การศึกษาความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ความคิดเห็นต่อการคุมกำเนิด และเหตุผลในการเสือกวิธีคุมกำเนิดของมารดาหลังคลอด
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล : การศึกษาเหตุผลในการเลือกวิธีการคุมกำเนิดของมารดาหลังคลอด รวมทั้งความรู้เรื่อง วิธีการคุมกำเนิด และความคิดเห็นต่อการคุมกำเนิดจะทำให้ได้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการ ตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมสำหรับมารดาหลังคลอด
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ความคิดเห็นต่อการคุมกำเนิดและเหตุผลในการเลือก วิธีคุมกำเนิดของมารดาหลังคลอด
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาทำการศึกษาในมารดาหลังคลอดที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 100 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive select) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เรื่องการคุมกำเนิด แบบสอบถาม ความคิดเห็นต่อการคุมกำเนิด ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการพรรณนาผลการศึกษา และใช้สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 16-42 ปี (Mean±SD= 24.0±6.4) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 65.0) เป็นแม่บ้าน (ร้อยละ 35.0) เป็นมารดาครรภ์แรกมากที่สุด (ร้อยละ 58.0) ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล (ร้อยละ 92.0) คลอดทางซ่องคลอด (ร้อยละ 75.0) ทารกเพศขาย (ร้อยละ 52.0) น้ำหนักทารกแรกเถิดระหว่าง 1,990- 4,060 กรัม (Mean±SD = 2,986.8±404.6) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ใน ระดับปานกลาง (Mean±SD = 7.4±2.7) ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นต่อการคุมกำเนิดอยู่ในระดับดี (Mean±SD = 3.8±0.6) มารตาหลังคลอดเลือกใช้ยาเม็ดคุม กำเนิดมากที่สุด (ร้อยละ 35.0) รองลงมาคือยาฝังคุมกำเนิด (ร้อยละ 24.0) เหตุผล คือ เป็นวิธีที่เคยใช้มาก่อน ทั้งนี้มารดาหลังคลอดที่มีประวิติการตั้งครรภ์ วิธีการคลอด จำนวน วิธีการคุมกำเนิดที่เคยใช้แตกต่างกัน มีความรู้และความคิดเห็นต่อการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกัน
สรุป : กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการคุมกำเนิดในระดับปานกลาง แต่มีความคิดเห็นที่ดีต่อการคุมกำเนิด เลือกการคุมกำเนิดตามประสบการณ์เดิม ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจึงควรเป็นผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกต้องแก่ผู้รับบริการ
Article Details
References
สัญญา ภัทรชัย, เมธี พงษ์กิตติหล้า, สุวนิตย์ สร้างศรีวงษ์, สุมาลี เพิ่มแพงพันธุ, ยุพา พูนขำ, กอบกาญจน์ มหัทธโน. บรรณาธิการ. คู่มือการให้บริการวางแผนครอบครัวสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย; 2551.
ฤดี ปุงบางกะดี่, เอมพร รตินธร. ปัจจัยและผล กระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำ : กรณีศึกษาใน กรุงเทพมหานคร. J Nurs Sci 2014;32(2):23-31.
เรณู ชูนิล, กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลใน ประเทศไทย ปี 2558. รามาธีบดีเวชสาร 2559;39(2):117-31.
มนต์ชัย สันติภาพ. อัตราการเลิกใช้ยาฝังคุมกำเนิด ของวัยรุ่นหลังคลอด พ.ศ.2558-2560. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(1):81-87.
พัชรินทร์ ไชยบาล, อิชยา มอญแสง, ศิริพร แสงศรีจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและพฤติกรรมการคุมกำเนิดของกลุ่มแรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559;34(3):96-103.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, รัตนาภรณ์ อาษา, พิชสุดา เดชบุญ, ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ. ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด ของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2560;12(3):79-90.
อรวรรณ แซ่ลิ่ม, มาริตา ไมตรีจร, ดวงกมล หลิมปานนท์, รัตนพัฒน์ จิระติสรณ์. ความรู้และทัศนคติในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมของหญิงไทย วัยเจริญพันธุ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;11(4): 808-15.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1970.
บุญซม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือ รวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า.วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2539;2(1):64-70.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร 2560; 7(1):1-15.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. New Jersey : Prentice Hall; 2001.
สุมิตรา เนียมกัน, จรัญญา ดีจะโปะ. ความรู้ ความพึงพอใจ และอาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรของมารดาวัยรุ่นในเขตจังหวัดจันทบุรี. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561;8(2):58-67.
วรรณคล เชื้อมงคล, จินตนา คูณหอม, ธีรรัตน์ ดาวแดน. ความรู้และผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ ยาเม็ดคุมกำเนิดของหญิงวัยเจริญพันธ์ุในเขตอำเภอ องครักษ์ จังหวัดนครนายก. J Med Health Sci 2562;26(2):36-49.
วัชรี เรือนคง, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, จิรัตน์ ตั้งฐิตวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ยาฝังคุมกำเนิด ใต้ผิวหนังชนิดอีโทโนเจสเตรลในสตรีวัยรุ่น หลังคลอดครรภ์แรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2561;14(1):9-16.
อารียา สมรูป, วรรณี เดียวอิศเรศ, วรรณทนา คุภสีมานนท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27(3):79-87.