ผลการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการทำกายอุปกรณ์สำหรับรยางค์ล่าง (ขาเทียม) และความพึงพอใจของผู้ป่วย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ:ในแต่ละปีมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องรับการผ่าตัดตัดขาเนื่องด้วยสาเหตุต่างๆ เช่นจากการประสบอุบัติเหตุ โรคระบบหลอดเลือดส่วนปลาย โรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่นๆ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ดังปกติ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเข้าสังคม รวมถึงผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียมและความพึงพอใจต่อขาเทียมที่ได้รับของหน่วยกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: ขออนุมัติการศึกษาวิจัยจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลสุรินทร์โดยทำการคัดเลือกอาสาสมัครตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออกติดต่ออาสาสมัครที่มาเข้ารับบริการที่กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุรินทร์ เพื่อเรียกผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัย อธิบายให้ทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย ระยะเวลาการสัมภาษณ์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และตอบข้อสงสัยของอาสาสมัคร ให้เวลาอาสาสมัครตัดสินใจโดยอิสระ ก่อนจะให้ความยินยอมในการสัมภาษณ์ สอบถามและบันทึกข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ อายุ เพศ โรคประจำตัว สาเหตุที่ทำให้ถูกตัดขา ระดับที่ถูกตัด อายุเมื่อถูกตัดขา ระยะเวลาหลังถูกตัดขา ระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียม ฯลฯ สอบถามรายละเอียดในด้านต่างๆ และความพึงพอใจในอุปกรณ์ขาเทียม บันทึกข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติสรุปผลการวิจัย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยตัดขาที่เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 11 ราย อายุเฉลี่ย 56 ปี เป็นผู้ชายทั้งหมด 11 ราย (ร้อยละ 100) ได้รับการตัดขาระดับใต้เข่า 8 ราย (ร้อยละ 72.7) พบว่าผู้ป่วยที่ใช้งานขาเทียมจริงในชีวิตประจำวันมีจำนวน 11 ราย (ร้อยละ 100) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในขาเทียมระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 90.9 ระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียมระดับเหนือเข่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.7 วัน ระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียมระดับใต้เข่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.9 วัน
สรุป: ระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียมระดับเหนือเข่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.7 วัน ระยะเวลาที่ใช้ในการทำขาเทียมระดับใต้เข่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.9 วัน ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยใช้ขาเทียมจริงในชีวิตประจำวัน และร้อยละ 90.9 มีระดับความพึงพอใจต่อขาเทียมที่ได้รับระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: ตัดขา ขาเทียม ความพึงพอใจ การใช้งานขาเทียม ประโยชน์ของขาเทียม กายอุปกรณ์
Article Details
References
2. Gauthier-Gagnon C, Grisé MC, Potvin D. Enabling factors related to prosthetic use by people with transtibial and transfemoral amputation. Arch Phys Med Rehabil 1999;80(6):706-13.
3. Seaman JP. Survey of Individuals Wearing Lower Limb Prostheses. J Prosthet Orthot 2010; 22(4):257-65.
4. Sarawanangoor P. The prostheses foundation's prosthetics uses and attitudes in 1996. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2539;13(2):113-27.
5. Legro MW, Reiber GD, Smith DG, del Aguila M, Larsen J, Boone D. Prosthesis evaluation questionnaire for persons with lower limb amputations: assessing prosthesis-related quality of life. Arch Phys Med Rehabil 1998;79(8):931-8.
6. Braddom RL. Rehabilitation and prosthetic restoration in lower limb amputation. In: Braddom RL, Chan L, Harrast MA, Kowalske KJ, Matthews DJ, Ragnarsson KT, et al., editors, Physical Medicine & Rehabilitation. 4th.ed. Philadelphia: Elsevier saunders; 2011: p. 289.
7. กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล, ชนินทร์ สุดโนรีกุล, ประภาพร ศิริทรัพย์. การศึกษาและติดตามการคงใช้ขาเทียมของโรงพยาบาลตำรวจ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2543;10(1):10-6.
8. Boonthai U, Kantaratanakul V, Jitorarhai C, Wiboonpanich S, Bunchorntavakul M. Influencing Factors in Usage of Lower Extremity Prostheses in Ramathibodi Hospital. J Thai Rehabil 1996;6(3):37-44.
9. จักกริช กล้าผจญ, วสุวัฒน์ กิตติสมประยูรกุล, กำพล พูลทาจักร, เทอดชัย ชีวะเกตุ. การชำรุดของขาเทียมใต้เข่าแบบแกนในที่ใช้เบ้า Thermoplastic. การประชุมวิชาการประจำปีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2548. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548: p. 82-3.