ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พงศนาถ หาญเจริญพิพัฒน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การควบคุมระดับความดันโลหิตช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้รับบริการของคลินิกโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 359 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ ระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.899 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการควบคุมระดับความดันโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วยระยะเวลาป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงการรับประทานอาหารการพบแพทย์ตามนัด การทานยา การได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนการเยี่ยมบ้าน การติดตามประเมินผล การให้สุขศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงการรับรู้อุปสรรคของการรักษาโรคความดันโลหิต ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประกอบด้วย การทานยา(P-value=0.016) การได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน(P-value=0.017)
สรุปผล: ปัจจัยที่สามารถทำนายการควบคุมระดับความดันโลหิต ได้แก่การทานยาและการได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนสามารถทำนายได้ร้อยละ 13.7 (R2=0.137)
คำสำคัญ: โรคความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases 2010. Geneva: World Health Organization; 2011.

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2560-2564. [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:บRL: http:// www.thaincd.com

โรงพยาบาลศรีรัตนะ. สรุปผลการปฏิบัติงานประจำ ปี 2562. เอกสารอัดสำเนา; 2563.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพๆ : โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

ประสบสุข ศรีแสนปาง, วิพร เสนารักษ์, สมพงษ์ ศรีแสนปาง, บุษบา สมใจวงษ์, การุณย์ หงส์การ. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. วารสารสภาการพยาบาล 2546;18(4):44-58.

มบุญธรรม พิลาทอง, พรทิพย์ คำพอ. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ บ้านโภคาภิวัฒน์ หมู่ที่ 5 ตำบลบางนํ้าเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัด สิงห์บุรี. วารสารโรคและภัยสุขภาพ. 2552:3(1):15-30.

Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th. ed. New York : John Wiley & Sons; 2009.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 3rd.ed. Boston : Allyn & Bacon A Viacom Company; 1977.

Cronbach U. Essentials of Psychological Testing. New York : Harper & Row; 1997.

Cramer J, Rosenheck R, Kirk G, Krol W, Krystal J; VA Naltrexone study Group 425. Medication compliance, feedback and monitoring in a clinical trial: predictors and outcomes. Value Health 2003;6(5):566-73.

วิภาภรณ์ วังวรตระกูล, นันทวัน สุวรรณรูป, กนกพร หมู่พยัคฆ์. ปัจจัยทำนายการรับประทานยาอย่างสมํ่าเสมอต่อเนื่องในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18(1):131-9.

ปิยาณี อ่อนเอี่ยม, มนทยา สุนันทิวัฒน์, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข. ประสบการณ์การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2555;22(3):199-210.

มัทนิยา ภู่เกสร. ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2552;19(Suppl):S26-S36.

Bandura A. Social Foundations of Thought and Action : A Social Cognitive Theory. New Jersey : Prentice-Hall; 1986.

นฤมล โชว์สูงเนิน. การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ของประซาซนวัยทำงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสุขภาพภาคประชาซน 2560;12(1):9-16.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2555. ฉบับปรับปรุง 2558. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, สิทธิศานต์ ทรัพย์สิริโสภา. การพัฒนารูปแบบการตรวจดัดกรองภาวะแทรกช้อนทางไตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2560:11(2):207-14.