เปรียบเทียบความปวดหลังผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการฝึกเทคนิคผ่อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง

Main Article Content

เยาวลักษณ์ หอมวิเศษวงศา
จิราภรณ์ ชวนรัมย์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เทคนิคผ่อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจเพื่อลดความปวดแผลหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องซึ่งเป็นแนวทางในการไม่ใช้ยาและแนะนำให้ผู้ป่วยได้มีการดูแลตนเองได้หลังผ่าตัดเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดและมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองเพื่อลดความปวดที่จะได้รับ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและจะได้เป็นการพัฒนาแนวทางในการเยี่ยมประเมินก่อนการผ่าตัดของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลบุรีรัมย์ต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความปวดหลังผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการฝึกเทคนิคผ่อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง
วิธีการศึกษา: เป็นการเปรียบเทียบความปวดหลังผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการฝึกเทคนิคผ่อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560
ผลการศึกษา: กลุ่มควบคุมมีความปวดหลังผ่าตัดเฉลี่ย ก่อนออกจากห้องพักฟื้นเท่ากับ 3.2 และกลุ่มทดลองเท่ากับ 3.0 หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงกลุ่มควบคุมมีความปวดหลังผ่าตัดเฉลี่ยเท่ากับ 8.0 และกลุ่มทดลองเท่ากับ 6.1 กลุ่มควบคุมมีความปวดหลังผ่าตัดเฉลี่ย หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมงเท่ากับ 4.8 และกลุ่มทดลอง เท่ากับ 3.3 กลุ่มควบคุมมีความปวดหลังผ่าตัดเฉลี่ยหลังผ่าตัด 72 ชั่วโมง เท่ากับ 2.6 และกลุ่มทดลองเท่ากับ 1.7 และเมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่า กลุ่มทดลองมีความปวดหลังผ่าตัดเฉลี่ยหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง หลังผ่าตัด 72 ชั่วโมง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: พบว่ามีความปวดหลังผ่าตัดเฉลี่ยหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง 48 ชั้วโมง และ 72 ชั่วโมง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมดังนั้นวิสัญญีพยาบาลสามารถนำเทคนิคผ้อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง นำไปใช้ในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด 1 วันเพื่อลดความปวดหลังผ่าตัด
คำสำคัญ: ความปวดหลังผ่าตัด การฝึกเทคนิคผ่อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กันตา โกสุมภ์. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต].คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

2. เจือกุล อโนธารมณ์. บทบาทของพยาบาลในการประเมินความปวด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2550;20(3):14-23.

3. สมพร ชินโนรส, มยุรี จิรภิญโญ, ขวัญจิต ปุ่นโพธิ์. ความปวด การจัดการกับความปวดและ ความพึงพอใจต่อการจัดการกับความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 15(3),327-343.

4. ศิริพร อุตสาหพานิช, โสภิดา ทัดพินิจ. ผลการสร้างจินตภาพต่อความปวดเฉียบพลันในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับการผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2554; 34(4).36-45.

5. ภาวดี วิมลพันธุ์. การดูแลอาการปวดแผลผ่าตัด[อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น 4 ธ.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.mfu.ac.th/school /nursing/admin/[4 ธันวาคม2559]

6. Bartz AE. Basic Statistical Concepts. 4th ed. New Jersey: Preentice – Hall; 1999.

7. ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. ฝึกหายใจคลายเครียด 2557. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น 1 ตค. 2559].เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.youtube.com/watch?v=j2nB3nGfFMk.

8. Potter PA, Perry AG. Fundamental of nursing. 6th ed. St.Louis: Mosby; 2004.

9. จิราภรณ์สิงหเสนี. ผลของโปรแกรมการจัดการกับความปวดต่อระดับความปวดและความพึงพอใจในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต].คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาการ
พยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2548.

10. สิรินยา พวงจำปา. การทบทวนวรรณกรรมวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉียบพลัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต].คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

11. สมฤทัย บุญชูดวง, วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, อำพรรณ จันทโรกร, วิรัตน์ วศินวงศ์. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการฝึกหายใจแบบมีประสิทธิภาพเพื่อเตรียมตัวก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555;27(2):139-46.