ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ในโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์ จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาและวางแนวทางการป้องกันเพื่อชะลอไตเสื่อมในอนาคตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ของผู้ป่วยในเขตอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 และความชุกของภาวะไตวายเรื้อรังระยะต่างๆ ในผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกโรคไตเรื้อรัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ทำการศึกษา ทั้งหมด 1,210 ราย เมื่อคำนวณด้วยสมการ CKD-EPI พบผู้ป่วยมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ทั้งหมด 412 รายพบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 3-5 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปีจะมีความเสี่ยงเป็นภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.1 เท่า (95% CI 1.0-1.1) และกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น 1 หน่วย จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า (95% CI 1.3-2.1) นอกจากนี้พบว่ามีปัจจัยอื่นๆที่อาจจะมีผลต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังมากกว่าเพศชาย 1.5เท่า (95% CI 0.7-3.2)โรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า (95% CI 0.1-14.6) และโรคไขมันในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น 2.0 เท่า (95% CI 0.8-5.2)
สรุป: เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในพื้นที่ที่รับผิดชอบแล้วทำให้สามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วยเพื่อชะลอไตเสื่อม ไม่ให้เข้าสู่ระยะที่ต้องรับการบำบัดทดแทนไต และวางแนวทางป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่
คำสำคัญ: ภาวะไตวายเรื้อรัง การแบ่งระยะของไตวายเรื้อรังตามระดับของ eGFR
Article Details
References
2. Coresh J, Selvin E, Stevens LA, Manzi J, Kusek JW, Eggers P, et al. Prevalence of chronic kidney disease in the United States. Jama 2007;298(17):2038-47.
3. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. Thailand Renal Replacement Therapy Registry Report 2012 [ออนไลน์] 2555 [สืบค้น 27 ก.พ. 2558]. เข้าถึงได้จาก:URL:http://www.nephrothai.org/trt/ trt.asp?type=TRT&news_id=418
4. Chittinandana A, Chailimpamontree W, Chaloeiphap P. Prevalence of chronic kidney disease in Thai adult population. J Med Assoc Thai 2006; 89(Suppl 2):S112-20.
5. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25(5):1567-75.
6. Levey AS, Stevens LA, Schmid CH, Zhang YL, Castro AF, 3rd, Feldman HI, et al. A new equation to estimate glomerular filtration rate. Ann Intern Med 2009;150(9):604-12.
7. Domrongkitchaiporn S, Sritara P, Kitiyakara C, Stitchantrakul W, Krittaphol V, Lolekha P, et al. Risk factors for development of decreased kidney function in a southeast Asian population: a 12-year cohort study. J Am Soc Nephrol 2005;16(3):791-99.
8. Johnson RJ, Nakagawa T, Jalal D, Sanchez-Lozada LG, Kang DH, Ritz E. Uric acid and chronic kidney disease: which is chasing which? Nephrol Dial Transplant 2013;28(9):2221-8.
9. Verhave JC, Fesler P, Ribstein J, du Cailar G, Mimran A. Estimation of Renal Function in Subjects With Normal Serum Creatinine Levels: Influence of Age and Body Mass Index. Am J Kidney Dis 2005;46(2):233-41.
10. Shen Y, Cai R, Sun J, Dong X, Huang R, Tian S, et al. Diabetes mellitus as a risk factor for incident chronic kidney disease and end-stage renal disease in women compared with men: a systematic review and meta-analysis. Endocrine 2017;55:66–76.
11. Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) CKD Work Group. KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease. Kidney Int 2013; Suppl: 1-150.