ปัจจัยล้มเหลวที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในโรงพยาบาลชัยภูมิ

Main Article Content

วาทินี วิภูภิญโญ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวลดลง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการไม่ได้รับข้อมูลและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง มารดาขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ ปัญหาสุขภาพของมารดาและบุตร ปัจจัยทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม และสื่อโฆษณา ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์ หาปัจจัยล้มเหลวที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยในคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลชัยภูมิ รวมถึงเสนอเป็นนโยบายในการแก้ปัญหานี้ ในระดับประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
วิธีการศึกษา : การศึกษาเซิงพรรณนาไปข้างหน้า เก็บข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอด ในโรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2562 ถึง วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2563 เก็บข้อมูลโดยการสอบถามจากแบบสอบถามทางโทรศัพท์ และทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-squared test
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาสถานภาพสมรสของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 95.7 มีระดับการศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 66.1 ส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและแม่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 41.7 มีรายได้อยู่ในช่วง 5,000 ถึง 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.9 นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ มีโรคประจำตัว และใช้ยาประจำ ร้อยละ 7.8 และ 2.6 ตามลำดับ คลอดโดยการผ่าคลอดเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 60.9 เริ่มให้นมบุตรเกิน 1 ชั่วโมงหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 67 สำหรับ ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการให้นมบุตรมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 50.9 รองลงมาคือปัจจัยด้านทารกคิดเป็นร้อยละ 26.7
สรุป : ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าปัจจัยล้มเหลวที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนครบ 6 เดือน คือ ปัจจัยด้านครอบครัว ซึ่งหมายรวมถึง ความเชื่อ ทัศนคติ การศึกษา รายได้ในครัว เรือน รวมถึงความรู้และการตระหนักถึงความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รองลง มาคือปัจจัยด้านทารก โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาด้านการดูด ความเจ็บป่วยอื่นๆ และ ติดจุกยางซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Alden RK. Newborn nutrition and feeding. In: Lowdermilk DL, Perry S, editors. Maternity and Women’s Health Care, 8th.ed. USA: Mosby; 2000:755-85.

Kramer MS, Kakuma R. The Optimal duration of exclusive breastfeeding : A systematic review. Switzerland : World Health Organization; 2002.

กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒนายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุดาภรณี พยัคฆเรือง. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนกำจัด พรี-วัน; 2555:11-18.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ นมแม่เพิ่มไอคิวเด็กไทย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/advisor/main.php?filename=070202.

Kramer MS, Chalmers B, Hodnett ED, Sevkovskaya Z, Dzikovich I, Shapiro S, et al. Promotion of Breastfeeding Intervention Trial (PROBIT): a randomized trial in the Republic of Belarus. JAMA 2001;285(4):413-20.

Le Huerou-Luron I, Blat S, Boudry G. Breast- V. formula-feeding: impacts on the digestive tract and immediate and long-term health effects. Nutr Res Rev 2010;23(1):23-36.

stuebe AM, Schwarz EB.The risks and benefits of infant feeding practices for women and their children. J Perinatol 2010;30(3):155-62.

Liu B, Jorm L, Banks E. Parity, breastfeeding, and the subsequent risk of maternal type 2 diabetes. Diabetes Care 2010;33(6):1239-41.

Salariya EM, Easton PM, Cater Jl. Duration of breast-feeding after early initiation and frequent feeding. Lancet 1978;2(8100):1141-3.