การวิเคราะห์การถ่ายฟิล์มซ้ำ ในงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

Bungonrat Tianyanee

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิเคราะห์การถ่ายฟิล์มซ้ำในงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ คือ หาอัตราและสาเหตุของการถ่ายฟิล์มเสียจากการถ่ายภาพรังสีเพื่อลดและป้องกันการถ่ายฟิล์มซ้ำ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบไปข้างหน้า (Prospective study) ระหว่างเดือนเมษายน 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2550 ข้อมูลที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย ชนิดของการตรวจ ห้องที่ใช้ถ่ายฟิล์มจำนวนและขนาดของฟิล์มที่ถ่าย จำนวนและขนาดของฟิล์มที่ถ่ายซ้ำ และสาเหตุของการถ่ายฟิล์มซ้ำ โดยแบ่งกลุ่มสาเหตุของการถ่ายฟิล์มซ้ำดังต่อไปนี้ คือ การตั้งเทคนิคไม่ดี (Exposure fault) เครื่องล้างฟิล์มขัดข้อง (Processing fault) ผู้ป่วยไม่ร่วมมือ (Patient motion) การจัดท่าไม่ดี (Positioning fault) เครื่องเอกซเรย์ขัดข้อง (Equipment fault) และอื่น ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) อธิบายเป็นจำนวนร้อยละ
ผลการศึกษา: ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 6,412 ราย จำนวนครั้งการถ่ายฟิล์ม เอกซเรย์ 73,909 ครั้ง จำนวนฟิล์มทั้งหมด 93,900 แผ่น พบว่าอัตราของการ ถ่ายฟิล์มซ้ำพบร้อยละ 3.70 และจากการวิเคราะห์อัตราของการถ่ายฟิล์มร้าใน 6 เดือนแรก พบว่ามีแนวโน้มลดลง โดยอัตราของการถ่ายฟิล์มซ้ำเฉลี่ยร้อยละ 4.41 และใน 6 เดือนหลัง พบเฉลี่ยร้อยละ 3.54 สาเหตุที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจาก มีการเตรียมและตรวจสอบความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีการพัฒนา ความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สาเหตุของการถ่ายฟิล์มซ้ำที่พบ มากที่สุด คือ การตั้งเทคนิคไม่ดี รองลงมา คือ การจัดท่าไม่ดี และเครื่องล้างฟิล์มขัดข้อง พบร้อยละ 38.04, 27.40 และ 16.76 ตามลำดับ ส่วนของร่างกาย ที่ถ่ายฟิล์มซ้ำมากที่สุด คือ ทรวงอก พบร้อยละ 4.14 รองลงมา คือ กระดูกสันหลัง ร้อยละ 3.85 และกะโหลกศีรษะ ร้อยละ 3.79 จากการวิเคราะห์สาเหตุ ของการถ่ายฟิล์ม จำนวนฟิล์มเสียทั้งหมด คิดเป็นเงินประมาณ 591,260 บาท
สรุปและวิจารณ์: การศึกษาครั้งนี้พบว่าสาเหตุของการถ่ายฟิล์มซ้ำส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งเทคนิค และการจัดท่าไม่ดี พบว่าเกิดจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นควรมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อลดอัตราและ สาเหตุของการเกิดฟิล์มเสียจากการถ่ายภาพรังสี ตลอดจนเป็นการลดค่าใช้จ่าย ให้กับโรงพยาบาลอีกทางหนึ่งด้วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Harrison, R. M., Clayton, C. B„ Day, M. J., Owen, J. P. and York, M. F. A Survey of Radiation Doses to Patients in Five Common Diagnostic Examinations. Br. J. Radio. 1983:56: 383-95.

2. Staniszewska, M. A. Diagnostic X-ray Examinations in Poland in 1986. Frequency and Type. Health Phys. 1993;64:591-3.

3. Supe, S. J., Lyer, P. S., Sasane, J. B., Sawant, S. G. and Shirva, V. K. Estimation and Significance of Patient Doses from Diagnostic X-Ray Practices in India. Radiat. Prot. Dosim. 1992 ; 43 : 209 - 11.

4. Rogers, K. D., Matthews, I. P. and Roberts, C. J. Variation in Repeat Rates between 18 Radiology Departments. Br. J. Radiol. 1987; 60 : 463 - 8.

5. Bassey, C. E., Ojo, O. O. and Akpabio, I. Repeat Profile Analysis in an X-Ray Department. J. Radiol. Prot. 1991;11: 179-183.

6. Mustafa, A. A., Vasisht, C. M. and Suma-rasekara, S. J. Analysis of Wasted X-ray Films: Experience in Two Kuwait Hospitals. Br. J. Radiol. 1987;60: 513-5.

7. Doddd, B. C. Repeat Analysis in Radiology: A Method of Quality Control. Can. J. Med. Radiat. Technol. 1983;14:37-40.