ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องจากการบาดเจ็บ : การใช้เอกซเรย์ Tangential views ในการช่วยวินิจนัยโรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญ: ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องจากการบาดเจ็บ คือ ภาวะที่มีลำไส้หรืออวัยวะภายในช่องท้องโผล่ยื่นออกมาผนังหน้าท้องบริเวณที่มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหน้าท้อง แต่ผิวหนังไม่มีการฉีกขาดจากการบาดเจ็บ นับเป็นโรคที่พบไม่บ่อย การวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเอกซเรย์ (plain abdomen) ปัจจุบัน นิยมใช้ Ultrasound และ Computed tomography scan เป็นหลักในการวินิจฉัยโรค
วัตถุประสงค์: การนำเอกซเรย์ทั่วไป โดยเฉพาะ Tangential view ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ในการช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นสำหรับโรคไส้เลื่อนผนังหน้าท้องจากการบาดเจ็บ
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: รายงานผู้ป่วย และทบทวนวรรณกรรม
ผู้ป่วย: ผู้บาดเจ็บไส้เลื่อนผนังหน้าท้องจากการบาดเจ็บที่ตรวจพบในโรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 4 ราย
ผลการศึกษา: ในช่วงระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2538-2548) พบผู้บาดเจ็บ 4 ราย ได้รับอุบัติเหตุ ทางรถจักรยานยนต์ ถูกกระแทกด้วยด้ามจับของรถจักรยานยนต์ (Handlebar-injury) บริเวณผนังหน้าท้องด้านหน้า ตรวจพบมีอาการปวดท้อง ฟกช้ำ บริเวณผนังหน้าท้อง และบวมขึ้นบริเวณที่บาดเจ็บ เอกซเรย์ทั่วไปพบมี dilated small bowel และ Tangential view ทุกราย พบมี bowel loop หรือ pocket of gas อยู่ในผนังหน้าท้อง มีผู้บาดเจ็บหนึ่งรายตรวจพบมีอาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่วมด้วย จากการขับรถจักรยานยนต์ชนกับรถยนต์ ทั้งหมดได้รับการเย็บ ซ่อมผนังหน้าท้องและเย็บซ้อมลำไส้ในรายที่มีการบาดเจ็บภายในช่องท้องผู้บาดเจ็บทั้ง 4 ราย ไม่พบผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
สรุป: ผู้บาดเจ็บที่มีไส้เลื่อนผนังหน้าท้องจากการบาดเจ็บจากการถูกกระแทกผนังหน้าท้องด้านหน้าโดยเฉพาะ Handlebar injury มักมีอาการปวดท้อง ฟกช้ำและบวมขึ้นที่บริเวณที่บาดเจ็บ บางรายพบมีอาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในช่องท้องร่วมด้วย การวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการเอกซเรย์ ทั่วไป ร่วมกับการใช้ Tangential radiographs เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคเป็นอย่างแรก
Article Details
References
2. Haimovici L, Papafragkou S, Kessler E, Angus G. Handlebar hernia : traumatic abdominal wall hernia with multiple enterotomies : a case report and review of the literature. J Pediatr Surg 2007; 42(3): 567-9
3. Netto FA, Hamillon P, Rizoli SB, Nascimento BJ, Brenneeman FD, Tien H, Trembay LN. Traumatic abdominal wall hernia : epidemiology and clinical implications. J trauma 2006; 61: 1058-61
4. Chanvitan A. Traumatic abdominal wall hernia: a case report. J Med Assoc Thai 1986; 69: 341-5
5. Panich V. Traumatic abdominal wall hernia. J Med Assoc Thai 1995; 78: 271-5
6. Marutkarakul M. Traumatic abdominal wall hernia: four cases and review of the literature. Thai J of Trauma 2006; 25(3): 165-74
7. Kubalak G. Handlebarhemia: case report and review of the literature. J Trauma 1994; 36(3): 438-9
8. Wood R, Ney A, Bubrick M. Traumatic abdominal wall hernia: a case report & review of the literature. American Surgeon 1988; 54(11): 648-51
9. Aquirre DA, Santosa AC, Casola G, Sirlin SB. Abdominal wall hernias: Imaging features, diagnostic pitfalls at multi-detector row CT. Radiographics 2005; 25(6): 1501-20
10. Lee GH, Cohen AJ. CTimaging of abdominal hernias. AJR 1993; 161(6): 1209-13
11. Damschen DD, Landercasper J, Cogbill TH, Stolee RT. Acute traumatic abdominal hernia: case reports. J Trauma 1994; 36(2): 273-6
12. Hodgson TJ, Collin MC. Anterior abdominal wall hernia: diagnosis by ultrasound and tangential radiographs. Clinical Radiology 1991; 44: 185-6
13. Lane CT, Cohen AJ, Cinat ME. Management of traumatic abdominal wall hernia. Am Surg 2004; 70(1): 94-5
14. Malangoni MA, Condon RE. Traumatic abdominal wall hernia. J Trauma 1983; 23(4): 356-7
15. Matsuo S, Okaola S, Matsumata T. Successful conservative treatment of a bicycle-handlebar hernia: report of case. Surg Today 2007; 37(4): 349-51
16. Losanoff JE, Richman BW, Johes JW. Handlebar hernia: Ultrasonography-aided diagnosis. Hernia 2002; 6(1): 36-8
17. Goliath J, Mittal V, Me Jonough J. Traumatic handlebar hernia: a rare abdominal wall hernia. J Pediatr Surg 2004; 39(10): 20-1
18. Brenneman FD, Boulanger BC, Antonyeh O. Surgical management of abdominal wall disruption after blunt trauma. J Trauma 1995; 39(3): 539-44
19. Talwar N, Natrajan M, Kumar S, Dargan P. Traumatic handlebar hernia associated with hepatic herniation: a case report and review of the literature. Hernia 2007; 11(4): 365-7
20. Mahajna A, Oter A, Krausz MM. Traumatic abdominal hernia associated with large bowel strangulation: case report and review of the literature. Hernia 2004; 8(1): 80-2
21. Belgers HJ, Hulsewe KW, Heeren PA, Hoofwijk AG. Traumatic abdominal wall hernia: delayed presentation in the two cases and a review of the literature. Hernia 2005; 9: 380-91