ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อลำคอส่วนลึก (Deep neck infection) เป็นการอักเสบติดเชื้อในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มลำคอถึงแม้ปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างกว้างขวางแต่ยังสามารถพบการติดเชื้อได้มาก และสามารถลุกลามทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงลักษณะของการติดเชื้อลำคอส่วนลึก โดยศึกษาข้อมูลประชากรของผู้ป่วย สาเหตุของการติดเชื้อ โรคและภาวะที่พบร่วม ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ระยะเวลานอน โรงพยาบาล วิธีการรักษา ภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลบุรีรัมย์เปรียบเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมา และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ( Retrospective study) โดยศึกษาจากการทบทวนเวชระเบียน ผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 350 คนพบในเพศชายมากกว่า (ร้อยละ 58.3) พบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบมากที่สุดช่วง 61-70 ปี (ร้อยละ 17.1) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.6 วัน ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดบวมที่คอหรือใบหน้า (ร้อยละ 72) รองมาด้วยอาการไข้ (ร้อยละ 32.9)โดยสาเหตุของการติดเชื้อมาจากปัญหาช่องปากและฟันมากที่สุด (ร้อยละ 49.7) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง(ร้อยละ 16.6) รองลงมาคือเบาหวาน (ร้อยละ 12.6) พบเป็นการติดเชื้อที่ submandibular space มากที่สุด (ร้อยละ 32.3) ผลการเพาะเชื้อแบคทีเรียชนิด aerobe พบเป็นเชื้อ Klebsiella pneumoniaeและเชื้อ Staphylococcus epidermidisมากที่สุดส่วนใหญ่รักษาด้วยการให้ยาปฎิชีวนะร่วมกับการผ่าตัด (ร้อยละ 68.6)การให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการเจาะดูดรักษาได้ผลดีในคนไข้บางราย (ร้อยละ 14) ภาวะทางเดินหายใจอุดตันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 14) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย(ร้อยละ 0.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ป่วยที่ติดเชื้อหลายตำแหน่ง โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนอนโรงพยาบาลนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การมีภาวะแทรกซ้อน ,มีโรคประจำตัวเบาหวาน, มีภาวะ anemia หรือมีการติดเชื้อหลายตำแหน่ง
สรุป: การติดเชื้อลำคอส่วนลึกยังพบเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากช่องปากและฟัน โดยควรระมัดระวังในผู้ป่วยสูงอายุและ ผู้ป่วยที่ตรวจพบการติดเชื้อหลายตำแหน่งเนื่องจากสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า การรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าตัดยังเป็นวิธีการรักษาที่สำคัญ อย่างไรก็ตามพบว่าการเจาะดูด เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาในผู้ป่วยบางรายได้
คำสำคัญ: การติดเชื้อลำคอส่วนลึก ภาวะแทรกซ้อน
Article Details
References
Kinzer S, Pfeiffer J, Becker S, Ridder GJ. Severe deep neck space infections and mediastinitis of odontogenic origin: clinical relevance and implications for diagnosis and treatment. Acta Otolaryngol 2009;129:62-70
Poeschl PW, Spusta L, Russmueller G, Seemann R, Hirschl A, Poeschl E, et al. Antibiotic susceptibility and resistance of the odontogenic microbiological spectrum and its clinical impact on severe deep space head and neck infections. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod. 2010;110:151-6
Kongtangchit P. Deep neck infection : Comparison of clinical course and outcome between diabetic and non-diabetic patients. Thai J Otolaryngol Head Neck Surg 2013;14:35-51.
Surapol S, Wisoot R, Seksun C, Patorn P, Deep Neck Infection in Adults: Factors Associated with Complicated Treatment Outcomes J Med Assoc Thai 2017;100:179-188
Philipp K, Robert C, Markus T, Christian S, Rainer L, Deep neck infections: A single-center analysis of 63 cases, Med Oral Patol Oral Cir Bucal. 2017;22(5):536-41
Parhiscar A, and Har-EI G. “Deep Neck Abscess: A Retrospective Review of 210 Cases.” The Annals of Otology, Rhinology, and Laryngology . 2001,110(11):1051–54.
บุญชัย วิรบุญชัย. Deep Neck Infection in Surin Hospital. วารสารทางการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2544;24(7):173-180
วุฒิเวช จรัสมานะโชติ. Retrospective Study of Deep Head and Neck Infection in Chaoprayayomraj Hospital. วารสารแพทย์เขต 4-5 2556;32(3):201-12
Boscolo-Rizzo P, Marchiori C, Montolli F, Vaglia A, Da Mosto MC. Deep neck infections: a constant challenge. ORL J Otorhinolaryngol Relat Spec 2006;68:259-65.
Daramola OO, Flanagan CE, Maisel RH, Odland RM. Diagnosis and treatment of deep neck space abscesses. Otolaryngol Head Neck Surg. 2009;141:123-30.
ชวน ชีพเจริญรัตน์. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและการเสียชีวิตในโรงพยาบาลประชานุเคราะห์. Thai J Otolaryngol Head Neck Surg, 2017,18(1):44-55
พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. การอักเสบติดเชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. Vajira Med J. 2018;62(5):365-74
Wongnijasil C. “Deep Neck Abscess Clinical Review at Khon Kaen Hospital.” Khon Kaen Hospital Medical Journal ,2008;(32):147–54.
Nikakhlagh S, Rahim F, Saki G, et al. Deep Neck Infections : a case study of 12-year. Asian J Biol Sci. 2010;3(3):128-33.
Paolo BR, Marco S, Enrico M, Monica M, Roberto F, Valentina L, Franco T, Maria C, Deep neck infections: a study of 365 cases highlightingrecommendations for management and treatment. Eur Arch Otorhinolaryngol. 2012,269:1241–1249
Kanthong, Sathit. Retrospective Study of Incidence and Treatment Outcome of Deep Neck Infection and Facial Space Abscess for 491 Patients at Chaiyaphum Hospital During 1999 to 2007. Khon Kaen Hospital Medical Journal 2018;32:153-64