ปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล : การฆ่าตัวตายเป็นภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายมีความเสียงต่อการฆ่าตัว ตายซ้ำได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสียงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา : retrospective case-control study
วิธีการศึกษา : เป็นการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยฆ่าตัวตายของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่มาติดตามการรักษากับจิตแพทย์ ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ.2561 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2563 และวิเคราะห์ปัจจัยเสียงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบตัวแปรเดี่ยว ใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบหลายตัวแปร ใช้สถิติพหุถดถอย ลอจิสติก (Multiple logistic regression)
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง 82 รายเป็นเพศหญิงร้อยละ 75.6 อายุเฉลี่ย 28 ปี (14-60 ปี) สถานภาพ โสด/หย่าร้าง ร้อยละ 59.7 การวินิจฉัยโรคเป็นกลุ่มโรค mood disorder ร้อยละ 74.4 พบการฆ่าตัวตายซ้ำร้อยละ 26.8 วิธีฆ่าตัวตายใช้วิธีกินยาเกินขนาดร้อยละ 48.8 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย logistic regression พบว่า สถานภาพโสด หรือหย่าร้างจะมี แนวโน้มฆ่าตัวตายซ้ำมากกว่าสถานภาพสมรส 6 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Odds ratio=6.44, 95% CI=1.04-40.00, p=0.046)
สรุป : ผู้ป่วยที่มีสถานภาพโสดหรือหย่าร้างเป็นปัจจัยเลี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำในผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลบุรีรัมย์ทางผู้วิจัยจะนำผลการศึกษาที่ได้ไปพัฒนาระบบการติดตามรักษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใกล้ชิดเฝ้าระวังป้องกันผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ ฆ่าตัวตายซ้ำต่อไป
คำสำคัญ : ฆ่าตัวตายซ้ำ ปัจจัยเสี่ยง
Article Details
References
World Health Organization. Suicide data. [Internet], [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2020], สืบค้นได้จาก: URL: http://www.who.int/mental_health/prevention/suicide/ suicideprevent/en/
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน อัตราการฆ่าตัวตาย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวัน ที่ 29 เมษายน 2020], ลืบด้นได้จาก: URL: https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp
กมลเนตร วรรณเสวก. ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง. ใน : นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธ์, บรรณาธิการ. จิตเวชศิริราช DSM-5. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558: 121-34.
Johnsson Fridell E, Ojehagen A, Trask man-Bendz L.A 5-year follow-up study of suicide attempts. Acta Psychiatr Scand 1996;93(3):151-7.
Tejedor MC, Diaz A, Castillon JJ, Pericay JM. Attempted suicide: repetition and survival--findings of a follow-up study. Acta Psychiatr Scand 1999;100(3):205-11.
Ruengorn C, Sanichwankul K, Niwatananun W, Mahatnirunkul S, Pumpaisalchai W, Patumanond J. Incidence and risk factors of suicide reattempts within 1 year after psychiatric hospital discharge in mood disorder patients Clin Epidemiol 2011;3: 305-13.
ธัญชนก บุญรัตน์. พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของ ผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2559;30(1):101-9.
Sawa M, Koishikawa H, Osaki Y. Risk Factors of a Suicide Reattempt by Seasonality and the Method of a Previous Suicide Attempt: A Cohort Study in a Japanese Primary Care Hospital. Suicide Life Threat Behav 2017;47(6):688-95.
Parra-Uribe I, Blasco-Fontecilla H, Garcia-Pares G, Martinez-Naval L, Valero-Coppin O, Cebria-Meca A, et al. Risk of re-attempts and suicide death after a suicide attempt: A survival analysis. BMC Psychiatry 2017;17(1):163.
Grendas LN, Rojas SM, Puppo S, Vidjen P, Portela A, Chiapella et al. Interaction between prospective risk factors in the prediction of suicide risk. J Affect Disord 2019;258:144-50.
Azcarate-Jimenez L, Lopez-Goni JJ, Goni-Sar ries A, Montes-Reula L, Portilla-Fernandez A, Elorza-Pardo R.Repeated suicide attempts: a follow-up study. Actas Esp Psiquiatr 2019;47(4):127-36.
จินตนา กมลพันธ์, วันรวี พิมพ์รัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายชองผู้ป่วยคลินิกให้คำปรึกษา กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(2):481-90.