การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องการจัดการกลุ่มโรคเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจหลังได้รับการผ่าตัดด้วยกระบวนการ 1A4C : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

อนันต์ พวงคำ
วลัยลักษณ์ พวงคำ
ชนินทร์ อังคสิทธิ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : การผ่าตัดหัวใจเป็นการผ่าตัดใหญ่ เป็นการรักษาที่มีความซับซ้อน พบปัญหาด้านการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ ยังไม่มีการเชื่อมโยงแผนการรักษาและครอบคลุมในทุกด้าน การดูแลสุขภาพไม่ดีเพียงพอเหมาะสม ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและผู้ดูแล
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ, เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย ผ่าตัดหัวใจ เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบแนวคิดกระบวนการ 1A4C
รูปแบบการศึกษา : การวิจัยและพัฒนา
วิธีการศึกษา : การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ และ ระยะที่ 3 การวิพากษ์ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดลองใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ จำนวน 30 ราย ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 ถึง 19 กันยายน พ.ศ.2562 ประเมินผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาระบบ โดยใช้สถิติเปรียบเทียบ Independent t-test
ผลการศึกษา : ระยะที่ 1 สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจมีปัญหาดำเนินงาน 4 ด้าน ระยะที่ 2 การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพได้ปรับการเชื่อมโยงแผนการรักษาของแพทย์และพยาบาล และครอบคลุมในทุกด้าน ได้แก่ 1) แผนการดูแลผู้ป่วยของทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่ประกอบด้วยแนวปฏิบัติการดูแลทางคลินิกผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ 2) แผนการดูแลผู้ป่วยของเครือข่าย 3) แนวทางและขั้นตอนการจัดตรวจติดตามประเมินผลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ ประเมินการใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจพบว่าการดูแลทั้งก่อนและหลัง กลุ่มหลังมีจำนวนระดับผลเลือดการแข็งตัวของเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายเพิ่มขึ้น ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ความรู้ความเข้าใจและทักษะการปฏิบัติตนการดูแลตนเองหลังจำหน่ายเพิ่มขึ้น มากกว่ากลุ่มก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 มีจุดเด่นคือการบูรณาการดูแลแบบผสมผสานของทีมสหสาขาวิชาชีพภายใต้การประสานการดูแลพยาบาลชุมชนและศัลยแพทย์
สรุป : พบว่าการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการ 1A4C เกิดผลลัพธ์ของการดูแลตนเองที่บ้าน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุงปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทศรีเมืองการพิมพ์; 2557.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอด เลือด สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

จรัญ สายะสถิต. ศัลยศาสตร์โรคหัวใจที่พบบ่อย Common Cardiac Surgery. พิษณุโลก : โกลบอล พริ้นห์; 2555.

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่วนราชกิจจานุเบกษา. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 118 ตอนที่ 45 วันที่ 5 มิถุนายน 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี; 2544

Leventhal H, Johnson JE. Laboratory and field experiment of a theory of self- regula tions. In: Wooldridge PT, et al, eds. Behavioral Science and Nursing. St Louis: The C.V.Mosby Co.; 1983:189-282.

พรพิศ ยศดี. ผลของการให้ข้อมูลระยะเปลี่ยนผ่าน ออกจากหออภิบาลผู้ป่วยหนักต่อการลดความวิตก กังวลในผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต], สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

Choate K, Stewart M. Reducing anxiety in patients and families discharged from ICU. Aust Nurs J 2002;10(5):29.

นิตยา เวียงพิทักษ์. ความเครียดและการเผชิญ ปัญหาของผู้ป่วยและญาติในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต], คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

กนกพร แจ่มสมบูรณ์, บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ, นวรัตน์ สุทธิพงศ์, พรรณี บัลลังก์, จงกณ พงศ์พัฒนจิต, สิรตา ชื่นโชติกิตติ และคณะ. Clinical Practice Guideline มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด หัวใจ สถาบันโรคทรวงอก. [อินเทอร์เน็ต] 2555. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561] เข้าถึงได้ จาก : URL: https://www.ccit.go.th/document_ upload/cnpg/CNPG_2555_03.pdf

เดชา แซ่หลี และคณะ. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอโครงการการพัฒนากลไกสนับสนุน เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอเพื่ออำเภอสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มูลนิธิแพทย์ชนบทภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2557.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care) โดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.facebook.eom/NHSO. Thailand/posts/2194080137325197

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องศ์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์;

สุรศักดิ์, อธิคมานนท์. กรอบระบบคุณภาพของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ฉบับปฐมบท. นนทบุรี : อุษาการพิมพ์; 2550.

สุรจิต สุนทรธรรม. ระบบหลักประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555.

Raney F. Disease management. In: Rossi PA. Case management in Health Care. 2nd ed. Philadelphia: Saunders; 2003: 511-23.

ภควันต์ จันต๊ะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านด้วยกระบวนการ 1A4C กับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของ รพ.สต.ปอน ในกลุ่มขมุ, ไทลื้อ, เหาะ และลัวะ. เอกสารประกอบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก งานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ครั้งที่ 9 6-8 กรกฎาคม 2559. [อินเทอร์เน็ต]. [ลืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561], เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.r2rthailand.org/news/detail/5343

นลินี พสุคันธภัค. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป สถานบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส; 2559.

บุศรา ศรีอรุณเรืองแสง. ผลของการใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบต่อค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและความพึงพอใจในงานของทีมการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน. [วิทยานิพนธ์ พยาบาลคาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิซาการบริหารการพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิต วิทยาลัย; กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

Woodward J, Rice E. Case management. Woodward J, et al. Nurs Clin North Am 2015;50(1):109-21.

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, ปัฐยาวัซร ปรากฏผล. ผลลัพธ์การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี : ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2557.

Smith A, Mackay S, McCulloch K. Case management: developing practice through action research. Br J Community Nurs 2013;18(9):452-4, 456-8.

Burns T, Catty J, Dash M, Roberts C, Lockwood A, Marshall M. Use of intensive case management to reduce time in hospital in people with severe mental illness: systematic review and meta-regres Sion. BMJ 2007;335(7615):336.

Institute of Medicine (US) Committee on Utilization Management by Third Parties; Gray BH, Field MJ, editors. Controlling Costs and Changing Patient Care?: The Role of Utilization Management. Washington (DC): National Academies Press (US); 1989.

กุนนที พุ่มสงวน. การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ : บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):86-90.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา. มาตรฐานการพยาบาลในชุมซน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2559.

สมคิด ปุณะศิริ. ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารกองการพยาบาล 2552;36(3):47-57.

Longsawasd R, Duangpaeng S, Masingboon K. Factors related to family participation in caring of critically ill patients admitted in the intensive care unit. The Journal of Factory of Nursing Burapha University 2011; 19(2):54-67.

Perry P. Concept analysis: confidence/self-confidence. Nurs Forum 2011;46(4):218-30.

Phommatat P, Watthnakitkrileart D. Factors influencing caregivers’ readiness in caring patients with tracheostomy in transition from hospital to home. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2011;23(3):107-18.