ผลของการใช้โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Main Article Content

ธัญชนก ดำริห์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป้าหมายคือ ลดปวด เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า การฝึกเดินด้วยเครื่องช่วยเดิน และป้องกันภาวะ ข้อเข่าติด งอเหยียดเข่าไม่สุด ดังนั้นการดูแลรักษาฟื้นฟูระยะหลังได้รับการผ่าตัด และ การติดตามผลการรักษามีความสำคัญ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งเพราะสามารถ บ่งบอกถึงคุณภาพการดูแลรักษารวมถึงการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยของผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อติดตามผลการฟื้นฟูของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ระยะเวลาที่ทำการศึกษา : สิงหาคม พ.ศ.2562-มีนาคม พ.ศ.2563
วิธีการศึกษา : การศึกษาภาคตัดขวาง ทำการศึกษาในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม 20 คน ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เทียม แผนกศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลศรีสะเกษได้รับโปรแกรมทางกายภาพบำบัด ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด และติดตามผลระยะหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ 1 เดือน และ 2 เดือน โดยประเมินระดับความปวด (VAS) วัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าด้วย โกนิโอมิเตอร์ และระยะทางการเดินเป็นเมตร (จากการซักถามผู้ป่วย)
ผลการศึกษา : ระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเดือนที่ 1 และ 2 มิระดับความเจ็บปวดน้อยกว่าก่อน ผ่าตัดและหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ องศาในการงอข้อเข่าหลังผ่าตัด 1 ถึง 2 เดือน งอได้มากกว่าหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ระยะทางที่เดินหลังผ่าตัด 2 เดือน ได้มากกว่าหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ และ 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป : หลังผ่าตัด 2 เดือน ผู้ป่วยมีระดับความปวดลดลง องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเพิ่ม ขึ้นและระยะทางการเดินได้มากขึ้น
คำสำคัญ : โปรแกรมกายภาพบำบัด ความปวด องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ระยะทางการเดิน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล. Orthopedics of medical students Pramongkutklao College of medicine. 2nd ed. กรุงเทพมหานคร : iewmp gril; 2538.

ประชาสัมพันธ์-สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). พรบ.หลักประกันสุขภาพ. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563]. สืบค้นได้จาก: URL:https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail. aspx?newsid=MjAooQ.

Avies DM, Johnston DW, Beaupre LA, Lier DA. Effect of adjunctive range-of-motion therapy after primary total knee arthroplasty on the use of health services after hospital discharge. Can J Surg 2003;46(1):30-6.

Carvalho Junior LH, Teixeira BP, Bernardes CO, Soares LF, Gonpalves MB, Temponi EF. Range of motion predictability after total knee arthroplasty with medial pivot prosthesis. Rev Bras Ortop 2017;52(2):197-202.

พรทนา พฤกษ์ธรางกูร. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูภาพผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2563;3(1):59-75.

อัญญาณี สาสวน, ธนิดา ผาติเสนะ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีต่อการฟื้นฟูภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคม อาเซียน” ครั้งที่ 2; 18-19 มิถุนายน 2558; ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : ภาคบรรยาย; 110-119.

Denis M, Moffet H, Caron F, Ouellet D, Paquet J, Nolet L. Effectiveness of continuous passive motion and conventional physical therapy after total knee arthroplasty: a randomized clinical trial. Phys Ther 2006;86 (2):174-85.

Kuptniratsaikul V, Rattanachaiyanont M. Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. Clin Rheumatol 2007;26(10): 1641-5.

ปภัสรา หาญมนตรี, พรรณี ปึงสุวรรณ, ภาวินี เสริมชีพ, วิชัย อึงพินิจพงศ, อุไรวรรณ ชัซวาลย์, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ความเที่ยงในการทดสอบซ้ำและความสัมพันธ์ของแบบประเมิน Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis ฉบับภาษาไทย กับคะแนนปวดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2557;26:84-92.

Artz N, Elvers KT, Lowe CM, Sackley C, Jepson P, Beswick AD. Effectiveness of physiotherapy exercise following total knee replacement: systematic review and meta-analysis. BMC Musculoskelet Disord 2015;16:15.

Lucy Simmons & Toby Smith Effectiveness of pre-operative physiotherapy-based programmes on outcomes following total knee arthroplasty: a systematic review and meta-analysis. Phys Ther Rev 2013;18(1): 1-10.

Alghadir A, Iqbal ZA, Anwer S. Comparison of the effect of pre- and post-operative physical therapy versus post-operative physical therapy alone on pain and recovery of function after total knee arthroplasty. J Phys Ther Sci 2016;28(10):2754-8.

Davies DM, Johnston DW, Beaupre LA, Lier DA. Effect of adjunctive range-of-motion therapy after primary total knee arthroplasty on the use of health services after hospital discharge. Can J Surg 2003;46(1):30-6.