ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่มีคะแนนแอพการ์ใน 1 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ในโรงพยาบาลบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

Main Article Content

สุจิตรา จันทสิงห์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (Birth asphyxia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกแรกเกิดเสียชีวิต
วัตถุประสงค์ : การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาด ออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่มีคะแนนแอพการ์ใน 1 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Retrospective chart review จากเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาคลอดบุตร ที่ห้องคลอดโรงพยาบาลบัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2561 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มศึกษา จำนวน 72 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่องตามสำตับ (Consecutive sampling) และกลุ่มควบคุม 144 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic sampling) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนหญิงตั้งครรภ์ ตามแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์โดยใช้สถิติใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติอ้างอิง (Inferential statistics) ทดสอบ
ผลการศึกษา : พบว่าหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 20-35 ปี จบการศึกษาขั้นมัธยมและอาชีวะ ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกที่มีคะแนนแอพการ์ใน 1 นาที แรกคลอดเท่ากับหรือต่ำกว่า 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุครรภ์<37 สัปดาห์ (OR=0.10,95% CI= 0.02-0.41) มีภาวะเบาหวาน (OR=0.02,95% CI =0.00-0.31) มีภาวะน้ำเดิน ≥12 ชั่วโมง (OR=0.77,95% CI=0.61-8.77) การคลอดระยะที่ 2 นาน ≥60 นาที (OR=0.10, 95% CI= 0.02-0.60) และการคลอดทางซ่อง คลอด (OR=0.21, 95% CI=0.10-0.42)
สรุป : ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญในการศึกษานี้ มีปัจจัยด้านมารดาได้แก่ภาวะคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ และมารดาเป็นเบาหวาน ระหว่างตั้งครรภ์ส่วนระยะคลอดได้แก่ภาวะน้ำเดินมากกว่า 12 ชั่วโมง การคลอดระยะ ที่ 2 นานกว่า 60 นาที และการคลอดทางช่องคลอดการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การควบคุมเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ให้ดี การเฝ้าระวังระยะเจ็บครรภ์คลอดที่ดีและพิจารณาการคลอดที่เหมาะสมรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดได้
คำสำคัญ : ปัจจัยภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด คะแนนแอพการ์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์. Definding the scope of perinatal asphyxia. ใน : สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์ บรรณาธิการ. Neonatology. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส 2007; 76-97.

Utomo MT. Risk Factors for Birth Asphyxia. Folia Medica Indonesiana. 2011;47(4):211-4.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. [อินเตอร์เน็ท]. [ลืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563], สืบด้นได้จาก: URL: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link. php?nid=6422.

กองยุทธศาสาสตร์และฝ่ายแผน กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสาธารณสุขเขต 9. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2563]. ลืบค้นได้จาก: URL:http:// www.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1066 &kpi_year=2562&lv=2&z=09

สุรางค์ทิพย์ ทั้งวิจิตร, ชำนาญ ศรีประโมทย์, สุชาวดี กาญจนวัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในหญิงทั้งครรภ์อายุครรภ์ทั้งแต่ 37 สัปดาห์ โดยคะแนนเอพการ์ที่ 5 น้อยกว่า 7. TJOG 2550;18(2):54-62.

พรปวีณ์ อธิธัญชัยพงษ์, บรรณาธิการ. คู่มีอเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

ชญาศักดิ์ พิศวง, ปริศนา พานิซกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก 2554;64(3): 109-19.

สมบัติ ศักดิ์สง่าวงษ์, สุธีร์ รัตนะมงคลกุล. ปัจจัยเสี่ยงและคะแนนความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกุมภวาปี จ.อุดรธานี. เวชสารแพทย์ทหารบก 2562;72(1): 41-52.

กรรณิการ์ บูรณวนิช, กฤษณ์ เชี่ยวชาญประพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกชิเจนปริกำเนิดในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563;64(1):11-22.

มนตรี ภูริ,ปัญญาวานิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2551;1(2):83-89.

บรรพจน์ สุวรรณชาติ. ปัจจัยเสี่ยงชองการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกาฬสินธ์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2547;19(4):233-40.

สุนิดา พรรณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองคาย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563;35(3):278-86.

ปิยา แช่มสายทอง, เกษม เรืองรองมรกต. การดูแลสุขภาพทารกในครรภํในระยะคลอด. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2548;12(2):42-58.

อุไร ศิลปะกิจโกศล. ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกคลอด โรงพยาบาลพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;3 (ฉบับเสริม 6):1315-24.

จริญญา แสงจันทร์. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558;29(3):393-402.

P MK, Padarthi P. A Prospective study on Intrapartum Risk Factors for Birth Asphyxia. (IOSR-JDMS) 2016;15(9):4-7.

ศักนัน มะโนทัย. การชักนำการคลอดและการเร่งคลอด. ใน: ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2551: 186-91.

เยื้อน ตันนิรันดร. การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ในระยะเจ็บครรภ์คลอด. ใน: ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2551: 110-19.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางในการวินิจฉัยเพื่อผ่าตัดคลอดด้วยข้อบ่งชี้การผิดสัดส่วนของศีรษะทารกและอุ้งเชิงกรานหรือการดำเนินการคลอดล้มเหลว. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563], สืบด้นได้จาก: URL: http://wops.moph.go.th/ngo/oddh/cd/ nurse/pramot/CPG%20CS%203.5.55.pdf

Chen ZL, He RZ, Peng Q, Guo KY, Zhang YQ, Yuan HH, et al. [Prenatal risk factors for neonatal asphyxia: how risk for each?]. [Article in Chinese]. Zhongguo Dang Dai Er Ke Za Zhi 2009; 11(3): 161-5.

Lee AC, Mullany LC, Tielsch JM, Katz J, Khatry SK, LeClerq SC, et al. Risk factors for neonatal mortality due to birth asphyxia in southern Nepal: a prospective, community-based cohort study. Pediatrics 2008;121(5):e1381-90.

Nayeri F, Shariat M, Dalili H, Bani Adam L, Zareh Mehrjerdi F, Shakeri A. Perinatal risk factors for neonatal asphyxia in Vali-e-Asr hospital, Tehran-lran. Iran J Reprod Med 2012;10(2): 137-40.

ธรรมพจน์ จีรากรภาสวัฒน์. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus). [อินเตอร์เน็ท]. 2016 [สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563]. สืบค้นได้จาก: URL: https://wl.med. cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_ content&view=article&id = 1197:gesta tional-diabetes-mellitus&catid=45:topic-re view&ltemid=561

Nauman Kiyani A, Khushdil A, Ehsan A. Perinatal Factors Leading to Birth Asphyxia among Term Newborns in a Tertiary Care Hospital. Iran J Pediatr 2014;24(5):637-42.

Tabassum F, Rizvi A, Ariff S, Soofi S &Zulfiqar A. Bhutta. Risk Factors Associated with Birth Asphyxia in Rural District Matiari, Pakistan: A Case Control study. Int J Clin Med 2014; 5(21):1430-41.

ศิริพร พงษ์โภคา, อรนุช เชาว์ปริซา, ชลลดา จันทร์ขาว. การพยาบาลมารดาในระยะคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย; 2555.

Lemos A, Dean E, de Andrade AD. The Valsalva maneuver duration during labor expulsive stage: repercussions on the maternal and neonatal birth condition. Rev Bras Fisioter 2011;15(1):66-72.