ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดตับอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากเห็ดป่า โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดตับอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากเห็ดป่า อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
กลุ่มศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอาหารเป็นพิษจากเห็ดป่า ในเขตอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
ระยะเวลาที่ศึกษา: 1 มกราคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยาย (Descriptive Statistics) และสถิติอนุมานในการประมาณค่าสัดส่วน (95% Confidence Interval:CI) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจีสติค (Multiple logistic regression) ในการหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับเกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลันนำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Relative risk และค่า 95%CI โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 128 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.4) อายุเฉลี่ย 50.5ปี มีโรคร่วมเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.8 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 7.8 และดื่มสุราร้อยละ 17.2 มีอาการทางระบบทางเดินอาหารมากกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 24.4 ระยะเวลาตั้งแต่รับประทานเห็ดจนถึงโรงพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 50.8 ผู้ป่วยมีจำนวนมากสุดในเดือนกรกฎาคม และตำบลโคกตะเคียนมีผู้ป่วยมากสุดใน 6 ตำบล กลุ่มตัวอย่างมีผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลันจากเห็ดป่า 17 คน เพศชายมีโอกาสเกิดตับอักเสบเป็น 2.7 เท่าเมื่อเทียบกับเพศหญิง (RR=2.7: 95%CI =1.1-6.8) ผู้ป่วยมีอาการทางระบบทางเดินอาหารเป็นพิษจากเห็ดป่าแล้วเกิดตับอักเสบเฉียบพลันมีอาการมากกว่า 6 ชั่วโมงเป็น 14.6 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่อาหารเป็นพิษน้อยกว่า6 ชั่วโมง (RRadj. 14.6: 95%CI= 1.3-163.4)
สรุป: ผู้ป่วยที่อาหารเป็นพิษจากเห็ดป่าแล้วเกิดตับอักเสบมีค่า ALP>128 IU/L เป็น 23.9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่อาหารเป็นพิษจากเห็ดน้อยกว่า 6 ชั่วโมง (RR=23.9:95%CI=2.9-194.6) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ: อาหารเป็นพิษจากเห็ด ตับอักเสบเฉียบพลัน รับประทานเห็ดพิษ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อิฏฐผล เอี้ยววงษ์เจริญ, แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเห็ด (Mycetism). [อินเตอร์เน็ท]. 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://wwwnno.moph.go.th/epidnan/downloads/handbooks/Mycetism-guideline-2557.pdf

2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจากเห็ด ประเทศไทย 2559:47;22:10 มิถุนายน 2559.

3. ศูนย์พิษวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. เห็ดพิษที่พบบ่อยในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ท]. 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก:URL: https://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/fact_sheet/6_60.pdf

4. Bonacini M, Shetler K, Yu I, Osorio RC, Osorio RW. Features of Patients With Severe Hepatitis Due to Mushroom Poisoning and Factors Associated With Outcome. Clin Gastroenterol Hepatol 2017;15(5):776-9.

5. Kim T, Lee D, Lee JH, Lee YS, Oh BJ, Lim KS, Kim WY. Predictors of poor outcomes in patients with wild mushroom-induced acute liver injury. World J Gastroenterol 2017;23(7):1262-7.

6. Eren SH, Demirel Y, Ugurlu S, Korkmaz I, Aktas C, Güven FM. Mushroom poisoning: retrospective analysis of 294 cases. Clinics (Sao Paulo. 2010;65(5):491-6.

7. Santi L, Maggioli C, Mastroroberto M, Tufoni M, Napoli L, Caraceni P. Acute Liver Failure Caused by Amanita phalloides Poisoning. Int J Hepatol 2012;2012:487480.

8. Chan CK, Lam HC, Chiu SW, Tse ML, Lau FL. Mushroom poisoning in Hong Kong: a ten-year review. Hong Kong Med J 2016;22(2):124-30.

9. Tintinalli JE, Stapczynski JS, Ma OJ, Cline DM, Yealy DM, Meckler GD. Tintinalli’s emergency medicine : a comprehensive study guide. 8th.ed. New York : McGraw-Hill, 2015.