เปรียบเทียบมุมองศาการเคลื่อนไหวงอข้อเข่าระหว่าง hold relax และ passive stretching ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนก้านหัก หลังผ่าตัดใส่แกนดามกระดูก โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

เตือนใจ ไตรพิพัฒน์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการศึกษา: ทำการเปรียบเทียบมุมองศาการเคลื่อนไหวงอข้อเข่าแบบ passive range of motion ระหว่าง hold relax และ passive stretching ในผู้ป่วย กระดูกต้นขาส่วนก้านหัก หลังผ่าตัดใส่แกนดามกระดูก โรงพยาบาลสุรินทร์
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาผลของ hold relax และ passive stretching ต่อมุมองศา การเคลื่อนไหวงอข้อเข่า ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนก้านหัก หลังผ่าตัดใส่แกนดามกระดูก วันส่งปรึกษากายภาพบำบัด, วันนัดติดตามผลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
2. เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง hold relax และ passive stretching ต่อมุมการเคลื่อนไหวงอข้อเข่า ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนก้านหัก หลังผ่าตัด ใส่แกนดามกระดูก วันส่งปรึกษากายภาพบำบัด, วันนัดติดตามผลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
สถานที่: งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงทดลอง
วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนก้านหักหลังผ่าตัดใส่แกนดามกระดูก โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 48 คน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2547 ถึงเดือน กันยายน 2548 สุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม ที่ได้รับ passive stretching และกลุ่มทดลอง ได้รับ hold relax ทำการวัดมุมการเคลื่อนไหว งอข้อเข่า ก่อน-หลังการศึกษา ด้วยไม้รัดมุม แบบ passive range of motion และบันทึกข้อมูล วันส่งปรึกษากายภาพบำบัด, วันนัดติดตามผล ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
วิเคราะห์ทางสถิติ: เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาคำนวณทางสถิติใช้ Paired-Sample T-test เปรียบเทียบทางสถิติ ระหว่างค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ไม่เป็นอิสระ Independent- Sample T test เปรียบเทียบทางสถิติ ระหว่างค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่เป็น อิสระ กำหนดค่า P<0.05 โดยใช้ โปรแกรม SPSS for windows
ผลการศึกษา: พบการเปลี่ยนแปลงมุมองศาการเคลื่อนไหวงอข้อเข่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.05) วันส่งปรึกษากายภาพบำบัด, วันนัดติดตาม ผลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ส่วนค่าความแตกต่างเฉลี่ยมุมองศาการเคลื่อนไหวงอข้อเข่าระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่ม ทดลองเพิ่มขึ้น วันส่งปรึกษากายภาพบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)
สรุป: การรักษาโดยใช้เทคนิค hold relax วันส่งปรึกษากายภาพบำบัด สามารถเพิ่มมุมองศาการเคลื่อนไหวงอข้อเข่าได้ดีกว่า passive stretching ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาส่วนก้านหักหลังผ่าตัดใส่แกนดามกระดูก ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามุมการเคลื่อนไหวข้อเข่า
คำสำคัญ: relax , PROM.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. บรรจง มไหสวริยะ, บรรณาธิการ. การยึดตรึงกระดูกหักด้วยแกนดามกระดูก. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2542. หน้า 298.

2. Johnson KD. Femoral shaft fractures. In: Browner BD, Jupiter JB, Levine AM, Trafton PG, eds. Skeleton trauma. Philadelphia: WB Saunder, 1992: p. 1525.

3. วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม, อภิชัย คงเสรีพงษ์. ภาวะแทรกซ้อน. ใน : วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม, บรรณาธิการ. ตำราออร์โธปีดิคส์. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท ; 2539. หน้า 822.

4. เทอดชัย ชีวเกตุ. หลักการพื้นฟูสภาพ. ใน : วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม, บรรณาธิการ. ตำราออร์โธปิดิคส์. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท ; 2539. หน้า 90.

5. บรรจง มไหสวริยะ, วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม, ประจวบ บิณฑจิตต์. การบาดเจ็บต่อรยางค์ล่าง.ใน : วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม, บรรณาธิการ. ตำราออร์โธปิดิคส์. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท ; 2539. หน้า 1050.

6. Alkinson K, Coutts F, Hassenkamp A-M. Physiotherapy in Orthopaedics A Problem-Solving approach. London: Churchill Livingstone; 1999. p. 79.

7. เสมอเดือน คามวัลย์. การฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกหัก. ใน : เสก อักษรานุเคราะห์. บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทคนิค ; 2539. หน้า 723.

8. ธันย์ สุภัทรพันธุ์. Fracture dislocation of hip and femur. ใน : สมชัย ปรีชาสุข, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท, วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ. ออร์โธปิคิคส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โฆสิตการพิมพ์; 2538 . หน้า 190.