การประเมินโครงการโรงพยาบาลลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุรินทร์ ปี 2547

Main Article Content

จารุวรรณ เย็นเสมอ

บทคัดย่อ

เหตุผลของการประเมิน: ตามที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย 30 รักษาทุกโรค ตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงมีความจำเป็นที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งต้อง มีการพัฒนาคุณภาพบริการ เพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการเกิดความมั่นใจว่าสถานบริการทุกแห่งมีมาตรฐานการบริการที่เท่าเทียมกัน จึงได้มีการประเมินคุณภาพการบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก ตามมาตรฐาน โครงการ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” ในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดสุรินทร์
วัตถุประสงค์: การประเมินผลครั้งนี้ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและรับรองคุณภาพ บริการตามมาตรฐานโรงพยาบาลลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ในโรงพยาบาล ชุมชน
ขอบเขตการประเมิน: ครอบคลุมปัจจัยด้านเนื้อหา ความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติของผู้ให้บริการ และผู้มารับบริการในแผนกฝากครรภ์ ห้องคลอด หลังคลอด และทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชุมชน ตามคุณสมบัติ 11 ข้อ
สถานที่ประเมิน: โรงพยาบาลชุมชน 12 แห่ง ระหว่างเดือน สิงหาคม ถึง กันยายน 2547
กลุ่มตัวอย่าง: มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้บริการ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงพยาบาล, หัวหน้ากลุ่มงาน, ผู้ปฏิบัติงานในแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 219 คน และกลุ่มผู้รับบริการในโรงพยาบาล จำนวน 107 ราย
วิธีการประเมิน: ใช้การประเมินด้วยวิธีการพูดคุย ซักถาม สัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์มี 4 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับผู้อำนวยการ หรือผู้แทน ชุดที่ 2 สำหรับหัวหน้า กลุ่มงานพยาบาล แพทย์หัวหน้าโครงการ ชุดที่ 3 สำหรับผู้ให้บริการใน แผนกฝากครรภ์ ห้องคลอด หลังคลอด ทารกแรกเกิด และฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ ชุดที่ 4 สำหรับผู้เคยรับบริการในโรงพยาบาล วิเคราะห์ ข้อมูลหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย เกณฑ์การประเมิน ข้อ 1 ด้านนโยบาย ต้องผ่านเกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละ 100 ข้อที่ 2-11 ต้องผ่านเกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละ 75 ขึ้นไป
ผลการประเมิน: พบว่ามีงานบริการที่ผ่านเกณฑ์ คือ มีด้านโยบายการดำเนินงานชัดเจน การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอด และการดูแลหลังคลอดครบมาตรฐาน รองลงมาคือ มีทีมที่ปรึกษาแก่ผู้รับบริการที่มีปัญหา ร้อยละ 92.8 บุคลากรได้รับการอบรมเพิ่มทักษะ ร้อยละ 91.3 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 97.2 มีการดูแลทารกแรกเกิดครบมาตรฐาน ร้อยละ 87.5 ผู้รับบริการมีความรู้ในการดูแลมารดาและทารก ร้อยละ 86.5 และมีเครือข่าย บริการต่อเนื่อง ร้อยละ 75.0 งานบริการที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ คือ บริการ การคลอดครบมาตรฐาน เพียงร้อยละ 14.3 การดูแลทารกแรกเกิดในห้องคลอด ร้อยละ 51.4 การบริการฝากครรภ์ครบมาตรฐาน ร้อยละ 61.1 และหญิงตั้งครรภ์ได้รับการสอนก่อนคลอดโดยมีสามีและญาติเข้าร่วมด้วย ร้อยละ 74.3 และ 31.8 ตามลำดับ
สรุป: ผลการประเมิน พบว่า ยังไม่มีโรงพยาบาลใดผ่านเกณฑ์เป็นโรงพยาบาล ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามมีโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 แห่ง ที่ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข จากผลการประเมินเป็นที่น่าสังเกตว่า การดูแลหลังคลอดของโรงพยาบาลทุกแห่งยังคงมีการดำเนินการส่งเสริมการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก อยู่ส่วน งานบริการในห้องคลอดยังปฏิบัติไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ: ทางโรงพยาบาลต้องสร้างความตระหนักแก่บุคลากรให้ทำความเข้าใจด้าน คุณภาพมาตรฐานบริการ ตามแนวทางที่กำหนดในทุกแผนก ส่วนคุณสมบัติ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ควรมีคู่มือการปฏิบัติงานทุกแผนก และติดตั้งวิธีการ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ให้เห็นชัดเจนสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีที่จำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะบริการในห้องคลอด ควรมีระบบการป้องกันการติดเชื้อที่ดี มีทีมงานที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และควรมีการสำรวจ ความพึงพอใจของผู้มารับบริการแต่ละแผนกเป็นระยะๆ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. คณะกรรมการอำนวยการ จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549. นนทบุรี : คณะกรรมการ อำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข, 2544.

2. กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ . “การเฝ้าระวังสุขภาพหญิงตั้งครรภ์” เอกสาร ประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการ. เวที เส้นทางลูกรักระดับประเทศ ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพฯ, 5 - 6 สิงหาคม 2545. นนทบุรี : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2545.

3. กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. คู่มือผู้ประเมินโรงพยาบาลลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย สำหรับโรงพยาบาลชุมชน. นนทบุรี : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2543.

4. กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. เกณฑ์การให้คะแนนประเมินโรงพยาบาลลูกเกิด รอดแม่ปลอดภัย สำหรับโรงพยาบาลชุมชน. นนทบุรี : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย, 2543.

5. ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไอ เอ็น เอส, 2545.

6. ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 5 นครราชสีมา. แม่สวย สุขภาพดี มีลูกรัก. นครราชสีมา : อุบลยงสวัสดิ์ ออฟเซท, 2543.

7. กรมอนามัย. คู่มือวิทยากรโรงเรียนพ่อ-แม่ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 นนทบุรี : กรมอนามัย, ม.ป.ป.

8. กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ . แนวทางปฏิบัติด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกัน และเฝ้าระวังการเจ็บป่วย หญิงมีครรภ์และเด็กแรก เกิด-5ปี เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : ไอ เอ็น เอส, 2545

9. กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. การบริหารจัดการคลินิกนมแม่สำหรับโรงพยาบาลทุกระดับ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2547.

10. องค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟ. ปกป้องส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลปการพิมพ์, ม.ป.ป.

11. กรมอนามัย สำนักล่งเสริมสุขภาพ. หลักการการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2545.