การศึกษาสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2547-2549

Main Article Content

Visit Tosiri

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็ก อัตราตายของทารกตายปริกำเนิด จำแนกสาเหตุการตายโดยวิธีของ wigglesworth และอัตราการตายของมารดา ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในปีงบประมาณ 2547-2549
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาข้อมูลย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการคลอด ก 1 และรายงานการตาย ก 2 ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 - กันยายน 2549
ผลการศึกษา:1) สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กพบว่าร้อยละทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัว น้อยกว่า 2,500 กรัม สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ไม่เกินร้อยละ 7) คือ ในปีงบประมาณ 2547, 2548 และ 2549 เท่ากับร้อยละ 11.0, 12.3 และ ร้อยละ 11.2 ตามลำดับ ลำหรับอัตราการตายของมารดา ปีงบประมาณ 2547 สูงถึง 32.9 ต่อแสนการเกิดมีชีพ ในปีงบประมาณ 2548 ไม่มีการตาย และในปีงบประมาณ 2549 ได้ลดลงเป็น 17.2 ต่อแสนการเกิดมีชีพ อัตราการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ลดลงจนต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ไม่เกิน 30 ต่อพันการเกิดมีชีพ) ในปีงบประมาณ 2547, 2548 และ 2549 เท่ากับ 47.4, 36.2 และ 27.8 : 1,000 การเกิดมีชีพตามลำดับ อัตรามารดามีบุตร เมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปี อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด (ไม่เกินร้อยละ 10) คือ ปีงบประมาณ 2547, 2548 และ 2549 เท่ากับ ร้อยละ 9.60, 10.7 และ ลดลงเป็นร้อยละ 8.5 ตามลำดับ
2) อัตราตายทารกปริกำเนิดของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ในปีงบประมาณ 2547, 2548 และ 2549 พบว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ไม่เกิน 9 : 1,000 การเกิดมีชีพ) คือเท่ากับ 12.5, 10.5 และ 10.3 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพตามลำดับเมื่อจำแนก สาเหตุการตายปริกำเนิด โดยวิธีของ wigglesworth พบว่ามีสาเหตุจากการ ตายเปื่อยยุ่ยมากที่สุด ร้อยละ 49.09 รองลงมาเป็นพิการแต่กำเนิด ร้อยละ 19.1 ที่เหลือมีภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด ร้อยละ 18.2 คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 7.3 สาเหตุเฉพาะ ร้อยละ 6.4 ตามลำดับ
คำสำคัญ: การตายของมารดา, ทารกปริกำเนิด, จำแนกสาเหตุการตายโดยวิธีของ wigglesworth

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สายทอง ขาวสวน. สาเหตุและปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับการตายปริกำเนิดในโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2533-2535. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาเอก อนามัยครอบครัวภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2537. 1

2. Wiggleworth JS. Monitoring Perinatal Death. A Pathophysiological Approch. Lancet 1980 Sep 27 ; 2 (8196) : 684-6.

3. สานิต พ่วงพันธ์. การตายของทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลสระบุรี ตุลาคม 2533 - กันยายน 2537. วารสารวิชาการเขต 10. 2540 ; 5 : 33-40.

4. กำแหง จาตุรจินดา, ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์. การตายของทารกปริกำเนิด. ใน : สูติศาสตร์รามาธิบดี กำแหง จาตุรจินดา และคณะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เมดิคัลมีเดียว ; 2530 : 59-73.

5. สุนทร อ้อเผ่าพันธ์. การตายของทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลเด็กและโรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ. 2534. วารสารวิชาการเขต 12 2541 ; 2 : 79-85.

6. Donnelly JF, et al. Fetal, Parental and Environmenttal Factorss Assosiated with Perinatal Motality in Mothers under 20 years of Age. AMJ Obtet Gynecol 1960 ; 80 : 663-71.

7. ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดี และกำแหง จารุจินดา. การตายของทารกปริกำเนิด. ใน : ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดี, วินิต พัวประดิษฐ์, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์รามาธิบดี 2. กรุงเทพมหานคร : โอลิสติกพับลิชซิ่ง ; 2540. 68 - 9.

8. สุรศักดิ์ ฐานีพานิชกุล. “สถานการณ์การตายของทารกปริกำเนิดของประเทศไทยในปัจจุบัน”. (การอบรมระยะสั้น ครั้งที่ 3 วิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย. 7-9 พฤษภาคม 2534). 12.