การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีการติดเชื้อในช่องท้องที่ตรวจไม่พบเชื้อก่อโรค: ทบทวน 5 ปี

Main Article Content

ดวงรัตน์ ตันรัตนานนท์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันการตรวจไม่พบเชื้อก่อโรคจากการเพาะเชื้อ (culture negative peritonitis)เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาและยังเป็นตัวชี้วัดคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในช่องท้องของผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง(peritonitis related peritoneal dialysis) ซึ่งทางโรงพยาบาลประสพปัญหาเรื่องตัวชี้วัดนี้สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานมาก
เป้าหมาย: เพื่อลดการตรวจไม่พบเชื้อก่อโรคจากการเพาะเชื้อ (culture negative peritonitis) ในภาวะติดเชื้อในช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (peritonitis related peritoneal dialysis)โดยพัฒนาเทคนิคการจัดเก็บน้ำยาล้างไตเพื่อเพาะเชื้อและวางแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางหน้าท้องในเดือนตุลาคม พ.ศ 2556 – เดือนกันยายน พ.ศ.2561 ที่เกิดภาวะติดเชื้อในช่องท้อง(peritonitis related peritoneal dialysis) คือซึ่งต้องพบ 2 ใน 3 ข้อต่อไปนี้ มีอาการแสดงของเยื่อบุช่องท้องอักเสบ พบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 100 ตัว/ไมโครลิตร หรือมี neutrophil มากกว่าร้อยละ 50 ในน้ำยาที่ค้างท้องอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และ ตรวจพบเชื้อก่อโรคจากการย้อมสีแกรมหรือการเพาะเชื้อ(หรือทั้งสองอย่าง)จากนั้นจะมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวผลการเพาะเชื้อ อัตราการการตรวจไม่พบเชื้อก่อโรคจากการเพาะเชื้อ (culture negative peritonitis) ผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในช่องท้องก่อนและหลังมีการปรับปรุงแนวทางการรักษาเพิ่มในแต่ละปีและมีการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยมีการติดเชื้อทางช่องท้องทั้งหมด 465 ครั้งในระยะเวลา 5 ปี จากผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องทั้งหมด 250 ราย เป็นผู้ป่วยชายร้อยละ 46 และผู้ป่วยหญิงคิดเป็นร้อยละ 54 โดยพบว่าเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกที่ก่อโรคมากที่สุดคือ staphylococcus epidermidis รองลงมาคือ staphylococcusaureus ส่วนเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ Escherichia coli และ Klebsiellapneumoniae ตามลำดับ ภายหลังการปรับปรุงเทคนิคการเก็บน้ำยาล้างไตเพื่อเพาะเชื้อและจัดทำแนวทางในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในช่องท้องพบว่าการตรวจไม่พบเชื้อก่อโรคจากการเพาะเชื้อ (culture negative peritonitis) ลดลงจากร้อยละ 58.1 เหลือเพียงร้อยละ 22.2 และมีtreatment failure จากร้อยละ 16.4 ลดลงเหลือร้อยละ12.5 และอัตราการเสียชีวิตจากร้อยละ 15.4 ลดลงเหลือร้อยละ 9.8
สรุป: การปรับเปลี่ยนเทคนิคในการการเก็บน้ำยาเพาะเชื้อและแนวทางการรักษาตาม ISPD guideline ช่วยลดการตรวจไม่พบเชื้อก่อโรคจากการเพาะเชื้อ (culture negative peritonitis) treatment failure และอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
คำสำคัญ: การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีการติดเชื้อในช่องท้อง การติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Pérez Fontan M, Rodríguez-Carmona A, García-Naveiro R, Rosales M, Villaverde P, Valdés F. Peritonitis-related mortality in patients undergoing chronic peritoneal dialysis. Perit Dial Int 2005;25(3):274-84.

2. Li PK, Szeto CC, Piraino B, de Arteaga J, Fan S, Figueiredo AE, et al. ISPD Peritonitis Recommendations: 2016 Update on Prevention and Treatment. Perit Dial Int 2016;36(5):481-508.

3. Oreopoulos DG, Tzamaloukas AH. Peritoneal dialysis in the next millennium. Adv Ren Replace Ther 2000;7(4):338-46.

4. Szeto CC, Wong TY, Leung CB, Wang AY, Law MC, Lui SF, Li PK. Importance of dialysis adequacy in mortality and morbidity of chinese CAPD patients. Kidney Int 2000;58(1):400-7.

5. Szeto CC, Chow KM, Wong TY, Leung CB, Wang AY, Lui SF, Li PK. Feasibility of resuming peritoneal dialysis after severe peritonitis and Tenckhoff catheter removal. J Am Soc Nephrol 2002;13(4):1040-5.

6. Fahim M, Hawley CM, McDonald SP, Brown FG, Rosman JB, Wiggins KJ, et al. Culture-negative peritonitis in peritoneal dialysis patients in Australia: predictors, treatment, and outcomes in 435 cases. Am J Kidney Dis 2010;55(4):690-7.

7. Szeto CC, Wong TY, Chow KM, Leung CB, Li PK. The clinical course of culture-negative peritonitis complicating peritoneal dialysis. Am J Kidney Dis 2003;42(3):567-74.

8. Sewell DL, Golper TA, Hulman PB, Thomas CM, West LM, Kubey WY, et al. Comparison of large volume culture to other methods for isolation of microorganisms from dialysate. Perit Dial Int. 1990;10(1):49-52.

9. Yoon SH, Choi NW, Yun SR. Detecting bacterial growth in continuous ambulatory peritoneal dialysis effluent using two culture methods. Korean J Intern Med 2010;25(1):82-5.

10. Holley JL, Moss AH. A prospective evaluation of blood culture versus standard plate techniques for diagnosing peritonitis in continuous ambulatory peritoneal dialysis. Am J Kidney Dis 1989;13(3):184-8.