ภาวะสุขภาพจิตของประชาชนในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ชุมนุม วิทยานนท์

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา: ปัจจุบันสังคมโลกรวมทั้งประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน แม้แต่ประชาชนในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ก็ประสบกับปัญหาดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีนโยบายส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตเพี่อให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดีขึ้น แต่เป็นการรองรับปัญหาได้บางส่วนเท่านั้น ดังนั้นการช่วยเหลือประชาชนที่ถูกวิธี คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือเกิดปัญหาน้อยที่สุด ซึ่งจะกระทำการป้องกันได้นั้น ต้องทราบภาวะสุขภาพจิตของประชาชนก่อนว่าอยู่ระดับใด เพี่อเป็นฐานในการศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิตต่อไป
วัตถุประสงค์: เพี่อสำรวจภาวะสุขภาพจิตของประชาชนในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร: ประชาชนที่มีอายุ 20-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 390 คน โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบหลายชั้น (Multi Stage Sampling)
วิธีการวิจัย: เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตโดยปรับจากแบบสอบถาม ของอภิชัย มงคล และคณะ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ปี 2544 วิเคราะห์ความเชื่อมั่นได้ 0.8170
ผลการศึกษา: ภาวะสุขภาพจิตของประชาชน ในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยส่วนใหญ่ มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 40.7 ภาวะสุขภาพจิตอยู่ ในระดับดีกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 32.1 และมีภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 27.2
สรุป: ภาวะสุขภาพจิตโดยส่วนใหญ่ของประชาชนในอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในระดับเท่ากับคนทั่วไป ซึ่งถ้ามีการส่งเสริมและป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ที่ดีย่อมส่งผลให้ประชาชนมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Murray J.L. and Lopez A.D. The global burden of disease : a comprehensive assessment of mortality and disability from diseases, injuries, and risk factors in 1990 and projected to 2020. Cambridge: MA : Cambridge University Press, 1996.

2. Zubrick, S.R., Sibur, S.R, Vimpani, G. and Williams, A.A. Emergent demand for measurement Indicators of social and family functioning. In Press, 1999. 85-96.

3. ชัชวาล ชาติสุทธิชัย. กร ทัพรังสี หนึ่งปีกับการพัฒนาสาธารณสุข. นนทบุรี : องค์การรับส่งสินค้าและ,พัสดุภัณฑ์ ; 2543. 28-56.

4. กรมสุขภาพจิต. แผนพัฒนาสุขภาพจิตในช่วงครึ่งหลังของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2543-2544). นนทบุรี : สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต; 2542. 29-43.

5. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. สุขภาพคนไทย ปี พ.ศ. 2543 : สถานะสุขภาพคนไทย. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน; 2543.

6. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สุขภาพคนไทย ปี 2543 : ฝ่าวิกฤตสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์; 2543. 56-91.

7. อภิชัย มงคล และคณะ. สุขภาพจิตคนไทย : มุมมองของประชาชนชาวอีสาน. ขอนแก่น : พระธรรมขันธ์; 2544. 49-124.

8. ประยูรศรี สูยะศุนานนท์. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูจันทร์เกษม ; 2521.

9. พุทธทาสภิกขุ. คู่มือมนุษย์ ฉบับ 3 ภาษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา ; 2549. 20-141.