ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบบริการทางด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Main Article Content

ศศิธร กระจายกลาง

บทคัดย่อ

เหตุผลการศึกษา : โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การรักษาที่รวดเร็ว สามารถ จำกัดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและศึกษาประสิทธิผล ของการพัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วย STEMI โดยวัดผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและคุณภาพการดูแล
รูปแบบการศึกษา : การวิจัยและพัฒนา
วิธีการศึกษา : ดำเนินการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) นำรูปแบบไปใช้ 4) ประเมินผล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 236 คน เป็นผู้ให้ บริการ 54 คน ผู้รับบริการ 182 คน ผ่านคณะกรรมจริยธรรมโรงพยาบาลสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ผ่านการหาคุณภาพ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบวัดความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบตรวจสอบการปฏิบัติ และแบบบันทึกคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ Chi-square
ผลการศึกษา : 1. ได้รูปแบบบริการทางด่วน ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารจัดการเครือข่าย ได้แก่ โครงสร้างขอบเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลในเครือข่าย 2) ระบบการให้บริการ ได้แก่ มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย STEMI ระเบียบปฏิบัติ Fast track การให้คำปรึกษา ทางไกลผ่าน Application line และการบริหารยา standing order, STEMI Center, STEMI nurse และแนวปฏิบัติการพยาบาล 3) ระบบเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้บุคลากรระบบพยาบาลพี่เลี้ยง และนิเทศติดตาม
2. ผลการใช้รูปแบบบริการทางด่วน พบว่า ผู้ปฏิบัติเห็นด้วยกับรูปแบบบริการและ ปฏิบัติตามร้อยละ 95.8 คะแนนความรู้ของพยาบาลเพิ่มจาก 14.1 เป็น 18.2 (p=0.000) ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองเช้าทางด่วนเพิ่มจาก ร้อยละ 78.3 เป็น 92.1 (p=0.021) เช้าทางด่วนและหันเวลา 3 ซม. เพิ่มจาก ร้อยละ 27.4 เป็น 51.3 (p=0.002) ได้รับการขยายหลอดเลือดด้วย SK เพิ่มจากร้อยละ 71.7 เป็น 90.8 (p=0.003), DTN30 นาทีเพิ่มจากร้อยละ 10.4 เป็น 31.6 (p=0.001) การเสียชีวิตลดลงจาก ร้อยละ 12.3 เป็น 10.5 (p=0.899) ความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มจาก 8.4 เป็น 9.9 (p=0.000) และพึงพอใจต่อบริการในระดับมาก
สรุป : รูปแบบบริการทางด่วนด่วนนี้สามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลได้
คำสำคัญ : โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รูปแบบการดูแล การพัฒนา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Cardiovascular disease (CVDs). [internet]. 2015. [cited 2020 june 10]. Available from : URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ cardiovascular-diseases-(cvds).

นิตยา พันธุเวทย์, หทัยชนก ไชยวรรณ. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปี พ.ศ. 2558. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ท]. 2558. [ลืบด้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.thaincd.com/document/hot%20news/ในหัวใจโลก96202558.pdf.

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน: วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, อภิรดี ศรีจิตรกมล, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ ทันยุค 2552. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์; 2553:14-23.

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน : วันชัย วนะชีวนาวิน, สุทิน ศรีอัษฎาพร, วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, บรรณาธิการ. ตำราอายุรศาสตร์: โรคตามระบบ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2552: 169-96.

จิราพร มณีพราย. การพัฒนาเครือข่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง (STEMI) จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24(5):907-1803.

Jordan M, Caesar J. Improving door-to-nee die times for patients presenting with ST-elevation myocardial infarction at a rural district general hospital. BMJ Qual Improv Rep 2016;5(1):u209049.w6736.

มุกดา สุดงาม. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2549;21(2):27-35.

สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, วารี วณิชปัญจพล, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, อารยา ประเสริฐชัย, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจแบบบูรณาการ. วารสารกองการพยาบาล 2549;33:39-60.

ทัศนีย์ แดชุนทด. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โดยใช้รูปแบบผู้จัดการรายกรณี ณ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2550;18(2):21-36.

วรรณา สัตย์วินิจ, อภินันท์ ชูวงษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2553;16:91-104.

วีระพล บดีรัฐ. PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชนจำกัด; 2543.

Uphoff NT, Cohen JM. Rural development participation : concepts and measures for project design, implementation and evaluation New York : Center for International Studies, Cornell University; 1977.

The AGREE Next Steps Consortium. APPRAISAL OF GUIDELINES fOR RESEARCH & EVALUATION II: The AGREE II Instrumemt. [Internet]. 2013. [cited 2017 Dec 15], Available from : URL: https://www.agreetrust.org/wp-content/ uploads/2013/10/AGREE-ll-Users-Manual-and-23-item-lnstrument_2009_UPDATE_ 2013.pdf.

นพมาศ พงษ์ประจักษ์, พิธา พรหมลิขิตชัย, ทิตยา ด้วงเงิน. การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2560;28(1):69-80.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล, นิสากร วิบูลชัย, วิไลพร พิณนาดิเลย์, จุลินทร ศรีโพนทัน และเบญจพร เองวานิช. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(2):80-95.

ศศิธร ช่างสุวรรณ, จินต์จุฑา รอดพาล, ศรีสุรีย์ สูนยานนท์ และสมทรง บุตรชีวัน. การพัฒนาระบบการพยาบาลระยะฉุกเฉินในผู้ป่วย STEMI งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(3):372-84.

สมชาติ โตรักษา. (2554). การทำงานประจำให้เป็นผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2554;39(1):109-32.

สมชาติ โตรักษา. หลักการบริหารโรงพยาบาล ภาคที่ 1 : หลักการบริหารองค์การและหน่วยงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์; 2548.

สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, วารี วณิชปัญจพล, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, อารยา ประเสริฐชัย, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร.(2549). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจแบบบูรณาการ. วารสารกองการพยาบาล 2549;33:39-60.

จาดศรี ประจวบเหมาะ. Cardiac Network Forum ครั้งที่ 1: เครือข่ายหัวใจยิ้มได้. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2552.