ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลลัพธ์การรักษาการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในผู้ป่วยสูงอายุ

Main Article Content

อนวัช วรรธนมณีกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกจากการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นภาวะฉุกเฉินที่มีความสำคัญและพบภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิตการวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยรักษาชีวิตและช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดชื้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยทำนายที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผลการรักษาในผู้ป่วยสูงอายุที่ติดเชื้อช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังจากเวชระเบียนระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559-วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 ในผู้ป่วยสูงอายุที่ติดเชื้อช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกศึกษา ข้อมูล ประชากร อาการและและอาการแสดงทางคลินิก ตำแหน่งและสาเหตุที่ติดเชื้อจากหนอง ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การรักษาในหอผู้ป่วยหนัก จำนวนวันนอนรักษา ในโรงพยาบาล และผลการรักษา สถิติ เชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบความสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ แทรกซ้อนโดยใช้ Chi-square test, Fisher exact test, Independent sample t-t test และ Odds ratio with 95% confidence interval และวิเคราะห์ปัจจัย เสี่ยงทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยใช้ Binary logistic regression analysis (adjusted odds ratio-AOR), 95% confidence interval p-value <0.05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน 110 ราย เพศหญิงร้อยละ 51.8 อายุเฉลี่ย 71.0±8.3 ปี ช่วงอายุ 60-70 ปี พบผู้ป่วยมากที่สุด (ร้อยละ 53.6) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.8±4.0 วัน ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดที่คอและใบหน้า (ร้อยละ 48.2) สาเหตุของการติดเชื้อมาจากปัญหาช่องปากและฟันมากที่สุด (ร้อยละ 39.1) โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือเบาหวาน (ร้อยละ 30) รองลงมาคือความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 10) พบการเชื้อที่ Submandibular space มากที่สุด (ร้อยละ 23.6) ส่งเพาะเชื้อจากหนองพบเชื้อ Staphylococcus aureus มากที่สุด (ร้อยละ 15.5) ได้รับการรักษา ด้วยการผ่าตัดร่วมกับให้ยา Antibiotic มากที่สุด (ร้อยละ 65.4) รักษาหาย (ร้อยละ 95.5) เสียชีวิต (ร้อยละ 4.5) พบภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 30 ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ Sepsis (ร้อยละ 13.6) ปัจจัย เสี่ยงที่มีสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผลการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ติดเชื้อหลายตำแหน่ง (OR,12.6; 95% 0,4.3-36.9) อาการทางคลินิกได้แก่ หายใจสำบาก Dyspnea (OR, 7.7; 95% CI, 2.6-22.8) กลืนลำบาก (OR, 3.3; 95% 0,1.2-9.1) มีไข้ (OR, 2.9; 95% 0,1.2-7.0) โรคประจำตัวได้แก่ ความดันโลหิต สูง (OR, 4.9; 95% 0,1.3-18.2) เบาหวาน (OR, 3.3; 95% CI,1.4-7.9) และผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในมากกว่าหรือเท่ากับ 10 วัน (AOR.6.3; 95% 0,1.9-20.2) วิเคราะห์ด้วย Binary logistic regression analysis (p<0.05) พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ป่วยที่มีอายุเฉลี่ย 72.8±9.9 ปี (AOR, 1.1;95% CI, 1.0-1.3) จำนวนวันนอนที่ ≥10 วัน (AOR, 0.2;95% 0,0.0-0.9) ติดเชื้อหลายตำแหน่ง (AOR,0.1;95% CI, 0.0-0.3) Parotid space (AOR, 0.1; 95% 0, 0.1-0.8) Retropharyngeal space (AOR, 0.1; 95% CI, 0.0-0.9) และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน (AOR.0.2; 95% CI,0.1-0.7) ความดันโลหิตสูง (AOR,0.1; 95% CI,0.0-0.7)
สรุป : การติดเชื้อลำคอส่วนลึกยังเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุและมีภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามต่อชีวิต โดยส่วนมากมีสาเหตุการติดเชื้อมาจากช่องปากและฟัน มีการติดเชื้อหลาย ตำแหน่งในผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนมากจะมีโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและมีสาเหตุ จาก Sepsis นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและโรคร่วมมักพบว่าเป็นปัจจัย เสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และการผ่าตัดแล้วก็ตาม ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรคโดยการให้ความรู้เรื่องการดูแลช่องปาก และฟันแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรือมีภาวะหลงลืมต้องขอความ ร่วมมือจากลูกหลานผู้ดูแล และเมื่อพบว่าเจ็บป่วยต้องรีบพามารับการรักษาโดยเร็ว จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคได้
คำสำคัญ : ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพล การเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผลการรักษา ผู้ป่วยสูงอายุติดเชื้อสำคอส่วนลึก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chow AW. Life-threatening infections of the head, neck, and upper respiratory tract. In: Hall JB, Schmidt GA, Wood LD, Eds. Principles of Critical Care. New York : Me Graw-Hill; 2008: 881-95.

Kirov G, Benchev R, stoianov S. [Complications of the deep infections of the neck] [Article in Bulgarian], Khirurgiia (Sofiia) 2006;(3):28-31.

Vieira F, Allen SM, Stocks RM, Thompson JW. Deep neck infection. Otolaryngol Clin North Am 2008;41(3):459-83, vii

Chen MK, Wen YS, Chang CC, Huang MT, Hsiao HC. Predisposing factors of life-threat ening deep neck infection : logistic regression analysis of 214 cases. J Otolaryngol 1998;27(3):141-4.

Hasegawa J, Hidaka H, Tateda M, Kudo T, Sagai S, Miyazaki M, et al. An analysis of clinical risk factors of deep neck infection. Auris Nasus Larynx 2011;38(1):101-7.

Nour YA, Hassan MH, Gaafar A, Eldaly A. Deep neck infections of congenital causes. Otolaryngol Head Neck Surg 2011;144(3): 365-71.

Marioni G, Castegnaro E, staffieri C, Rinaldi R, Giacomelli L, Boninsegna M, Deep neck infection in elderly patients. A single institution experience (2000-2004). Aging Clin Exp Res 2006;18(2):127-32.

Motahari SJ, Poormoosa R, Nikkhah M, Bahari M, Shirazy SM, Khavarinejad F. Treatment and prognosis of deep neck infections. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg 2015;67(Suppl 1):134-7.

Suehara AB, Gonpalves AJ, Alcadipani FA, Kavabata NK, Menezes MB. Deep neck infection: analysis of 80 cases. Braz J Otorhinolaryngol 2008;74(2):253-9.

Huang TT, Tseng FY, Liu TC, Hsu CJ, Chen YS. Deep neck infection in diabetic patients: comparison of clinical picture and outcomes with nondiabetic patients. Otolaryngol Head Neck Surg 2005;132(6):943-7.

Alaani A, Griffiths H, Minhas SS, Olliff J, Le AB. Parapharyngeal abscess: diagnosis, complications and management in adults. Eur Arch Otorhinolaryngol 2005;262(4): 345-50.

Butcher SK, Killampalli V, Chahal H, Kaya Alpar E, Lord JM. Effect of age on susceptibility to post-traumatic infection in the elderly. Biochem Soc Trans 2003;31(2):449-51.

กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชัยภูมิ. สถิติผู้ใช้บริการ ปี 2559-2561. ชัยภูมิ : โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2561.

Kelsey JL. Methods in Observational Epidemiology. 2nd ed. Oxford University Press; 1996.

Dindo D, Demartines N, Clavien PA. Classification of surgical complications: a new proposal with evaluation in a cohort of 6336 patients and results of a survey. Ann Surg 2004;240(2):205-13

World Health Organization. Nutritional anemia. Report of a WHO scientific group. 1968. [Internet], [cited 2020 june 10]. Available from:URL: https://apps. who. int/iris/bitstream/handle/10665/40707/ WHO_TRS_405.pdfJsessionid=E5FDD6AABA 22D58D935B55A61507BCEF?sequence=l

กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562:34(3): 321-32.

Colbert KAR, Devakumari S. Diagnosis and Management of Deeper Neck Infections - A Review. IOSR Journals 2013;9(5):36-41.

Sakarya EU, Kulduk E, Gundogan O, Soy FK, Dundar R, Kilavuz AE, et al. Clinical features of deep neck infection: analysis of 77 patients. Kulak Burun Bogaz Ihtis Derg 2015;25(2): 102-8.

Kataria G, Saxena A, Bhagat S, Singh B, Kaur M, Kaur G. Deep Neck Space Infections: A Study of 76 Cases. Iran J Otorhinolaryngol 2015;27(81):293-9.

Eftekharian A, Roozbahany NA, Vaezeafshar R, Narimani N. Deep neck infections : a retrospective review of 112 cases. Eur Arch Otorhinolaryngol 2009;266(2):273-7.

Regueiro Villarin S, Vazquez Barro JC, Herranz Gonzalez-Botas J. [Deep neck infections: etiology, bacteriology and treatment], [Article in Spanish]. Acta Otorrinolaringol Esp 2006;57(7):324-8.

Suetrong S, Reechaipichitkul พ, Chainansamit S, PatornPiromchai P. Deep Neck Infection in Adults : Factors Associated with Complicated Treatment Outcomes. J Med Assoc Thai 2017;100(Suppl.6):179-88.

Suesongtham P, Charoensombatamorn S, Ungkhara G, Deep Neck Infection in Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. Vajira Med J 2018;62(5):365-74

Yang W, Hu L, Wang Z, Nie G, Li X, Lin D et al. Deep Neck Infection: A Review of 130 Cases in Southern China. Medicine (Baltimore) 2015;94(27):e994.

Yang SW, Lee MH, See LC, Huang SH, Chen TM, Chen TA. Deep neck abscess: an analysis of microbial etiology and the effectiveness of antibiotics. Infect Drug Resist 2008;1:1-8

Barber BR, Dziegielewski PT, Biron VL, Ma A, Seikaly H. Factors associated with severe deep neck space infections: targeting multiple fronts. J Otolaryngol Head Neck Surg 2014;43(1):35.

Abshirini H, Alavi SM, Rekabi H, Hosseinnejad F, Ghazipour A, Yavari M, et al. Predisposing Factors for the Complications of Deep Neck Infection. Iran J Otorhinolaryngol 2010;20(60): 97-102.

Chi TH, Tsao YH, Yuan CH. Influences of patient age on deep neck infection : clinical etiology and treatment outcome. Otolaryngol Head Neck Surg 2014;151(4):586-90.

staffieri C, Fasanaro E, Favaretto N, La Torre FB, Sanguin S, Giacomelli L, et al. Multivariate approach to investigating prognostic factors in deep neck infections. Eur Arch Otorhinolaryngo 2014;271(7):2061-7.