การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหาร (กรณีศึกษา)

Main Article Content

อมรรัตน์ ปานะโปย

บทคัดย่อ

ความเป็นมาของปัญหา: มะเร็งหลอดอาหารพบเป็นอันดับ 8 ของมะเร็งทั่วโลก เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาด้วยการผ่าตัด มีโอกาสเกิดภาวะ แทรกซ้อนได้สูง การพยาบาลหลังการผ่าตัดที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย
วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหาร และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งหลอดอาหารที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2549 จำนวน 2 ราย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการผ่าตัดโดยเปิดผ่านช่องทรวงอกและช่องท้อง ระยะ เวลาผ่าตัดนาน 3 ชั่วโมง 30 นาที และ 5 ชั่วโมง ตามลำดับ เสี่ยงต่อการ เปลี่ยนแปลงของระบบการหายใจและการไหลเวียนโลหิตได้เฝ้าระวังและติดตาม การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต โดยใส่ Arterial line เพื่อวัดและ ติดตามความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง ลดอาการปวดแผลหลังผ่าตัด โดยได้รับยา ระงับปวด หยดต่อเนื่องผ่านทางช่องไขสันหลังเหนือดูรา พบว่าผู้ป่วยรายที่ 1 มีภาวะความดันโลหิตสูง และมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้รับยาลด ความดันโลหิตและยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำชนิดบางส่วน ได้นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการ ปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับแผนการรักษา รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อพ้น ระยะวิกฤตจึงย้ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ในวันที่ 5 และวันที่ 3 หลังผ่าตัดตามลำดับ จนอาการดีขึ้นจึงจำหน่ายกลับบ้าน รวมเวลานอนโรงพยาบาล 17 และ 21 วัน ตามลำดับ
สรุป: การเตรียมความพร้อม/การมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว ตั้งแต่แรกรับ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา รวมทั้งการเฝ้าระวัง ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้องรวดเร็วจะช่วยป้องกัน และลดความ รุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนได้
คำสำคัญ: การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด มะเร็งหลอดอาหาร การดูแลตนเอง การมีส่วนร่วม ของครอบครัว

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. จุมพล วิลาศรัศมี. Neoplasms of the Esophagus. ใน : สิโรจน์ กาญจนปัญจพล, จักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ์, จุมพล วิลาศรัศมี, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์ทั่วโป หน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไปสาย B. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ กรุงเทพเวชสาร; 2548. 395.

2. ธนพล ไหมแพง. Carcinoma of Esophagus. ใน : สัทธจิตร ลีนานนท์, วิชัย วาสนสิริ, สุมิต วงศ์เกียรติขจร, วัชรพงษ์ พุทธิสวัสดิ์, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 23. Current Practice in Clinical Surgery. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท โฆษิตการพิมพ์ จำกัด; 2546. 519.

3. สุภาพ อารีเอื้อ, สมพร ชินโนรส. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร. ใน: สมพรชินโนรส. การพยาบาลทางศัลยศาสตร์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด; 2546. 128-9.

4. http://siamca.com/Backup2002/3.19.html

5. http://www.ramaclinic.com/cancer0005.asp

6. http://www.anamai.moph.go.th/occmed /nes/complieso.html

7. พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์. Esophagogastrectomy. ใน : วิบุล สัจกุล, สรรชัย กาญจนลาภ, วัฒนา สุพรหมจักร, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 17. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ กรุงเทพเวชสาร; 2542. 116

8. ปราณี ทู้ไพเราะ. การผันแปรออกซิเจนและการระบายอากาศ การพยาบาลทางอายุรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท ลีฟวิ่งทรานส์ มีเดีย จำกัด; 2543. 159-60.

9. วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล สหประชาพาณิชย์; 2544. 60-1.

10. สุติภรณ์ ณะช้อย. การพัฒนารูปแบบการ ประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่คาท่อช่วยหายใจ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต] สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.