การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้น หลอดเลือดปอดเฉียบพลัน ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก

Main Article Content

เยาวลักษณ์ หอมวิเศษวงศา
จิราภรณ์ ชวนรัมย์
ศิริวรรณ อาจบุราย

บทคัดย่อ

หลักการและเทตุผล: ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบหัวใจและ หลอดเลือดที่พบบ่อย ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เนื่องจากผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน มีบางส่วนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน จำเป็นจะต้องวินิจฉัย ให้การรักษาและให้การพยาบาลอย่างทันท่วงที
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลันในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกและศึกษาผลลัพธ์ภายหลังการพัฒนา
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ.2560 ถึง มีนาคม พ.ศ.2563 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียน การสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล และทบทวนแนวทางการดูแลผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอด เฉียบพลันในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก 2) ระยะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทดลองใช้ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก 2 วงรอบ ปรับรูปแบบให้ สอดคล้องกับสถานการณ์จริง วิเคราะห์ผลการทดลองใช้และปรับปรุงจนสามารถปฏิบัติ ได้จริง และ 3) ระยะประเมินผลโดยประเมินผลลัพธ์ป่วยจำนวน 45 คน และประเมิน ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากพยาบาลวิชาชีพ 27 คน
ผลการศึกษา: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การพยาบาล ก่อนเข้ารับการผ่าตัดและรับยาระงับความรู้สึกโดยการใช้แบบประเมินความเสี่ยงที่ประยุกต์ จาก well rule score และการประเมินด้วย Autar DVT risk assessment scale 2) การพยาบาลขณะผ่าตัดและรับยาระงับความรู้สึก และ 3) การพยาบาลหลังผ่าตัดและ การดูแลต่อเนื่อง ผลของการใช้รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงใน ระดับต่ำและระดับปานกลางไม่พบอัตราการเสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลันร้อยละพยาบาลวิชาชีพให้ความเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติ และใช้ได้ผลดีในการดแลผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.5 (SD=0.5)
สรุป: รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มิโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน
นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับ บริบทการดูแลผู้ป่วยการมีส่วนร่วมระหว่างทีมการพยาบาลและสหสาขาวิชาชีพทำให้เกิด ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย และองค์กร
คำสำคัญ: รูปแบบการพยาบาล ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน การระงับความรู้สึก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Righini M, Paris S, Le Gal G, Laroche JP, Perrier A, Bounameaux H. Clinical relevance of distal deep vein thrombosis. Review of literature data. Thromb Haemost 2006;95(1):56-64.

Kearon C. Natural history of venous throm boembolism. Circulation 2003;107 (23 Suppl 1):122-30.

Oger E. Incidence of venous thromboem bolism : a community-based study in Western France. EPI-GETBP study Group. Groupe d'Etude de la Thrombose de Bretagne Occidentale. Thromb Haemost 2000;83(5): 657-60.

Torbicki A, Perrier A, Konstantinides S, Agnelli G, Galie N, Pruszczyk P, et al. Guidelines on the diagnosis and management of acute pulmonary embolism: the Task Force for the Diagnosis and Management of Acute Pulmonary Embolism of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J 2008;29 (18):2276-315.

Meignan M, Rosso J, Gauthier H, Brunengo F, Claudel S, Sagnard L, et al. Systematic lung scans reveal a high frequency of silent pulmonary embolism in patients with proximal deep venous thrombosis. Arch Intern Med 2000;160(2):159-64.

Silverstein MD, Heit JA, Mohr DN, Petterson TM, O'Fallon WM, Melton LJ 3rd Trends in the incidence of deep vein thrombosis and pulmonary embolism : a 25-year population-based study. Arch Intern Med 1998;158(6): 585-93.

Heit JA. The epidemiology of venous throm boembolism in the community : implications for prevention and management. J Thromb Thrombolysis 2006;21(1):23-9.

Pineda LA, Hathwar VS, Grant BJ. Clinical suspicion of fatal pulmonary embolism. Chest 2001;120(3):791-5.

Moser KM, Fedullo PF, LitteJohn JK, Crawford R. Frequent asymptomatic pulmonary embolism in patients with deep venous thrombosis. JAMA 1994;271(3):223-5.

Gruettner J, Walter T, Lang S, Meyer M, Apfaltrer P, Flenzler T, et al. Importance of Wells score and Geneva score for the evaluation of patients suspected of pulmonary embolism. In Vivo 2015;29(2):269-72.

Modi S, Deisler R, Gozel K, Reicks P, Irwin E, Brunsvold M, et a;. Wells criteria for DVT is a reliable clinical tool to assess the risk of deep venous thrombosis in trauma patients. World J Emerg Surg 2016;11:24.

เกศลมัย สายแวว, นรินทร์ พลายละหาร. การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหรือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2561;62(2):145-58.

เกสร พรมเหล็ก. การพัฒนาและประเมินผลการ ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ ลิ่มเลือดอุดกกั้นหลอดเลือดดำในผู้ป่วยวิกฤตอุบัติเหตุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขา วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

พัชรินทร์ สุตันตปฤดา, มัชฌิมา กิติศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2558;6(2):29-37.