ความคุ้มค่าของการประเมินผู้ป่วยที่สงสัยภาวะบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอมีอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในกรณีที่วินิจฉัยล่าช้าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและได้รับความนิยมในการตรวจประเมินผู้ป่วยที่สงสัยว่าได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอแต่มีค่าใช้จ่ายสูงและผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะภาพทางรังสีของกระดูกสันหลังส่วนคอและเพื่อประเมินความเหมาะสมในการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่กระดูกสันหลังส่วนคอตามเกณฑ์ประเมินผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2562 และได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่กระดูกสันหลังส่วนคอโดยไม่ฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยที่คัดออกจากการศึกษานี้ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากของมีคมหรือถูกยิง หรือได้รับบาดเจ็บเกินสามวันขึ้นไป โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้แก่ อายุ เพศ อาการสำคัญ สาเหตุการบาดเจ็บ ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ การแปลผลโดยรังสีแพทย์นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนารายงานเป็นความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2562 และได้รับการตรวจด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่กระดูกสันหลังส่วนคอตามเกณฑ์ มีทั้งหมด 342 รายผู้ป่วย 300 ราย ร้อยละ 87.7 มีข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจตาม NEXUS criteria มากที่สุดคือ Alteration of consciousness ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือ Midline cervical tenderness ร้อยละ 25.1 มีผู้ป่วย 42 ราย ร้อยละ 12.3 ที่ส่งตรวจโดยไม่พบบันทึก ข้อมูลข้อบ่งชี้ รายงานผลการตรวจไม่พบความผิดปกติ 310 ราย ร้อยละ 90.6 มีความ ผิดปกติจำนวน 32 ราย ร้อยละ 9.4 ช่วง อายุ <18 ปี จำนวน 37 ราย ตรวจไม่พบความผิดปกติ ช่วงอายุ 18-65 ปี ตรวจพบความผิดปกติร้อยละ 10.6 ช่วงอายุ >65 ปี ร้อยละ 9.8 พบความผิดปกติมากที่สุดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอส่วนล่าง ผู้ป่วยอายุ >18 ปี 108 ราย พบว่ามีความผิดปกติจากการตรวจทั้งสองอย่าง 10 ราย และไม่พบว่ามีความผิดปกติจากการส่งตรวจภาพถ่ายรังสีเพียงอย่างเดียว
สรุป: การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคออย่างเข้มงวด โดยใช้ NEXUS criteria และส่งตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจน รวมถึงการเลือกการส่งตรวจภาพถ่ายรังสีในกลุ่มผู้ป่วยเด็กจะช่วยลดการส่งตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นได้
คำสำคัญ: เอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนคอ หลักเกณฑ์ NEXUS
Article Details
References
2. Keats TE, Dalinka MK, Alazraki N, Berquist TH, Daffner RH, DeSmet AA, et al. Cervical spine trauma. American College of Radiology. ACR Appropriateness Criteria. Radiology 2000;215 Suppl:243-6.
3. Sheikh K, Belfi LM, Sharma R, Baad M, Sanelli PC. Evaluation of acute cervical spine imaging based on ACR Appropriateness Criteria®. Emerg Radiol. 2012 Jan;19(1):11-7.
4. Ackland H, Cameron P. Cervical spine - assessment following trauma. Aust Fam Physician 2012;41(4):196-201.
5. Chuthaporn S, Sasitorn P. Multi-detector computed tomography (MDCT) evaluation of suspected acute blunt cervical spine trauma in adult patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Chula Med J 2016;60(2):143 – 53.
6. Yadollahi M, Paydar S, Ghaem H, Ghorbani M, Mousavi SM, Taheri Akerdi A, et al . Epidemiology of Cervical Spine Fractures. Trauma Mon 2016;21(3):e33608.
8. Munera F, Rivas LA, Nunez DB Jr, Quencer RM. Imaging evaluation of adult spinal injuries: emphasis on multidetector CT in cervical spine trauma. Radiology. 2012 Jun;263(3):645-60.
8. Golob JF Jr, Claridge JA, Yowler CJ, Como JJ, Peerless JR. Isolated cervical spine fractures in the elderly: a deadly injury. J Trauma 2008;64(2):311-5.
9. Fredø HL, Rizvi SA, Lied B, Rønning P, Helseth E. The epidemiology of traumatic cervical spine fractures: a prospective population study from Norway. Scand J Trauma Resusc Emerg Med 2012;20:85.
10. Goldberg W, Mueller C, Panacek E, Tigges S, Hoffman JR, Mower WR, et al. Distribution and patterns of blunt traumatic cervical spine injury. Ann Emerg Med 2001;38(1):17-21.
11. Viccellio P, Simon H, Pressman BD, Shah MN, Mower WR, Hoffman JR, et al. A prospective multicenter study of cervical spine injury in children. Pediatrics 2001;108(2):E20.
12. Hoffman JR, Mower WR, Wolfson AB, Todd KH, Zucker MI. Validity of a set of clinical criteria to rule out injury to the cervical spine in patients with blunt trauma. National Emergency X-Radiography Utilization Study Group. N Engl J Med 2000;343(2):94-9.
13. Stiell IG, Wells GA, Vandemheen KL, Clement CM, Lesiuk H, De Maio VJ, et al. The Canadian C-spine rule for radiography in alert and stable trauma patients. JAMA 2001;286(15):1841-8.
14. Pieretti-Vanmarcke R, Velmahos GC, Nance ML, Islam S, Falcone RA Jr, Wales PW, et al. Clinical clearance of the cervical spine in blunt trauma patients younger than 3 years: a multi-center study of the american association for the surgery of trauma. J Trauma 2009;67(3):543-9; discussion 549-50.
15. Ehrlich PF, Wee C, Drongowski R, Rana AR. Canadian C-spine Rule and the National Emergency X-Radiography Utilization Low-Risk Criteria for C-spine radiography in young trauma patients. J Pediatr Surg 2009;44(5):987-91.
16. Gopinathan NR, Viswanathan VK, Crawford AH. Cervical Spine Evaluation in Pediatric Trauma: A Review and an Update of Current Concepts. Indian J Orthop 2018;52(5):489-500.
17. Rozzelle CJ, Aarabi B, Dhall SS, Gelb DE, Hurlbert RJ, Ryken TC, et al. Management of pediatric cervical spine and spinal cord injuries. Neurosurgery 2013;72 Suppl 2:205-26.
18. Chung S, Mikrogianakis A, Wales PW, Dirks P, Shroff M, Singhal A, et al. Trauma association of Canada Pediatric Subcommittee National Pediatric Cervical Spine Evaluation Pathway: consensus guidelines. J Trauma 2011;70(4):873-84.
19. Jimenez RR, Deguzman MA, Shiran S, Karrellas A, Lorenzo RL. CT versus plain radiographs for evaluation of c-spine injury in young children: do benefits outweigh risks? Pediatr Radiol 2008;38(6):635-44.
20. Sadetzki S, Chetrit A, Lubina A, Stovall M, Novikov I. Risk of thyroid cancer after childhood exposure to ionizing radiation for tinea capitis. J Clin Endocrinol Metab 2006;91(12):4798-804.
21. Ron E. Let's not relive the past: a review of cancer risk after diagnostic or therapeutic irradiation. Pediatr Radiol 2002;32(10):739-44.
22. Jimenez RR, Deguzman MA, Shiran S, Karrellas A, Lorenzo RL. CT versus plain radiographs for evaluation of c-spine injury in young children: do benefits outweigh risks? Pediatr Radiol 2008;38(6):635-44.