การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ยุพาพร วิจักขณาลัญฉ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการของการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ผลทางพยาธิวิทยา และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลัง
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชวิทยา และวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 จำนวน 217 ราย
ผลการศึกษา: พบว่ามีการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง ร้อยละ 73.56 ของการผ่าตัดมดลูกทั้งหมดในโรงพยาบาลสุรินทร์ ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ช่วงอายุ 30-49 ปี ร้อยละ 84.33 มีบุตร 2 คน ขึ้นไป ร้อยละ 70.05 อาการที่นำมาโรงพยาบาล มากที่สุด คือ อาการปวดท้องน้อย ร้อยละ 38.25 ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยที่สุด คือ Leiomyoma พบร้อยละ 58.53 รองลงมาเป็น CIN+CIS และ Adenomyosis ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ภาวะไข้ มีเลือดออกมากต้องให้เลือด ทดแทนและ ภาวะอักเสบติดเชื้อ
สรุป: อุบัติการการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง พบร้อยละ 73.56 ของการผ่าตัดมดลูกทั้งหมดในโรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีบุตรเพียงพอ อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการนำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่พบมากที่สุด คือ Leiomyoma (ร้อยละ 58.53) ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะไข้ เลือดออกมากต้องให้เลือดทดแทน และภาวะอักเสบติดเชื้อ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Timmons MC, Addison WA. Current indication for hysterectomy. In : Stovall TG, ed. Hysterectomy. Amsterdam : Elsevere Science Publishing. 1993:17-25.

2. Thompson JD, Rock JA. Appropriate indication for hysterectomy. Te linde’s operative gynecology. 7th ed. Philadelphia : J.B.Lippincott, 1992:670.

3. กมลพันธ์ ชมเสวี. Hysterectomy in central hospital. J. Central Hospital 1989;26:71-82.

4. ชาตรี ตันติยวรงค์. ภาวิณี กาญจนถวัลย์. การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องในโรงพยาบาล มะการักษ์ในปีงบประมาณ 2536-2538. วารสารแพทย์เขต 7 2539;4:521-9.

5. Barbieri RL. Ambulatory management of uterine leiomyoma. Clin Obstet Gynecol 1999;42:196-205.

6. Davis KM, Schlaff WD. Medical management of uterine fibromyomata . Obstet Gynecol Clin North Am 1995;22:727-38.

7. Arun Taensingtrong . Abdominal Hysterectomy at uthai thani hospital during 1990 - 1992 . Reg 11 Med J 1994 Jan - Dec 8;(1-3):29-42.

8. ชัยวัฒษ์ พัฒนาพิศาลศักดิ์, หเทิญ ถิ่นธารา. ความถูกต้องของข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด มดลูกทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์ เวชสาร 2540;15:101-5.

9. วรรณเพ็ญ เบญจชัย, เทวินทร์ โกสัยตระกูล, เพ็ญแข พิทักษ์ไพรวัน. เนื้องอกรังไข่ ภายหลังการตัดมดลูก. วารสารโรคมะเร็ง 2531;14:115-21.

10. Christ JE, Lotze EC. The residual ovary syndrome. Obstet Gynecol 1975;46:551-6.

11. Pothinam S, Sirinavasatian P, Lumbiganon P. Febrile and infections morbidity after abdominal hysterec¬tomy at Srinagarind hospital. J Med Assoc Thai March 1992;75:178-81.

12. อภิชาต อัครวิพุธ. การเปรียบเทียบภาวะมีไข้ภายหลังการผ่าตัดหน้าท้องระหว่างวิธีเย็บปิดส่วนปลายช่องคลอด และวิธีเย็บเปิดส่วนปลายช่องคลอด. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2540;22:1-14.

13. Scott JR, Disaia PJ, Hammond CB, Danfortfi S. Obstetrics and Gynecology. 8th ed. Lippincott Williams and Wilkins 1999:746-747,861-2.