ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ธวัชชัย ยืนยาว
เพ็ญนภา บุญเสริม

บทคัดย่อ

หลักการนละเหตุผล: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นด่านหน้าในการเฝ้าระวังและควบคุม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งความรู้ ทัศนคติต่อโรคติดเชื้อส่งผลพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การศึกษาประเด็นดังกล่าวจะทำใหํได้ข้อมูลการพัฒนา ศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในการป้องกันโรคในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมการบ้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 495 คนโดยคัดเลือกแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) เก็บข้อมูลแบบออนไลน์ผ่าน Google Form ใน Application Line ด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามด้านความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) แบบสอบถามด้านทัศนคติต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้สถิติ Chi-square test
ผลการติกษา: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 495 คน มีอายุเฉลี่ย 46.7 ปี (SD.=8.4) โดยช่วงอายุ 20-70 ปี เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 98.0 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ ร้อยละ 52.3 ด้านความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ไนระดับสูง (M=12.4, S.D.=0.9) ด้านทัศนคติ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับด่ำ (M=4.0, S.D.=0.3) และด้านพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสม (M=4.3, S.D.=0.5) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหญิงในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2=11.064, p=0.001) และทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2=23.234, p<0.001)
สรุป: ความรู้ทัศนคติต่อโรคติดเชื้อและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของอสม.ในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในชุมชนจำเป็นต้องสร้างทัศนคติที่ดีและเสริมความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ อสม.
คำสำคัญ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ชุมมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2554.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มีอสำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อการยกระดับ อสม. เป็น อสม.หมอประจำบ้าน. [อินเตอร์เน็ต] 2562. [สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : URL : http://phc.moph.go.th/ www_hss/data_center/dyn_mod/Manual_ official.pdf

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต] 2562. [สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563], เข้าถึงได้จาก : URL: https://ddc. moph.go.th/viralpneumonia/index.php

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประซาชน. รายงาน ผลการปฏิบ้ติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในชุมชน. อินเตอร์เน็ต] 2563. [สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563], เข้าถึงได้จาก : URL : http://wvwv.thaiphc.net/ new2020/save_covid_report/

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประฃาซน. รายงาน ตาราง อสม. จำแนกตามเพศและตำบล/อำเภอ จังหวัด : สุรินทร์.[อินเตอร์เนต] 2563. [สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงไค้จาก : URL : http:// www.thaiphc.net/phc/phcadmin/adminis trator/Report/OSM RP00001. php

สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. ข้อมูลจังหวัด : สุรินทร์. [อินเตอร์เนต] 2563. [สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : URL : http:// surinlocal.go.th/public/history/data/index/ menu/22

Schwartz NE. Nutrition knowledge, attitudes and practices of Canadian public health nurses. J Nutr Educ 1976;8(1):28-31.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.

สุรีย์พันธุ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิฑูรย์การปก ; 2558.

ซูศริ วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี : ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ; 2553.

นภชา สิงห์วีรธรรม, วัซรพล วิวรรคนิ เถาวิพันธ์, กิตติพร เนาวิสุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, สุทธิสักด สุริรักษ์. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2):104-115

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : หมวดความรู้ทั่วไป. [อินเตอร์เนต] 2562. [สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563], เข้าถึงได้ จาก : URL : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขุมขนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2):92-103.

ทวิศักดิ์ เทพพิทักษ์. การใช้แบบจำลอง KAP กับการ ศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอวิ/เอดส์ ของคนประจำเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราซภัฎเชียงราย 2556;8(2):84-102.

Karen Rav-Marathe, Thomas T.H. Wan, Sam Marathe. A Systematic Review of KAP-0 framework for Diabetes Education and Research. Med Res Arch 2016;4(1):1-21.