ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซิ้งสะไนประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้สูงวัยเพศหญิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: สุขสมรรถนะ ถือเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความสามารถทางด้านร่างกาย สำหรับบุคคลทั่วไปสุขสมรรถนะที่ดีจะช่วยให้สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาได้เป็นอย่างดี ส่วนในกลุ่มผู้สูงวัยการมีสุขสมรรถนะที่ดีจะช่วยให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และลดปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่างๆ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพ และชะลอการพึ่งพาผู้อื่นได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซิ้งสะไนประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้สูงวัยเพศหญิง
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่างเป็นผู้สูงวัยเพศหญิง อายุระหว่าง 60-79 ปี จำนวน 60 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมออกกำลังกายเซิ้งสะไนประยุกต์ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซิ้งสะไนประยุกต์ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบประเมินสุขสมรรถนะ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซิ้งสะไนประยุกต์ วิเคราะห์ข้อมูลบรรยายค่าตัวแปร โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ผู้สูงวัยกลุ่มทดลองมีสุขสมรรถนะด้านความว่องไวและการทรงตัวดีขึ้นและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ผู้สูงวัยกลุ่มทดลองมีสุขสมรรถนะด้านความว่องไวและการทรงตัว และความอดทนด้านแอโรบิกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงวัยกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจโดยรวมต่อโปรแกรมฯ อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.4 จากคะแนนเต็ม 5.0คะแนน
สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซิ้งสะไนประยุกต์ช่วยพัฒนาสุขสมรรถนะด้านความว่องไวและการทรงตัว และความอดทนด้านแอโรบิกในกลุ่มผู้สูงวัยเพศหญิงได้
คำสำคัญ: เซิ้งสะไน โปรแกรมการออกกำลังกาย ผู้สูงวัย สุขสมรรถนะ
Article Details
References
2. Davis SE, Dwyer GB. ACSM's health-related physical fitness assessment manual. 2nd ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2008.
3. สุพิตร สมาหิโต. การสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 2548;26(2):224-38.
4. เตชภณ ทองเติม. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ; 2555.
5. เตชภณ ทองเติม, วารี นันทสิงห์, นรพล รามฤทธิ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซิ้งสะไนประยุกต์ที่มีต่อความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และสุขสมรรถนะของผู้สูงวัยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2562.
6. ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. ตำบลยางชุมใหญ่. [อินเตอร์เน็ท]; [สืบค้น 20 มี.ค. 2560].เข้าถึงได้จาก:
URL:https://sisaket.kapook.com/%E0%B8%
A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%
E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%
B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%
A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%
E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%
B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88
7. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd. ed. New York: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
8. สมชาย ลี่ทองอิน, สุพิชชา วงศ์อนุการ, ประสิทธิ์ ปีปทุม, บรรณาธิการ. การทดสอบความพร้อมในการปฏิบัติกิจวัตรของผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย; 2551.
9. ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
10. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: ซีจี ทูล; 2551.
11. พรศิริ พฤกษะศรี, วิภาวี คงอินทร์, ปิยะนุช จิตตนูนท์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26(4):323-37.
12. ทิวาพร ทวีวรรณกิจ, สุกัลยา อมตฉายา, พรรณี ปึงสุวรรณ, ลักขณา มาทอ. การทรงตัว การล้มและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวเป็นประจำ. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2553.
13. อมรัตน์ เนียมสวรรค์, นงนุช โอบะ, สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล. ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้ดนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2555; 6(2): 62-75.