (ร้อยละ 33.71) กัดไป คือภาวะขาดออกซิเจนในระยะคลอด (ร้อยละ 25.28) สาเหตุ เฉพาะ (ร้อยละ 16.29) ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด (ร้อยละ 12.36) และความพิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 12.36)
สรุป: อัตราตายปริกำเนิด ในโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน 2544 เท่ากับ 11.53 ต่อ 1,000 การคลอด ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เล็กน้อย แนวทางแก้ไข เพื่อลดอัตราตายปริกำเนิด จะต้องปรับปรุงคุณภาพการดูแลในระยะตั้งครรภ์ การดูแลในระยะคลอด และการดูแลทารกแรกเกิด ให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ธราธิป โคละทัต. การเสียชีวิตของทารก แรกเกิด. ใน มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง และพิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมาร เวชศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2540 : หน้า 203-11

2. ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ และกำแหง จาตุรจินดา. การตายของทารกปริกำเนิด. ใน : ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, วินิต พัว ประดิษฐ์ และ สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์รามาธิบดี 1. นิพนธ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2539 : หน้า 61-86.

3. วิทยา ถิฐาพันธ์ และสายฝน ชวาลไพบูลย์. การตายของทารกปริกำเนิด. ใน : เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์มารดาและทารก. กรุงเทพฯ : สร้างสื่อและ อุษาการพิมพ์, 2544 : หน้า 329-38.

4. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. สถิติหลักต้านอนามัยแม่และเด็ก : รายงานเบื้องต้น. สูติศาสตร์นรีเวชวิทยาสาร 2544 ; 10 : 20-26

5. ประพุทธ ศิริปุณย์. ทารกแรกเกิด คำ จำกัดความและภาพรวมของปัญหา. ใน : วันติ วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์ และสุรางภ์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ (ฉบับเรียบเรียงใหม่ เล่ม 2) กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2540 : หน้า 1-4

6. สมคิด สุริยเลิศ. การตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2540 ; 12 : 31-39.

7. นลินี เดียววัฒนาวิวัฒน์. การตายปริกำเนิดในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช พ.ศ. 25352537. วารสาร แพทย์เขต7 2538 ; 14 : 24-32.

8. แผนพัฒนาสาธารณสุข ในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544, ส่วนที่ 4 แผนงาน/โครงการ จำแนกตามสาขา ; ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรค : หน้า 73-317 : คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ด้านสาธารณสุข.

9. World Health Organization. International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems. Tenth Revision. Geneva, 1992.

10. J.s. Wigglesworth. Monitoring Perinatal Mortality A Pathophysiological Approach. Lancet 1980 ; 2 : 684-6.

11. สมบูรณ์ สมหล่อ. อัตราตายทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า พ.ศ. 25352539. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2540 ; 14 : 4-14.

12. Vilai Ratrisawadi, Sunthom Horpaopan, Uraiwan Chotigeat, et al. Perinatal-Neonatal and Weight Specific Neonatal Mortality in Thailand in 1996 and Comparison with 1976 and 1986 : A Hospital Based study. J Med Assoc Thai 1998 ; 81 (7) 506-10

13. Horpaopan S, Puaponh Y, Ratrisawadi V, et al. Perinatal Mortality at Childrens and Rajvithi Hospitals in 1983-1987. J. Med Assoc Thai 1993 ; 72 (2) : 119-29.

14. ปพันธ์ พิมุ. การตายปริกำเนิดที่สถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและ โรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ. 2540. วิทยานิพนธ์เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ สถาบันฝึกอบรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร ; 2541.

15. ชาตรี ตันติยวรงค์, ภาวิณี กาญจนถวัลย์. การตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาล มะการักษ์ในปีงบประมาณ 2535-2537. วารสารแพทย์เขต 7 2538 ; 1 : 15-23.

16. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2536.

17. ประสงค์ วิทยภาวรวงศ์. การตายของทารก ปริกำเนิดโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 25352539. กุมารเวชสารก้าวหน้า 2541 ; 5 : 41-51.

18. กิตติ วัฒนากุล. การตายของทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวกระหว่างเดือน ตุลาคม 2532 ถึงเดือนกันยายน 2535. วารสารแพทย์เขต 7 2536 ; 12 : 113-19.

19. วิชัย วัชรปรีชาสกุล. การตายของทารกปริ กำเนิดในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 7 2539 ; 15 : 105-11.

20. ศูภวิทย์ มุตตามระ. Intervention of Intrauterine Asphyxia. ใน : ธราธิป โคละทัต และ สุนทร อ้อเผ่าพันธ์, บรรณาธิการ. Neonatology for Pediatrician. กรุงเทพฯ : พี. เอ. ลีฟวิ่ง ; 2542. หน้า 14-25.

21. นราธิป โคละทัต. Neonatal Resuscitation : Clues of Success. ใน ธราธิป โคละทัต และ สุนทร อ้อเผ่าพันธ์, บรรณาธิการ. Neonatology for Pediatricians. กรุงเทพ ฯ : พี. เอ. ลิฟ วิ่ง ; 2542. หน้า 60-77

22. ภาวิณี กาญจนถวัลย์. การจัดทีมดูแลทารก ที่อาจมีภาวะวิกฤตในโรงพยาบาลมะการักษ์. วารสารแพทย์เขต 7 2538 ; 4 : 331-38

23. เยื้อน ตันนิรันดร และธิระ วัชรปรีชานนท์. การวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะทารก บวมน้ำในครรภ์. ใน : เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทารกในครรภ์. กรุงเทพมหานคร : โอเอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ ; 2540, หน้า 438-58.

24. สุกัญญา ทักษพันธ์. Neonatal Sepsis and Meningitis. ใน: ธราธิป โคละทัต และสุนทร อ้อเผ่าพันธ์, บรรณาธิการ. Neonatology for Pediatrician. กรุงเทพฯ : พี. เอ. ลิฟวิ่ง ; 2542. หน้า 161 -71.

25. เยื้อน ตันนิรันดร. หัตถการในการวินิจฉัย ทารกก่อนคลอด. ใน : เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทารกในครรภ์. กรุงเทพมหานคร : โอเอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ ; 2540, หน้า 116-52.