การเปรียบเทียบภาวะโลหิตจางก่อนและหลังให้การส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลจัตุรัส

Main Article Content

อาภาพร ศีระวงษ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ความชุกโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ประเทศไทยพบสูงเกินเป้าหมายและมีแนวโน้มสูงขึ้น โลหิตจางมีผลกระทบต่อมารดาและทารก ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ในระยะคลอดและหลังคลอด ตลอดจนทำให้อัตราตายเพิ่มมากขึ้นมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของสมองเด็กการส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางลดลงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบภาวะโลหิตจางก่อนและหลังให้การส่งเสริมโภชนาการ
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มก่อนและหลังกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลจัตุรัส ตรวจเลือดครั้งที่ 1 ความเข้มข้นของเลือด <33% จำนวน 30 ราย เครื่องมือในการดำเนินการทดลอง 3 ส่วนคือ แผ่นพับ ภาพพลิกและโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการป้องกันโลหิตจาง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Paired sample t-test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีผลเฉลี่ยของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง hematocrit (Hct) ก่อนการส่งเสริมโภชนาการเท่ากับ 29.87 และหลังการส่งเสริมโภชนาการเท่ากับ 33.37 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าผลเฉลี่ยของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -8.804,p<0.00)
สรุป: หลังให้โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการนั้นพบว่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการให้โปรแกรม จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในหน่วยฝากครรภ์และควรศึกษาวิจัยเชิง คุณภาพในเรื่องผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางหลังคลอด และผลกระทบต่อทารกหลังคลอดที่มารดามีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์
คำสำคัญ: ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ โปรแกรมโภชนาการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization. Worldwide prevalence of anaemia 1993–2005 : WHO global database on anaemia. Benoist BD, McLean E, EgliI, Cogswell M, Editor. Geneva. 2008.

2. World Health Organization. The global prevalence of anaemia in 2011. Geneva : World Health Organization, 2015.

3. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

4. กลุ่มควบคุมป้องกันด้านโภชนาการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย. การดำเนินงานการควบคุมและป้องกัน โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก[อินเตอร์เน็ท] 2559. [สืบค้นเมื่อ 2พฤษภาคม2561]. เข้าได้ถึงจาก: https://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/(webboard).pdf.

5. อุ่นใจ กออนันตกุล, อานุภาพ เลขะกุล. โรคเลือดระหว่างตั้งครรภ์. ใน: อุ่นใจ กออนันตกุล, บรรณาธิการ. การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง: High risk pregnancy. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2551. หน้า 425-467.

6. Ricci SS, & Kyle T. Maternity and pediatric nursing: The point. China: Lippincott Williams and Wilkins, 2009.

7. วันชัย วนะชิวนาวิน. ค้นหาปัจจัยเสี่ยงเพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2559;26(1):7-8.

8. รายิน อโรร่า, ชยันตร์ธร ปทุมานนท์, ชไมพร ทวิชศรี. ภาวะโลหิตจางในสตรีที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลลำปาง: ความชุก สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง. ลำปางเวชสาร. 2552;30(1):28-37.

9. จินนา รสเข้ม, อุบลวรรณ กุลสันต์, ศรีรัตน์ อินถา. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการดูแลตนเองและความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางโรงพยาบาลร้องกวาง. [อินเตอร์เน็ท]2015 [สืบค้นเมื่อ 2พฤษภาคม2561]. เข้าได้ถึงจาก https://r2rthailand.org/sites/default/files/scridb/book_r2r_forum_59.pdf.

10. พยนต์ธร สำเร็จกิจเจริญ (2553). ผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อเสริมทักษะการคิดสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.[อินเตอร์เน็ท]2553 [สืบค้นเมื่อ9 พฤษภาคม2561] เข้าได้ถึงจาก https://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/930/1/162_53.pdf.

11. วิภาวดี พิพัฒน์กุล, นิตยา สินสุกใส, วรรณาพาหุวัฒนกร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการและการรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็กต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2558;33(1):69-76.