ความชุกของผู้ป่วยโรคต้อหินในโรงพยาบาลศรีสะเกษเนื่องในวันต้อหินโลก

Main Article Content

เดชาทร อาสนทอง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้เป็นอันดับ ที่ 2 จากปัญหาโรคทางตาทั้งหมด การตรวจคัดกรองโรคต้อหินทำได้ลำบากเนื่องจาก ผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ ผู้ป่วยต้อหินมักมาตรวจเมื่อมีอาการตามัวมาก แล้วทำให้ช้าเกินไปที่จะทำการรักษา การรู้ถึงความชุกของโรคและการส่งเสริมให้ผู้ป่วย มาตรวจคัดกรองจะทำให้รักษาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นได้และสามารถรักษาการมองเห็น ของผู้ป่วยได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยโรคต้อหินกลุ่มเสี่ยง ต้อหินมุมเปิด ต้อหินมุมปิด รวมถึงอธิบายลักษณะของผู้ป่วยต้อหินและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มารับการตรวจคัดกรอง
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
รูปแบบงานวิจัย : การวิจัยพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study)
วิธีการศึกษา : ผู้ร่วมวิจัยอายุมากกว่า 18 ปีที่เช้ารับการตรวจคัดกรองต้อหินที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ เนื่องในวันต้อหินโลกจะได้รับการตรวจสายตาโดยสเนลเลนชาร์ต ความดันตา การตรวจ วัดมุมตาและขั้วประสาทตาโดยการใช้สลิตแลมป์ การวัดความหนาของเส้นประสาทตา โดยใช้เครื่องโอซีที (OCT) หลังจากนั้นผู้ร่วมวิจัยจะได้รับการประเมินเพื่อวินิจฉัยโดย จักษุแพทย์และให้การแนะนำการรักษาต่อไป
ผลการศึกษา : ผลการตรวจคัดกรองต้อหินทั้งหมด 95 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 75.8 เพศชายร้อยละ 24.2 กลุ่มตัวอย่างพบความชุกผู้ป่วยโรคต้อหินร้อยละ 7.4 โดยเป็นต้อหินมุมปิด ร้อยละ 5.3 ต้อหินมุมเปิดร้อยละ 2.1 พบกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นต้อหินร้อยละ 26.3 มีผู้ป่วยได้รับยาลดความดันตาร้อยละ 6.3 ได้รับการรักษาโดยการยิงเลเซอร์ที่มุมตา ร้อยละ 22.1 และได้ส่งตัวทำลานสายตาร้อยละ 12.6 เมื่อจำแนกเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นต้อหินและกลุ่มเสี่ยงเป็นต้อหินพบว่า มีจำนวนทั้งหมด 32 คน เป็นเพศชาย มากกว่า เพศหญิง คือ เป็นเพศชายร้อยละ 78.1
สรุป : พบความชุกผู้ป่วยโรคต้อหินร้อยละ 7.4 โดยเป็นต้อหินมุมปิดร้อยละ 5.3 ต้อหิน มุมเปิดร้อยละ 2.1
คำสำคัญ : ความชุกโรคต้อหิน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Serge R, Donatella P, Daniel E, Ivo K, Ramachandra P, Gopal PP, et al. Global data on visual impairment in the year 2002. Bull World Health Organ 2004;82(11):844-51

ปริญญ์ โรจนพงพันธ์, กิติยา รัตนวงศ์ไพบูลย์. โรคต้อหิน. ใน: วิศนี ตันติเสวี, สุภรัตน์ จิยโกศล, วรรณกรณ์ พฤกษากร, ปัจฉิม จันทเรนทร์, บรรณาธิการ. ตำราจักษุวิทยา: สำหรับนิสิตแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561. หน้า 361-98.

อังคณา เมธีไตรรัตน์. รจิต ตู้จินดา. โรคต้อหิน = Glaucoma. ใน: อติพร ตวงทอง, วณิชา ชื่นกองแก้ว, อภิชาติ สิงคาลวณิช, บรรณาธิการ. ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558 หน้า 233-52

Tham YC, Li X, Wong TY, Quigley HA, Aung T, Cheng CY. Global prevalence of glaucoma andprojections of glaucoma burden through 2040: a systematic review and meta-analysis. Ophthalmology 2014;121(11):2081–2090.

Cho HK, Kee C.Population-based glaucoma prevalence studies in Asians. Surv Ophthalmol. 2014;59(4):434-47.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, บรรณาธิการ. ตำราจักษุวิทยา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย, 2561

Allingham RR, Damji KF, MoroiSE, Rhee DJ, Shields MB. Shields textbook of glaucoma. 6th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins ; c2011

Cioffi GA, ed. Glaucoma : Basic and clinical Science Course (BCSC) : Section 10, 2016-2017. San Francisco, Calif. American Academy of Ophthalmology, c2016

Bourne RRA, Sukudom P, Foster PJ, Tantisevi V, Jitapunkul S, Lee PS, et al. Prevalence of glaucoma in Thailand: a population-based survey in Rom Klao District, Bangkok.Br J Ophthalmol 2003; 87(9):1069–74.

Chan EW, Li X, Tham YC, Liao J, Wong TY, Aung T, Cheng CY. Glaucoma in Asia: regional prevalence variations and future projections. Br J Ophthalmol. 2016;100(1):78-85