การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของเครือข่ายของศูนย์วารินรักษ์ โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ศูนย์วารินรักษ์คือศูนย์ให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังและการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้าย มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย โครงสร้าง,การประสานงาน, การสนับสนุน, การปฏิบัติงานและการประเมินผลโดยประยุกต์ใช้กระบวนการAppreciation Influence Control(A-I-C) ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผนการมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการดูแลที่ได้มาตรฐานโดยทีมสหวิชาชีพ
วัตถุประสงค์: 1. ศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเครือข่ายของศูนย์วารินรักษ์ โรงพยาบาลวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี 2. เปรียบเทียบผลของการพัฒนาและความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเครือข่ายของศูนย์วารินรักษ์ ก่อนและหลังการพัฒนา
วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยประชากรคือ ทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งสุดท้ายของศูนย์วารินรักษ์ และเครือข่ายตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงมิถุนายน พ.ศ.2562 โปรแกรมการพัฒนารูปแบบโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการA-I-C วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้ วิเคราะห์ คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่อิสระ
ผลการศึกษา: ทีมสหวิชาชีพเครือข่ายของศูนย์วารินรักษ์ จำนวน 99 คนพบผลหลังการปฏิบัติงานด้านโครงสร้างอยู่ระดับดี (ร้อยละ 56.6) ด้านการสนับสนุนอยู่ระดับปานกลาง (ร้อยละ 50.5) ด้านการประสานงานอยู่ระดับดี (ร้อยละ 75.7) ด้านการปฏิบัติงานอยู่ระดับดี (ร้อยละ79.9) ด้านการประเมินผลอยู่ระดับดี (ร้อยละ 61.6) ผลการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ระดับดี(ร้อยละ 58.6) โดยรวมก่อนการศึกษาพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ระดับปรับปรุง (ร้อยละ 96.0) หลังการศึกษาพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ระดับดี (ร้อยละ 58.6) และความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบก่อนการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ ส่วนใหญ่อยู่ระดับปรับปรุง (ร้อยละ 54.6) และหลังการศึกษาพบว่าความพึงพอใจอยู่ระดับดี (ร้อยละ 69.7)
สรุป: ผลการพัฒนารูปแบบและความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพภายหลังการพัฒนาอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยภายหลังมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ: กระบวนการ A-I-C รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เครือข่ายศูนย์วารินรักษ์
Article Details
References
2. สิริญา ฉิมพาลี. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยหลังคลอดเครือข่ายบริการโรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาบัณฑิต]. ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย; นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมkธิราช; 2553.
3. สุมานี ศรีกำเนิด. การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2552.
4. ฐิติพร จตุพรพิพัฒน์. รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : 2557.
5. ชีวรัตน์ วิภักดิ์. การสร้างรูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
6. มุกดา ยิ้มย่อง. การพัฒนาจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.
7. วีรยา อินทร์คง. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.
8. ฐิติมา โพธิศรี. การดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต: จากโรงพยาบาลสู่บ้าน.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
9. จิระประภา ศิริสูงเนิน, มาลินันท์ พิมพ์พิสุทธิพงศ์, วุฒิพงศ์ ภักดีกุล. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จังหวัดขอนแก่นปี 2560. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2561;6(2):317-35.
10. สุปรียา ดียิ่ง. ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.