ปัจจัยที่มีผลต่อการรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสไม่ครบตามเกณฑ์ ในผู้มารับบริการในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วรยศ ดาราสว่าง

บทคัดย่อ

ลักการและเหตุผล: โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า หลังการสัมผัสสัตว์ที่สงสัยพิษสุนัขบ้า ข้อมูลของผู้มารับบริการจะถูกบันทึกลง ในรายงาน 36 จากข้อมูลของกรมปศุสัตว์พบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าไม่ครบ ตามเกณฑ์มีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า งานวิจัยชิ้นนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อพรรณนาคุณลักษณะและค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัส ไม่ครบตามเกณฑ์ในกลุ่มผู้มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก
วิธีการศึกษา: ได้ทำการศึกษาแบบเคส-คอนโทรล (Case-control study) โดยบันทึกข้อมูลจากรายงานข้อมูลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (รายงาน 36) ทั้งหมด 260 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มารับบริการที่มารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสครบและไม่ครบตามเกณฑ์กลุ่มละ 130 ราย ทำการเปรียบเทียบปัจจัยที่ทำการศึกษาโดยใช้สถิติ Chi-square, Fisher Exact test และ Student T-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ตัวแปรที่ให้นัยสำคัญทางสถิติ จะทำการวิเคราะห์ต่อด้วยวิธี multiple logistic regression
ผลการศึกษา: กลุ่มผู้มารับบริการที่มารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสครบและไม่ครบตามเกณฑ์ เป็นเพศชายร้อยละ 47.7 และ 55.4 ตามลำดับ มีอายุเฉลี่ยที่ 37.6 และ 39.3 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยทุกคนได้รับ Rabies vaccine มีเพียง 95 คน (ร้อยละ 37.4) ที่ได้รับ Rabies immunoglobulin ซึ่งไม่พบการแพ้วัคซีน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัส ได้แก่ การไม่ล้างแผลด้วยสบู่หลังโดนสัตว์กัด (p-value = 0.007) และการได้รับ Rabies Immunoglobulin (p-value <0.001) เมื่อวิเคราะห์ต่อด้วยวิธี multiple logistic regression ปัจจัยการไม่ล้างแผลด้วยสบู่และการได้รับ Rabies Immunoglobulin ยังคงให้นัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR 2.011 (1.03-3.91) และ 2.26 (1.32-3.85) ตามสำดับ)
สรุปผลการศึกษา: ผู้มารับบริการทุกคนได้รับ Rabies Vaccine และไม่มีผู้มารับบริการที่แพ้ Rabies immunoglobulin หลังการฉีดวัคซีน การไม่ได้ล้างแผลด้วยสบู่หลังโดนสัตว์กัด และการได้รับ Rabies Immunoglobulin เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสไม่ครบ ซึ่งอาจเกิดจากความรู้ ทัศคติของผู้มารับบริการที่มีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการให้ความรู้ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
คำสำคัญ: โรคพิษสุนัขบ้า รายงาน 36 จังหวัดบุรีรัมย์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bishop GC, Durrheim DN, Kloeck PE, Godlonton JD, Bingham J, Speare R, et al. Rabies Guideline for medical and veternery profession. 2nd.ed. Pretoria : Government Printer; 2000: 9-20

Saeed B, Al-Mousawi M. Rabies Acquired Through Kidney Transplantation in a Child : A Case Report. Exp Clin Transplant. 2017;15(3):355-357.

กลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคแนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้าและคำถามที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556: 27-31.

World Health Organization. WHO guide for rabies pre and post-exposure prophylaxis in humans. Genewa: Department of Neglected Tropical Diseases-Neglected Zoonotic Diseases team; 2010.

Bureau of Epidemiology, Department of disease control. Outbreak verification program, [internet], [cited 2020 June 29], Available from:URL: https://ereports.doe. moph.go.th/eventbase/user/login/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการสอบสวนโรคผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าเสียชีวิต. บุรีรัมย์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2561.

กรมปศุสัตว์. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรค พิษสุนัขบ้า. [อินเทอร์เนต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อวัน ที่ 29 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.thairabies.net/trn/.

สุขุมาล กาฬเนตร, อารยา ประเสริฐขัย, วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มิความสัมพันธ์กับการมารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 21(2):34-47.

ศรกฤษณ์ รักพาณิชย์, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเจ้าของสุนัขในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(2):158-66.

World Health Organization. International travel and health. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [cited 2020 September 2020], Available from:URL: https://www.who.int/ith/vaccines/rabies/en/.