ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Sirilak Wattana

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง เพื่อศึกษาสาเหตุ ของโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อัตราการเพาะเชื้อชื้นจากอุจจาระ ที่ส่งไปเพาะเชื้อที่ห้องปฏิบัติการและความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อที่เพาะชื้น ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: ประซากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงทุกรายที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 ถึง 31 มีนาคม 2550 เพื่อศึกษาข้อมูลสถิติผู้ป่วยและสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง จากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยศึกษาจากบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนและ ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์โรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปและข้อมูล เฉพาะสำหรับโรคอุจจาระร่วง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในช่วงเวลาดังกล่าวจำนวน 3,652 คน เป็นเพศขาย 1,589 คน ร้อยละ 43.49 เพศหญิง 2,064 คน ร้อยละ 56.51 ตามลำดับ โดยเป็นผู้ป่วยเด็ก 2,311 คน ร้อยละ 63 ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวโนโรงพยาบาล 1,022 คน ร้อยละ 27.98 อัตราการเพาะเชื้อชื้นในผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวโนโรงพยาบาลเท่ากับ 22.4% และในผู้ป่วยนอกอัตราการเพาะเชื้อชื้นเท่ากับ 4.1% เชื้อแบคทีเรียที่พบ มากที่สุด คือ Vibrio parphaemolyticus, Acinetobacter hydrophila, Vibrio cholera (Inaba) minicus คิดเป็นร้อยละ 51, ร้อยละ 20, ร้อยละ 8 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าเชื้อแบคทีเรียที่เพาะเชื้อไวต่อยา Norfloxacin ร้อยละ 40.1 รองลงมา คือ ยา Cefotaxime 20.4 และไวต่อยา Ciprofloxacin ร้อยละ 8.3 อัตราการ ใช้ยาปฏิชีวนะพบว่าใกล้เคียงทั้งกลุ่มที่เพาะเชื้อชื้นและเพาะเชื้อไม่ชื้น '
สรุป: สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อแบคทีเรียของคนไข้ที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลหนองบุญมากที่พบบ่อยที่สุด คือ จากเชื้อ Vibrio parphaemolyticus ร้อยละ 26.5 อัตราการเพาะอุจจาระชื้นเชื้อเท่ากัน : อุจจาระร่วง, เชื้อแบคทีเรีย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา, รายงานเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงรายปี รายเดือน รายจังหวัด ปี พ.ศ. 2545. นนทบุรี : สำนัก ระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2545.

2. กรมควบคุมโรคติดต่อ, กรมอนามัย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระอย่างแรง. ธวัช จายนียโยธินและคณะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย ; 2542

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2549. สถานการณ์โรคเฝ้า ระวังทางระบาดวิทยา ปี 2549 จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 2549.

4. คณะผู้จัดทำแนวทางปฏิบัติการรักษา โรค อุจจาระร่วงเฉียบพลัน ใน : อุไรวรรณ โชติเกียรติ, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติ กุมารแพทย์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท วัวน้ำ พริ้นติ้ง จำกัด ; 2545. 101-26

5. ชุษณา สวนกระต่าย. แนวทางการรักษา Acute Infectious Diarrhea ใน : วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. Clinical Practice Guideline in Medicine. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ ; 2544. 312-29