อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะ Tandem Spinal Stenosis ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะ Lumbar Stenosis

Main Article Content

ธนภณ งามมณี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะ tandem spinal stenosis เป็นภาวะพบเจอได้บ่อย ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม จะทำให้มีผลการรักษาที่ไม่ดีนัก มีรายงานการอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ tandem cervical stenosis ค่อนข้างหลากหลายในต่างประเทศ รวมถึงมีวิธีการวินิจฉัยและการรักษาที่หลากหลาย แต่ยังไม่มีรายงานของภาวะนี้ในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: หาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะ tandem spinal stenosisในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด decompressive procedure รักษาภาวะกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบในจังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 80 คนทั้งหมดได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะ lumbar stenosis ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ในช่วงตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2558 ถึง เดือน มกราคม พ.ศ.2563 โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้ทำการตรวจ MRI Lumbar spine ร่วมกับ MRI screening whole spine T2W sagittal view โดยภาวะพยาธิสภาพบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอได้แบ่ง ระดับความรุนแรงของการกดทับไขสันหลังส่วนคอเป็น 2 ระดับ คือ เกรด 0 (ไม่มีการกด ทับไขสันหลัง) และ เกรด 1 (มีการกดทับไขสันหลัง) โดยอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงได้รับการวิเคราะห์ทางสถิติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเกิดและความรุนแรงของภาวะ tandem spinal stenosis
ผลการศึกษา: พบว่า 43 (ร้อยละ 53.8) คน ไม่มีการกดทับไขสันหลังส่วนคอ และ 37 (ร้อยละ 46.2) คน มีการกดทับไขสันหลังส่วนคอพบว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่าง จำนวนระดับที่พบการตีบแคบของ lumbar spine ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปกับการเกิดภาวะ tandem cervical stenosis ที่มีพยาธิสภาพกดไขสันหลังส่วนคอ (p-value = 0.02)
สรุป: ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะ lumbar stenosis ที่อายุมากขึ้นพบว่ามีอุบัติการณ์ ของภาวะ tandem spinal stenosis เพิ่มมากขึ้น และ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะ lumbar stenosis ที่มีจำนวนระดับที่พบการตีบแคบของ lumbar spine ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปพบว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติ กับการเกิดภาวะ tandem cervical stenosis ที่มีพยาธิสภาพกดไขสันหลังส่วนคอ ดังนั้น ควรมีการประเมินภาวะ tandem spinal stenosis ในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
คำสำคัญ: ภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง อุบัติการณ์ปัจจัยเสี่ยง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Teng P, Papatheodorou C. Combined Cervical and lumbar spondylosis. Arch Neurol 1964;10:298-307.

Dagi TF, Tarkington MA, Leech JJ. Tandem lumbar and cervical spinal stenosis. Natural history, prognostic indices, and results after surgical decompression. J Neurosurg 1987;66(6):842-9.

LaBan MM, Green ML. Concurrent (tandem) cervical and lumbar spinal stenosis: a 10-yr review of 54 hospitalized patients. Am J Phys Med Rehabil 2004;83(3): 187-90.

Aydogan M, Ozturk C, Mirzanli C, Karatoprak O, Tezer M, Hamzaoglu A. Treatment approach in tandem (concurrent) cervical and lumbar spinal stenosis Acta Orthop Belg 2007;73(2):234-7.

Jacobs B, Ghelman B, Marchisello P. Coexistence of cervical and lumbar disc disease. Spine (Phila Pa 1976) 1990;15(12): 1261-4.

Epstein NE, Epstein JA, Carras R, Murthy VS, Hyman RA. Coexisting cervical and lumbar spinal stenosis: diagnosis and management. Neurosurgery 1984;15(4):489-96.

Hsieh CH, Huang TJ, Hsu RW.. Tandem spinal stenosis : clinical diagnosis and surgical treatment. Changgeng Yi Xue Za Zhi 1998;21(4):429-35.

Lee MJ, Garcia R, Cassinelli EH, Furey C, Riew KD. Tandem stenosis: a cadaveric study in osseous morphology. Spine J 2008;8(6):1003-6.

Lee SH, Kim KT, Suk KS, Lee JH, Shin JH, So DH, et al. Asymptomatic cervical cord compression in lumbar spinal stenosis patients: a whole spine magnetic resonance imaging study. Spine 2010;35(23):2057-63.

Park MS, Moon SH, Kim TH, Oh JK, Lyu HD, Lee JH, et al. Asymptomatic Stenosis in the Cervical and Thoracic Spines of Patients with Symptomatic Lumbar Stenosis. Global Spine J 2015;5(5):366-71.

Abdolkarim R, Saba M, Seyed R, MousaT, Golnoush M, Ali R. A Survey of Tandem Spinal Stenosis in Shiraz, Southern Iran. Neurosurg Q 2015;25(2):246-9.

Kim BS, Kim J, Koh HS, Han SY, Lee DY, Kim KH. Asymptomatic Cervical or Thoracic Lesions in Elderly Patients who Have Undergone Decompressive Lumbar Surgery for Stenosis. Asian Spine J 2010;4(2):65-70.

Kudo T, Sato Y, Kowatari K, Nitobe T, Hirota K. Postoperative transient tetraplegia in two patients caused by cervical spondylotic myelopathy. Anaesthesia 2011;66(3):213-6.

Deem S, Shapiro HM, Marshall LF. Quadriplegia in a patient with cervical spondylosis after thoracolumbar surgery in the prone position. Anesthesiology 1991;75(3):527-8.

Langmayr JJ, Ortler M, Obwegeser A, Felber S. Quadriplegia after lumbar disc surgery. A case report. Spine (Phila Pa 1976) 1996;21(16):1932-5.